นอกจากนี้ อัตราการเสียชีวิตจากโรคเบาหวานในประเทศไทยส่วนใหญ่เกิดขึ้นในผู้สูงอายุ 70 ปีขึ้นไป และรองลงมาเป็นวัยผู้ใหญ่อายุ 30-69 ปี ซึ่งประเทศไทยกำลังเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยประชากรผู้สูงอายุอาจเพิ่มขึ้นประมาณ 14.4 ล้านคน ในปี พ.ศ.2568 และจะมีผู้สูงอายุ 1 ใน 5 คนเป็นโรคเบาหวาน
การจัดการโรคเบาหวานในประเทศไทย
เพื่อควบคุมโรคเบาหวานและป้องกันการเกิดโรคแทรกซ้อนในผู้ป่วยเบาหวาน การประเมินความเสี่ยงเพื่อวินิจฉัยและตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน เป็นวิธีที่จะช่วยให้รู้ทันโรคและสามารถเข้ารับการรักษาได้ตั้งแต่เริ่มต้น
แนวทางการตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในผู้ใหญ่
การตรวจคัดกรองโรค และการประเมินความเสี่ยงตามข้อเสนอแนะขององค์การอนามัยโลกมีเกณฑ์ดังนี้
- ผู้ที่มีอายุ 35 ปีขึ้นไป
- ผู้มีภาวะอ้วน (BMI 25 กิโลกรัม/เมตร2 และ/หรือ มีรอบเอวเกินมาตรฐาน) และครอบครัวมีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
- เป็นโรคความดันโลหิตสูงหรือรับประทานยาคุมความดันโลหิต
- ระดับไขมันในเลือดผิดปกติ โดยมีระดับไตรกลีเซอไรด์ 250 มิลลิกรัม/เดซิลิตร.และ/หรือ เอช ดี แอล คอเลสเตอรอล (HDL) < 35 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือได้รับยาลดไขมันในเลือด
- มีประวัติโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ หรือเคยคลอดบุตรที่มีน้ำหนักแรกเกิดเกิน 4 กิโลกรัม
- เคยได้รับการตรวจพบว่าเป็น Impaired glucose tolerance (IGT) ความทนต่อน้ำตาลบกพร่อง หรือ Impaired fasting glucose (IFG) ระดับน้ำตาลขณะอดอาหารผิดปกติ
- มีกลุ่มอาการถุงน้ำรังไข่
- มีโรคหัวใจและหลอดเลือด
วิธีการตรวจคัดกรองโรคเบาหวาน
คุณหมออาจแนะนำให้ใช้เพียงวิธีใดวิธีหนึ่ง ได้แก่
- การตรวจวัดพลาสมากลูโคสขณะอดอาหาร โดยวิธีตรวจเลือดจากหลอดเลือดดำ
- ตรวจน้ำตาลในเลือดด้วยวิธีเจาะปลายนิ้ว หากระดับ FPG หรือ FCBG 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ตรวจยืนยันด้วย FPG อีกครั้ง ในวันนั้นหรือสัปดาห์ถัดไป หากยังคงค่าเดิมวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน
- การตรวจความทนต่อกลูโคส สามารถวินิจฉัยได้ไวกว่า FPG หากระดับพลาสมากลูโคส 2 ชั่วโมงหลังดื่มน้ำตาล 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ให้ตรวจยืนยันอีกครั้งในวันนั้นหรือสัปดาห์ถัดไป หากยังคงค่าเดิมวินิจฉัยได้ว่าเป็นโรคเบาหวาน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย