นอกจากนี้ มารดาซึ่งเคยเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ยังเสี่ยงเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หลังคลอดมากกว่าคนทั่วไป ปัจจัยเสี่ยงหลัก ๆ ของโรคเบาหวานชนิดนี้ คล้ายกับของเบาหวานชนิดที่ 2 และภาวะก่อนเบาหวาน คือ มีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน ขาดการออกกำลังกาย มีบุคคลในครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน เป็นต้น
อาการของโรคเบาหวาน
อาการของผู้ป่วยเบาหวานมีความหลากหลายขึ้นอยู่กับระดับน้ำตาลในเลือด โดยอาการผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 1 มีแนวโน้มรุนแรงและชัดเจนกว่าโรคเบาหวานชนิดอื่น ในขณะที่ผู้ป่วยเบาหวานชนิดที่ 2 ภาวะก่อนเบาหวาน และเบาหวานขณะตั้งครรภ์อาจไม่แสดงอาการใด ๆ ที่เด่นชัด ทั้งนี้
อาการที่อาจพบในผู้ป่วยเบาหวานมีดังนี้
- ปัสสาวะบ่อย
- กระหายน้ำมากกว่าปกติ
- หิวมากกว่าปกติ
- อ่อนเพลีย
- หงุดหงิดง่าย
- แผลหายช้า
- น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ
- ปากแห้ง
- พบการติดเชื้อบ่อย ๆ อย่างเช่นที่เหงือก ผิวหนัง หรือช่องคลอด
- ความต้องการทางเพศที่ลดลง
- ชาปลายมือปลายเท้า
- ผิวแห้งมาก
โรคแทรกซ้อนที่เกิดจากโรคเบาหวาน
การเป็นโรคเบาหวานในระยะยาวโดยไม่ได้รับการรักษา อาจนำมาซึ่งโรคแทรกซ้อนต่าง ๆ ดังนี้โรคในกลุ่มโรคหัวใจและหลอดเลือด เช่น โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง
- ความผิดปกติของเส้นประสาท
- การได้ยินที่แย่ลง
- ความผิดปกติของจอตา
- โรคอัลไซเมอร์
- โรคซึมเศร้า
- ภาวะสมองเสื่อม
- การหย่อนสมรรถภาพทางเพศ
- ภาวะครรภ์เป็นพิษ (ในกรณีของโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์)
การรักษาโรคเบาหวาน
ในการรักษาโรคเบาหวาน คุณหมอจะรักษาคนไข้เบาหวานแต่ละประเภท ด้วยวิธีการที่ต่างกัน ดังนี้
- เบาหวานชนิดที่ 1 คุณหมอจะฉีดอินซูลินให้ผู้ป่วย หรือให้อินซูลินผ่านเครื่องปั๊ม เนื่องจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตอินซูลินเองได้ การรักษาจะทำควบคู่ไปกับการควบคุมอาหารและออกกำลังกาย โดยคุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยนับปริมาณคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมันที่บริโภคต่อวัน เพื่อให้แน่ใจว่าสารอาหารที่ได้รับ จะไม่ส่งผลกระทบต่อระดับน้ำในเลือดมากเกินไป
- เบาหวานชนิดที่ 2 คุณหมอจะใช้ยารักษาเบาหวานชนิดรับประทาน ซึ่งมีหลายชนิด
- ภาวะก่อนเบาหวาน คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์ เช่นเดียวกับของโรคเบาหวานประเภทที่ 1 และ 2 รวมทั้งให้รับประทานยาเมทฟอร์มิน เพื่อป้องการไม่ให้ผู้ป่วยกลายเป็นโรคเบาหวานประเภทที่ 2
- โรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ คุณหมอจะแนะนำให้ผู้ป่วยคอยตรวจระดับน้ำตาลในเลือด รับประทานอาหารที่เหมาะสมและออกกำลังกายที่ปลอดภัยสำหรับหญิงตั้งครรภ์ หรือเลือกฉีดอินซูลินให้ผู้ป่วยแทน
ความคิดเห็นทั้งหมด
แบ่งปันความคิดเห็นของคุณ
ร่วมแสดงความคิดเห็นของคุณกับ Hello คุณหมอ
สมัครสมาชิก หรือ เข้าสู่ระบบ เพื่อร่วมการพูดคุย