ดื้ออินซูลิน เป็นภาวะที่ทำให้เกิดปัญหาสุขภาพเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคอ้วน เนื่องจากเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่มีส่วนช่วยในการนำกลูโคสจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน หากปล่อยไว้เป็นเวลานานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจ โรคอัลไซเมอร์ โรคมะเร็ง และปัญหาทางสายตา
ดื้ออินซูลิน คืออะไร
ดื้ออินซูลิน คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อเซลล์ในกล้ามเนื้อไม่ตอบสนองต่อการทำงานของอินซูลินที่เป็นฮอร์โมนสร้างจากตับอ่อน ซึ่งมีส่วนช่วยในการนำน้ำตาลในเลือดจากอาหารมาใช้เป็นพลังงาน เพื่อให้ร่างกายสามารถดำเนินกิจกรรมในชีวิตประจำวันโดยไม่รู้สึกอ่อนแรง
ฮอร์โมนอินซูลินจะหลั่งออกมาเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น เพื่อควบคุมให้น้ำตาลในเลือดอยู่ในเกณฑ์ หากปล่อยไว้เป็นเวลานานโดยไม่ได้รับการรักษา อาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูง พัฒนาเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2 หรือโรคหัวใจ
ส่วนใหญ่ภาวะดื้ออินซูลินพบได้บ่อยในช่วงอายุ 45 ปีขึ้นไป และมีแนวโน้มที่จะเป็นโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือด โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ รวมถึงการได้รับพันธุกรรมมาจากครอบครัวที่มีประวัติเป็นโรคเบาหวาน
สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน
สัญญาณเตือนของภาวะดื้ออินซูลิน อาจสังเกตได้ ดังนี้
- ระดับความดันโลหิตสูงเกิน 130/80 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ชายมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร และผู้หญิงมีระดับคอเลสเตอรอลต่ำกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ผู้หญิงมีรอบเอวเกิน 35 นิ้ว ส่วนผู้ชายมีรอบเอวเกิน 40 นิ้ว
- ระดับไตรกลีเซอรไรด์มากกว่า 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร
- ติ่งเนื้อบนผิวหนัง
อาหารที่เหมาะสมสำหรับผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน
อาหารสำหรับผู้ป่วยที่เป็นภาวะดื้ออินซูลิน อาจมีดังนี้
ควรเลือกรับประทานผักสดที่อุดมไปด้วยสารอาหาร และแคลอรี่ต่ำ เช่น ผักใบเขียว ปวยเล้ง คะน้า สำหรับผักแปรรูป ผักที่อยู่ในกระป๋อง ผักแช่แข็ง ควรตรวจสอบปริมาณไขมัน โซเดียม และน้ำตาล บนฉลากที่มีข้อมูลโภชนาการ ถึงแม้ผักจะดีต่อสุขภาพ แต่ผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานผักที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง เช่น มันฝรั่ง ถั่วที่เป็นฝัก ข้าวโพด
ผลไม้อุดมไปด้วยวิตามิน เกลือแร่ และไฟเบอร์ ที่ช่วยลดปริมาณแคลอรี่และไขมัน ทั้งนี้ควรหลีกเลี่ยงรับประทานผลไม้สดที่มีน้ำตาลสูง เช่น ผลไม้กระป๋องที่มีน้ำเชื่อม น้ำผลไม้ใส่น้ำตาล
- ผลิตภัณฑ์ที่ทำมาจากนมวัว
การรับประทานนมจืดไขมันต่ำ โยเกิร์ตไขมันต่ำ อาจส่งผลให้ร่างกายได้รับแคลเซียม โปรตีนสูง แต่แคลอรี่น้อยลง นอกจากนี้ ผลิตภัณฑ์นมที่มีไขมันต่ำอาจช่วยลดการดื้อต่ออินซูลินได้
ควรเลือกรับประทานคาร์โบไฮเดรตที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ผักและผลไม้ ธัญพืชเต็มเมล็ด ถั่วเปลือกแข็ง ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ แทนการรับประทานอาหารแปรรูป เช่น ขนมปัง เส้นก๋วยเตี๋ยว พาสต้า โดยเฉพาะอาหารมื้อเช้าที่เป็นมื้อแรกของวัน
- เนื้อสัตว์ไร้ไขมัน
เพื่อให้ร่างกายได้รับโปรตีนเพียงพอ อาจจำเป็นต้องเลือกรับประทานโปรตีนไร้ไขมัน เช่น เนื้อสัตว์ไม่ติดมันและหนัง ปลาทูน่า ปลาซาร์ดีน ปลาแซลมอน ชีสไขมันต่ำ ไข่ขาว
- ไขมันดี
ผู้ที่มีภาวะดื้ออินซูลิน ควรเลือกรับประทานไขมันที่ดีต่อร่างกายประเภทไขมันไม่อิ่มตัว เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันดอกทานตะวัน น้ำมันงา ในการปรุงอาหาร ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์
ที่สำคัญควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารแปรรูป และเครื่องดื่มที่มีไขมัน เกลือ น้ำตาล ในปริมาณมาก เพื่อป้องกันน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นจนนำไปสู่โรคอ้วนและเสี่ยงในการเกิดนภาวะดื้ออินซูลินได้ รวมถึงควรออกกำลังกาย 150 นาที/สัปดาห์ หรือ 5 วัน/สัปดาห์ วันละ 30 นาที เพื่อควบคุมน้ำหนักและระดับน้ำตาลในเลือด กระตุ้นการทำงานของอินซูลินที่นำไปสู่การเผาผลาญไขมันและคอเลสเตอรอลส่วนเกิน
[embed-health-tool-bmi]