โรคเบาหวาน

โรคเบาหวาน คือโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อการทำงานและสุขภาพโดยรวมของร่างกายได้อย่างมาก อีกทั้งในปัจจุบัน อัตราผู้ป่วยโรคเบาหวานในประเทศไทยมีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นทุกปี ดังนั้น การเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับโรคเบาหวานประเภทต่าง ๆ ปัจจัยเสี่ยง และรักษาโรคเบาหวาน จึงมีความสำคัญเพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตของผู้ป่วยโรคเบาหวานให้ดียิ่งขึ้น

เรื่องเด่นประจำหมวด

โรคเบาหวาน

เบาหวาน อาการ และวิธีการป้องกัน

เบาหวานเป็นภาวะที่ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ ที่เกิดจากร่างกายจัดการอินซูลินและน้ำตาลได้ไม่ดีพอ เกิดจากการขาดฮอร์โมนอินซูลิน หรือตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย โดยอินซูลินมีหน้าที่นำพาน้ำตาลกลูโคสในกระแสเลือดที่ได้จากการรับประทานอาหาร เข้าสู่เซลล์เพื่อนำไปใช้เป็นพลังงาน เมื่ออินซูลินไม่เพียงพอจึงส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินไป และเมื่อป่วยเป็นโรค เบาหวาน อาการ ที่พบอาจแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับชนิดของโรค อย่างไรก็ตาม หากไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้ดี อาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด ไตเสียหาย จอประสาทตาเสื่อมได้ [embed-health-tool-bmi] เบาหวาน คืออะไร เบาหวาน คือ โรคเรื้อรังที่จะวินิจฉัยเมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงตั้งแต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไป ซึ่งเป็นผลจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หากปล่อยให้ร่างกายอยู่ในสภาวะนี้นานอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนที่เกี่ยวข้องกับโรคเบาหวาน เช่น โรคไต โรคหลอดเลือดสมอง ระบบประสาทเสื่อม   เบาหวานแบ่งออกเป็น 2 ชนิด ได้แก่ เบาหวานชนิดที่ 1 พบได้บ่อยในวัยเด็ก เกิดจากระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายบกพร่อง ทำให้ตับอ่อนที่ทำหน้าที่ผลิตอินซูลินไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย นำไปสู่ภาวะน้ำตาลสะสมในเลือดสูงขึ้น อาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ปัสสาวะบ่อย เบาหวานชนิดที่ 2 พบได้บ่อยในวัยรุ่น วัยผู้ใหญ่ที่อายุ 40 ปี ขึ้นไป เกิดจากตับอ่อนไม่สามารถผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย หรือเซลล์ในร่างกายไม่ตอบสนองต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ หากปล่อยไว้นานอาจส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการหิวน้ำบ่อย ปัสสาวะบ่อย และน้ำหนักลดได้ ข้อมูลจากสมาคมโรคเบาหวานแห่งประเทศไทย ระบุว่า ผู้หญิงมีแนวโน้มเป็นโรคเบาหวานร้อยละ […]

หมวดหมู่ โรคเบาหวาน เพิ่มเติม

โรคเบาหวานชนิดที่ 1

สำรวจ โรคเบาหวาน

ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

วิธีการ รักษา แผล เบาหวาน มีอะไรบ้าง

แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ไม่ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เมื่อเป็นแผลหรือรอยขีดข่วนเเม้เป็นเพียงเเผลขนาดเล็ก ก็อาจกลายเป็นบาดแผลเรื้อรัง และอาจลุกลามใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ ได้ และยังเสี่ยงต่อการติดเชื้อแทรกซ้อนซึ่งจะส่งผลให้เนื้อตายเพิ่มขึ้น รวมอาจทำให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระเเสเลือดตามมาการ รักษา แผล เบาหวาน มีหลายวิธี เช่น การผ่าตัดเนื้อเยื่อที่ตายหรือติดเชื้อออก เพื่อป้องกันมิให้เเผลลุกลามไปยังเนื้อเยี่อส่วนข้างเคียง การรักษาด้วยออกซิเจนความดันสูง เพื่อช่วยชะลอการเติบโตของเชื้อโรค เเละเพิ่มการไหลเวียนของออกซิเจนไปยังบาดเเผล [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน มีสาเหตุจากอะไร มีลักษณะเป็นอย่างไร แผลเบาหวาน (Diabetic Ulcer) คือ บาดเเผลเรื้อรังที่เกิดขึ้นในผุ้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดี  จนทำให้หลอดเลือดส่วนปลายเสื่อมลง เกิดภาวะหลอดเลือดตีบหรืออุดตัน ทำให้เลือดไหลเวียนไปยังขาหรือเท้าได้ลดลง จึงอาจทำให้เนื้อเยี่อส่วนปลาย โดยเฉพาะที่ปลายนิ้วเท้าขาดเลือดเเละเกิดเป็นแผลเนื้อตายได้ รวมทั้งเมื่อเกิดแผลจึงหายช้ากว่าปกติ เพราะออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ ไม่สามารถหมุนเวียนไปเลี้ยงและฟื้นฟูบาดแผลได้ตามปกติ หากปล่อยทิ้งไว้หรือไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสมบาดแผลจะมีขนาดใหญ่เเละลึกขึ้นเรื่อย ๆ และอาจลุกลามไปจนถึงกระดูก ทั้งนี้ เมื่อแผลเบาหวานหายช้าจะยิ่งเพิ่มโอกาสติดเชื้อแบคทีเรีย  ร่วมกับในสภาวะที่มีน้ำตาลในเลือดสูงจะทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของเม็ดเลือดขาว จึงยิ่งเสริมให้แผลติดเชื้อนั้นอาจลุกลาม จนสุดท้ายผุ้ป่วยอาจต้องถูกตัดขาเพื่อป้องกันการลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ เมื่อเป็นแผลเบาหวานควรไปพบคุณหมอเมื่อไร ผู้ป่วยเบาหวานควรรีบไปพบคุณหมอ เมื่อพบว่าแผลบริเวณเท้าของตนมีลักษณะต่อไปนี้ ผิวหนังบริเวณข้างเคียงรอบ ๆ แผลเป็นสีแดง บวม กดเจ็บ หรือเมื่อแตะแล้วรู้สึกว่าผิวหนังร้อนกว่าบริเวณอื่น ๆ มีของเหลวไหลซึม หรือมีหนอง แผลมีกลิ่นเหม็น มีไข้ ทำเเผลเองเบื้องต้นเเล้วเเผลไม่ดีขึ้น หรือเเผลทรุดลง วิธีการ […]


โรคเบาหวาน

อาการคนเป็นเบาหวาน และวิธีดูแลตัวเองเมื่อเป็นเบาหวาน

อาการคนเป็นเบาหวาน อาจสังเกตได้จากมีอาการปัสสาวะบ่อย หิวน้ำบ่อย รู้สึกอ่อนเพลีย หากไม่รีบมาพบคุณหมอเพื่อรับการรักษาหรือควบคุมระดับน้ำตาลให้ดีอาจนำไปสู่ภาวะแทรกซ้อน  เช่น เบาหวานขึ้นตา เส้นประสาทเสื่อม ไตวาย โรคหัวใจและหลอดเลือด ที่อาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรหมั่นสังเกตสุขภาพของตนเอง หากมีความเสี่ยงหรืออาการที่เข้าข่ายว่าอาจจะเป็นสัญญานของโรคเบาหวาน ควรรีบเข้ารับการตรวจคัดกรอง เเละพบคุณหมอเพื่อให้การรักษาควบคุมโรครเบาหวานและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเป็นอันตรายต่อชีวิต [embed-health-tool-bmi] เบาหวานเกิดจากอะไร โรคเบาหวานมีสาเหตุหลัก ๆ  2 ประการ คือ ตับอ่อนผลิดฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง ซึ่งฮอร์โมนอินซุลินนี้มีหน้าที่สำคัญในการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้สมดุล เมื่อตับอ่อนผลิตอินซูลินได้ลดลง จึงเกิดเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 1 สำหรับโรคเบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากเซลล์ในร่างกายมีภาวะดื้อต่ออินซูลินจึงทำให้เเม้ตับอ่อนจะสามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอแต่ร่างกายไม่สามารถใช้งานอินซูลินได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงตามมานอกจากนี้ สำหรับคุณเเม่ตั้งครรภ์ รกจะผลิตหลาย ๆ ชนิดเพิ่มมากขึ้นเพื่อกระตุ้นการเจริยเติบโตของทารก เเต่ฮอร์โมนกลุ่มนี้มีผลต้านกับอินซูลินของคุณเเม่จึงส่งผลให้คุณเเม่บางท่านมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้นและเกิดเป็นโรคเบาหวานขณะตั้งครรภ์ อาการคนเป็นเบาหวาน มีอะไรบ้าง อาการคนเป็นเบาหวาน คือ อาการที่เกิดจากการที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง รวมทั้งอาจเป็นอาการที่เกิดจากภาวะเเทรกซ้อนที่เกิดตามมาเนื่องจากปล่อยให้มีระดับน้ำตาลสูงเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ตาม ในช่วงเเรกที่เริ่มเป็นเบาหวาน หรือ มีระดับน้ำตาลในเลือดไม่สูงนัก จะไม่มีอาการเเสดงใด ๆ ให้สังเกตอาการของโรคทั้งเบาหวานชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ดังนี้ รู้สึกเหนื่อยล้า เนื่องจากไม่สามารถใช้พลังงานจากน้ำตาลในเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพจึงส่งผลให้ร่างกายขาดพลังงาน เหนื่อยล้า และอ่อนเพลีย กระหายน้ำมากและปัสสาวะบ่อย  เมื่อระดับน้ำตาลในเลือดสูงเกินเกณฑ์ ไตจะขับน้ำตาลส่วนเกินออกทางปัสสาวะ จึงส่งผลให้ปัสสาวะบ่อยขึ้นและกระหายน้ำมากขึ้นตามมา […]


โรคเบาหวาน

วิธี ทำให้ น้ำตาลสะสม ลด มีอะไรบ้าง

ระดับน้ำตาลสะสมหรือ HbA1c เป็นค่าระดับน้ำตาลที่บ่งบอกถึงการควบคุมระดับน้ำตาลโดยเฉลี่ยในระยะยาว กล่าวคือ การควบคุมในช่วงเวลาประมาณ 3 เดือน ซึ่งเป็นตัวชี้วัดทางสุขภาพที่สำคัญอย่างมาก โดยผู้ที่เป็นเบาหวานนั้น หากต้องการดูแลให้มีสุขภาพดี ไม่เกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ควรมีค่าระดับน้ำตาลสะสม ไม่เกิน 7 เปอร์เซนต์ วิธี ทำให้ น้ำตาลสะสม ลด และลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะแทรกซ้อนอาจทำได้ด้วยการควบคุมปริมาณและชนิดของอาหารที่รับประทาน เลือกอาหารที่มีประโยชน์ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ขยับร่างกายบ่อย ๆ เป็นต้น [embed-health-tool-bmi] ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม เกณฑ์ระดับน้ำตาลในเลือดที่เหมาะสม มีดังนี้ ผู้ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่เป็นโรคเบาหวาน จะมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมง น้อยกว่า 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หากระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร 8 ชั่วโมงอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร แสดงถึงมีภาวะก่อนเบาหวาน (Prediabetes) หรือเสี่ยงต่อการเป็นโรคเบาหวาน และหากวัดระดับน้ำตาลในเลือดได้ตั้งเเต่ 126 มิลลิกรัม/เดซิลิตรขึ้นไปจะเข้าข่ายเป็นโรคเบาหวาน ผู้ป่วยโรคเบาหวานทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 ควรควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด โดยมีเป้าหมายดังนี้ ระดับน้ำตาลก่อนรับประทานอาหาร อยู่ระหว่าง 80-130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร […]


โรคเบาหวาน

เบาหวาน ใน เด็ก ต่างจากเบาหวานในผู้ใหญ่อย่างไร

เบาหวาน ใน เด็ก หมายถึง ภาวะที่เด็ก ๆ มีระดับน้ำตาลในเลือดสูง จนถึงเกณฑ์วินิจฉัยโรคเบาหวาน ซึ่งสามารถพบได้ทั้ง โรคเบาหวานชนิดที่ 1 และ 2 โดยเบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายไปทำลายตับอ่อน ทำให้ผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้ลดลง ในขณะที่เบาหวานชนิดที่ 2 เกิดจากภาวะดื่ออินูลินเป็นหลัก ทั้งนี้สามารถควบคุมเเละรักษาระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมได้เบื้องต้นด้วย การส่งเสริมให้เด็กรับประทานอาหารที่มีประโยชน์และออกกำลังกายสม่ำเสมอ เช่นเดียวกับในผู้ใหญ่ [embed-health-tool-bmr] เบาหวาน ใน เด็กเป็นอย่างไร เบาหวาน เป็นโรคเรื้อรังชนิดหนึ่งซึ่งผู้ป่วยจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ เนื่องจากการควบคุมสมดุลของน้ำตาลในเลือดของร่างกายบกพร่องไป สำหรับเบาหวานในเด็กนั้นสามารถพบได้ทั้งชนิดที่ 1 และชนิดที่ 2 เช่นเดียวกับที่พบได้ในผู้ใหญ่ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ เบาหวานชนิดที่ 1 เกิดจากทำให้เบตาเซลล์ (Beta Cells) ซึ่งเป็นเซลล์ของตับอ่อนที่ทำหน้าที่ในการผลิดฮอร์โมนอินซูลินถูกทำลาย จนไม่สามารถผลิตอินซูลินได้เพียงพอกับความต้องการของร่างกาย จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น ซึ่งสาเหตุที่ทำให้เบตาเซลล์ถูกทำลายนั้นเกิดจากการที่ระบบภูมิคุ้มกันสร้างภูมิไปทำลายเซลล์ของตนเอง จนเป็นเหตุให้เกิดโรคเบาหวานชนิดที่ 1 โดยทั่วไป เบาหวานชนิดที่ 1 มักพบมากในเด็กอายุระหว่าง 4-6 ปี และ 10-14 ปี โดยมีพันธุกรรมเป็นปัจจัยเสี่ยงหนึ่งของโรคเบาหวานชนิดนี้ พบว่า หากคุณแม่ที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน เท้าดำ อันตรายหรือไม่ ส่งผลต่อสุขภาพอย่างไร

แผลเบาหวาน เท้าดำ เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ที่เป็นโรคเบาหวานแล้วควบคุมระดับน้ำตาลได้ไม่ดีอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมเเละตีบตันจนเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงบริเวณอวัยวะส่วนปลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่ปลายเท้าได้ตามปกติ เท้าจึงมีสีดำคล้ำจากการขาดเลือด อีกทั้งหากมีภาวะเส้นประสาทเสื่อมจากเบาหวาน ผู้ป่วยจะมีอาการเท้าชาร่วมด้วย ทำให้เกิดแผลบริเวณเท้าได้ง่ายขึ้น หากมีการติดเชื้ออาจทำให้ลุกลามเกิดเนื้อตายมากขึ้นและอาจทำให้ต้องตัดเท้า-ขา ทั้งนี้ ภาวะดังกล่าวสามารถป้องกันได้โดยหมั่นควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์เหมาะสมอยู่เสมอ ตรวจดูสุขภาพเท้าและทำความสะอาดเท้าของตนเป็นประจำเพื่อป้องกันรวมถึงหากมีแผลจะได้รีบทำการรักษาตั้งเเต่เนิน ๆ  [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน และอาการเท้าดำ เกิดขึ้นได้อย่างไร แผลเบาหวาน เป็นภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยเบาหวานที่ควบคุมน้ำตาลได้ไม่ดี  แผลมักหายช้ากว่าปกติและหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องอาจลุกลามไปยังชั้นกล้ามเนื้อเเละลึกจนถึงกระดูก แผลเบาหวานมักเกิดขึ้นที่เท้า โดยมีสาเหตุมาจากการมีน้ำตาลในเลือดสูงอย่างเรื้อรัง ทำให้หลอดเลือดเสื่อมและมีไขมันสะสมในผนังของหลอดเลือด ส่งผลให้หลอดเลือดตีบลง เลือดจึงไหลเวียนไปยังอวัยวะส่วนปลายเช่นขาหรือเท้าได้น้อยกว่าปกติ เป็นสาเหตุให้เนื้อเยื่อส่วนนั้นๆ บริเวณขาดเลือด เเละกลายเป็นเนื้อตายในที่สุด โดยที่แผลเนื้อตายจะมีสีดำ จึงทำให้พบว่า ผู้ป้วยเบาหวานที่ควบคุมไม่ดี จนเกิดภาวะนี้มีนิ้วเท้าบางนิ้วดำ บางรายลุกลามจนทำให้เท้ากลายเป็นสีดำทั้งเท้าเนื่องจากการขาดเลือดมาหล่อเลี้ยง นอกจากนี้ เมื่อเลือดไม่สามารถไหลเวียนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ได้ตามปกติจึงทำให้แผลเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารอาหารต่าง ๆ รวมถึงเซลล์เม็ดเลือดขาวไม่สามารถเข้าถึงบาดแผลได้อย่างเหมาะสม รวมทั้งเพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อแทรกซ้อนอีกด้วย อีกปัจจัยหนึ่งที่สำคัญคือ คือ เส้นประสาทเสื่อมจากภาวะน้ำตาลในเลือดสูง ทำให้ผู้ป่วยมีอาการเท้าชา รับความรู้สึกได้ลดลงจึงไม่ทันรู้ตัวว่าเท้าเป็นแผลหรือมีรอยขีดข่วน จึงเพิ่มความเสี่ยงในการติดเชื้อมากขึ้น วิธีรักษา แผลเบาหวาน เท้าดำ คุณหมออาจมีวิธีรักษาคำแนะนำต่อไปนี้ แผลเบาหวาน  แนะนำให้ลดการเดินหรือลงน้ำหนักเท่าที่จำเป็น อาจใช้ไม้เท้าหรือรถเข็นช่วย ในช่วงที่แผลยังไม่หายดี เพือลดเเรงกดทับไปยังเเผลซึ่งอาจทำให้เเผลหายช้า หรือทรุดลงกว่าเดิม ทำแผลและให้ยาฆ่าเชื้อ คุณหมอจะทำเเผล ในกรณีที่มีหนองคุณหมอจะระบายหนองออก รวมถึงตัดเนื่อเยี่อที่ตายบางส่วนออก รวมถึงจ่ายยาฆ่าเชื้อให้รับประทาน หากที่เท้ามีตาปลาที่เสี่ยงต่อการเกิดเเผลกดทับ […]


โรคเบาหวาน

5 เมนูอาหารโรคเบาหวาน และวิธีควบคุมอาการเบาหวาน

เมนูอาหารโรคเบาหวาน ที่เหมาะสมสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ควรเน้นการรับประทานอาหารประเภทผัก ผลไม้ที่มีค่าดัชนีน้ำตาลต่ำ ธัญพืชไม่ขัดสี และเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน เพราะอาการเหล่านี้จะมีใยอาหารสูงซึ่งอาจช่วยชะลอการดูดซึมน้ำตาลสู่กระแสเลือด ทำให้ระดับน้ำตาลหลังรับประทานอาหารไม่ขึ้นสูงมากจนเกินไป อีกทั้งยังอยู่ท้องช่วยให้อิ่มได้นานขึ้น  ทำให้สามารถควบคุมเบาหวานได้ดีขึ้น [embed-health-tool-bmi] 5 เมนูอาหารโรคเบาหวาน 5 เมนูอาหารโรคเบาหวาน มีดังนี้ ผัดฟักทองใส่ไข่ เป็นเมนูอาหารโรคเบาหวานที่ใช้ความหวานจากฟักทองและไข่ไก่โดยไม่จำเป็นต้องปรุงรสชาติด้วยน้ำตาลเพิ่มเติม จึงรับประทานง่าย เหมาะสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน วัตถุดิบ ฟักทอง 500 กรัม หั่นเป็นชิ้นพอดีคำ ไข่ไก่ 3 ฟอง กระเทียมสับ 2 ช้อนชา น้ำมันพืช 2 ช้อนชา อาจเลือกใช้น้ำมันที่มีไขมันดีและดีต่อสุขภาพ เช่น น้ำมันมะกอก น้ำมันคาโนล่า ซอสหอยนางรม 2 ช้อนชา ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนชา น้ำเปล่า 1 ถ้วย วิธีทำ ตั้งกระทะและใส่น้ำมัน รอให้น้ำมันร้อน แล้วใส่กระเทียมสับลงไปผัดจนมีกลิ่นหอม จากนั้นใส่ฟักทองที่เตรียมไว้ลงไปผัด ปรุงรสด้วยซอสหอยนางรม และซีอิ๊วขาว เติมน้ำเปล่าลงไป 1 ถ้วย จากนั้นเคี่ยวให้เข้ากันประมาณ 2-3 นาที […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

แผลเบาหวาน ตัดขา เกิดจากอะไรได้บ้าง

ผู้ป่วยโรคเบาหวานที่มีระดับน้ำตาลในเลือดสูงเรื้อรัง ส่งผลให้หลอดเลือดตีบหรืออุดตันได้ง่าย รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงซึ่งเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือด จนทำให้เลือดไหลเวียนไปสู่อวัยะวะส่วนปลายโดยเฉพาะที่ขาเเละเท้าได้ไม่ดี เมื่อเกิดแผลจึงมักหายช้าจนมีโอกาสติดเชื้อและเสี่ยงต่อการเกิดเนื้อตายมากกว่าคนทั่วไป สำหรับผู้ป่วยเบาหวานที่มี แผลเบาหวาน การ ตัดขา จึงเป็นตัวเลือกสุดท้ายในการรักษา เพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปยังบริเวณข้างเคียง [embed-health-tool-bmi] แผลเบาหวาน ต้องตัดขา เพราะอะไร หากผู้ป่วยเบาหวานปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน จะส่งผลให้หลอดเลือดเสื่อมลง รวมไปถึงการมีไขมันในเลือดสุงเป็นปัจจัยส่งเสริมให้เกิดไขมันไปสะสมที่ผนังหลอดเลือดจนตีบแคบลงหรืออุดตัน เกิดเป็นภาวะแทรกซ้อนที่เรียกว่า โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตัน (Peripheral Arterial Disease) ทำให้เลือดไหลเวียนไปหล่อเลี้ยงขาหรือเท้าได้ไม่เพียงพอ เกิดอาการเท้าชา อ่อนแรง หรือและอาจรุนเเรงจนทำให้เกิดเนื้อตาย จนต้องตัดเนื้อเยืือส่วนนั้นๆออก ซึ่งหากลุกลามมากขึ้นอาจจำเป็นต้องตัด นิ้วเท้าไปจนถึงขาเพื่อป้องกันมิให้เนื้อตายลุกลามไปบริเวณข้างเคียง อีกทั้ง โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายอุดตันจะทำให้แผลของผู้ป่วยเบาหวานหายช้ากว่าปกติ เนื่องจากออกซิเจนและสารต่าง ๆ ในกระแสเลือด รวมทั้งเซลล์เม็ดเลือดขาว ไม่สามารถไหลเวียนไปยังบาดแผลได้ตามปกติ รวมทั้งยังเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ซึ่งทำให้เเผลยิ่งทรุดลงจนผู้ป่วยต้องถูกตัดขาหรือเท้าในที่สุด การรักษา แผลเบาหวาน วิธีอื่น ๆ นอกจากการ ตัดขา มีอะไรบ้าง นอกจากการตัดเนื้อตายออกจากเเผล ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องตัดนิ้วเท้า เท้า หรือ ขา เเล้ว ยังมีวิธีรักษาที่อาจช่วยลดการเกิดเนื้อตายด้วยวิธีอื่น ๆ ดังนี้ การผ่าตัดศัลยกรรมหลอดเลือด (Vascular Surgery) หรือการผ่าตัดหลอดเลือดที่ตีบแคบหรืออุดตัน เพื่อให้เลือดไหลเวียนไปถึงขาหรือเท้าได้ดีขึ้น ซึ่งจะช่วยลดอาการเนื้อตายเรวมทั้งทำให้ร่างกายจัดการกับการติดเชื้อได้ขึ้น การบำบัดด้วยออกซิเจนความดันสูง […]


โรคเบาหวาน

FBS ค่าปกติ คือเท่าไร สัมพันธ์อย่างไรกับโรคเบาหวาน

FBS ย่อมาจาก Fasting Blood Sugar หมายถึงการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาแล้วอย่างน้อย 8ชั่วโมง ซึ่งค่า FBS หรือระดับน้ำตาลในเลือดของคนปกติควรมีค่าไม่เกิน 99 มิลลิกรัมต่อเดซิลิตร หากสูงกว่านั้น อาจหมายถึง มีภาวะก่อนเบาหวาน หรือกำลังเป็นโรคเบาหวานอยู่ [embed-health-tool-bmr] น้ำตาลในเลือดกับโรคเบาหวาน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวานจะมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าคนทั่วไป เพราะตับอ่อนผลิตฮอร์โมนอินซูลินได้น้อยกว่าความต้องการของร่างกาย หรือ เซลล์ในร่างกายตอบสนองต่ออินซูลินบกพร่อง ทำให้ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาลให้อยู่ในสมดุลได้ตามปกติระดับน้ำตาลในเลือดจึงสูงเกินเกณฑ์และนำไปสู่โรคเบาหวานในที่สุด โดยอินซูลินเป็นฮอร์โมนที่ทำหน้าที่กระตุ้นให้เซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย ดึงน้ำตาลในเลือดไปเผาผลาญเป็นพลังงาน และนำน้ำตาลส่วนเกินไปสะสมไว้ที่ตับ เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลไม่ให้สูงเกินไป หรือเพื่อให้อยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสม ทั้งนี้ เมื่อบริโภคอาหารกลุ่มคาร์โบไฮเดรต อาทิเช่น ข้าว แป้งและน้ำตาล ระบบย่อยอาหารจะเปลี่ยนอาหารกลุ่มนี้เป็นน้ำตาลกลูโคส จึงทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยโรคเบาหวานจึงควรเลือกรับประทานอาหารกลุ่มนี้ในปริมาณที่เหมาะสม เพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ซึ่งจะเป็นการป้องกันภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น เช่น ปลายมือเท้าชา เบาหวานขึ้นตา โรคไต  การตรวจ FBS คืออะไร การตรวจ FBS คือ การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร โดยเป็นการตรวจเลือดจากหลอดเลือดดำ ซี่งมักทำตอนเช้าหลังจากที่ผู้เข้ารับการตรวจอดอาหาร รวมทั้งเครื่องดื่มที่ให้พลังงานมาเป็นเวลาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง การตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ FBS เหมาะสำหรับผู้ที่มีภาวะสุขภาพต่าง ๆ เช่น ตรวจคัดกรองโรคเบาหวานในผู้ที่มีสุขภาพปกติ […]


โรคเบาหวาน

ifg คือ อะไร มีอาการอย่างไร และควบคุมได้อย่างไรบ้าง

IFG (Impaired Fasting Glucose) คือ ภาวะที่ร่างกายมีระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารสูงกว่าปกติ คือ มีค่าระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ยังไม่จัดว่าเป็นโรคเบาหวาน เเต่หากปล่อยให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงเป็นเวลานาน อาจนำไปสู่การเกิดโรคเบาหวานได้ [embed-health-tool-heart-rate] IFG คือ อะไร IFG คือ ภาวะที่ร่างกายเริ่มมีระดับน้ำตาลในเลือดสูงกว่าปกติ อาจเรียกว่าเป็น ภาวะก่อนเบาหวาน โดยสามารถวินิจฉัยได้โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังจากอดอาหารมาอย่างน้อย 8 ชั่วโมง เเล้วมีค่าอยู่ระหว่าง 100-125 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจาก ตับอ่อนเริ่มผลิดอินซูลินไปจัดการกับน้ำตาลได้ลดลง หรือ เซลล์ในร่างกายเริ่มมีภาวะดื้อต่ออินซูลิน ซึ่งเมือตรวจพบว่ามีภาวะ IFG นี้เเล้ว หากได้รับการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพที่เหมาะสม มักจะกลับไปควบคุมระดับน้ำตาลในอยู่ในเกณฑ์ปกติได้สำเร็จ (อาจมีบางกลุ่มที่คุณหมอเเนะนำให้เริ่มรับประทานยาลดระดับน้ำตาล เมทฟอร์มินเลย เช่น ผู้ที่มีโรคอ้วนร่วมด้วย) ซึ่งนอกจากจะเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคเบาหวานเเล้ว ยังเป็นการลดความเสี่ยงของการเกิดโรคอื่น ๆ ในอนาคตด้วย เช่น โรคความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง หรือ ไขมันพอกตับ  การวินิจฉัยภาวะ IFG  การวินิจฉัยภาวะ IFG สามารถทำได้โดยการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดแบบ Fasting Blood Sugar ซึ่งคือการตรวจระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหารมาอย่างน้อย 8 […]


ภาวะแทรกซ้อนจากโรคเบาหวาน

Macrosomia คือ อะไร เกี่ยวข้องยังไงกับเบาหวานขณะตั้งครรภ์

Macrosomia คือ ภาวะทารกตัวโตหรือมีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ซึ่งหนึ่งปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญของภาวะทารกตัวโตคุณเเม่เป็นโรคเบาหวานเดิม หรือมีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ ซึ่งเกินเนื่องจากฮอร์โมนจากรกชนิดหนึ่ง ออกฤทธิ์ต้านกับอินซูลินจึงทำให้การควบคุมระดับน้ำตาลบกพร่องไป ซึ่งภาวะทารกตัวโตนี้มักทำให้คลอดแบบธรรมชาติลำบากและเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ เช่น แผลฉีกขาดบริเวณฝีเย็บ ภาวะคลอดติดไหล่ การตกเลือดหลังคลอด ภาวะถุงน้ำคร่ำอักเสบติดเชื้อ  [embed-health-tool-bmi] Macrosomia คือ อะไร Macrosomia คือ ภาวะทารกตัวโต หรือทารกในครรภ์มีน้ำหนักมากกว่า 4 กิโลกรัม ไม่ว่าในช่วงอายุครรภ์เท่าไรก็ตาม ขณะที่น้ำหนักโดยทั่วไปของทารกปกติจะอยู่ระหว่าง 2.5-4 กิโลกรัม ปัจจัยเสี่ยงของภาวะทารกตัวโตแบ่งออกเป็น ปัจจัยด้านพันธุกรรม และปัจจัยด้านภาวะสุขภาพของคุณเเม่  ปัจจัยด้านพันธุกรรม เช่น พันธุกรรมของคุณพ่อคุณเเม่ตัวสูงมีโอกาสมีทารกตัวโตได้มากกว่า และทารกเพศชายมีโอกาสทารกตัวโตมากกว่าเพศหญิง  ปัจจัยด้านภาวะสุขภาพของคุณเเม่ โดยที่คุณเเม่ที่มีภาวะสุขภาพดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสียงของการเกิดทารกตัวโต คุณเเม่ที่เป็นโรคเบาหวานเดิมก่อนตั้งครรภ์ หรือ มีภาวะเบาหวานขณะตั้งครรภ์ (Gestational Diabetes) นอกจากนี้ มีการศึกษาที่ตีพิม์ใน วารสาร Annals of Nutrition and Metabolism ปี พ.ศ. 2558 พบว่า ภาวะทารกตัวโตพบได้บ่อยในคุนเเม่ที่เป็นเบาหวานขณะตั้งครรภ์เเล้วไม่ได้รับการรักษา หรือไม่สามารถควบคุมระดับน้ำตาล […]

ad iconโฆษณา
คำถามที่พบบ่อย
ad iconโฆษณา

คุณกำลังเป็นเบาหวานอยู่ใช่หรือไม่?

คุณไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว เข้าร่วมชุมชนเบาหวานและแลกเปลี่ยนเรื่องราวและประสบการณ์ของคุณ เข้าร่วมชุมชนได้เลย!





ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน