ผ่าคลอด เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่มีข้อห้ามในการคลอดทางช่องคลอด คุณแม่ที่ใกล้คลอดควรศึกษาถึงขั้นตอนการผ่าคลอดเพื่อจะได้มีทางเลือกในการตัดสินใจคลอดลูกที่เหมาะสมกับสภาพร่างกายและความพร้อมด้านจิตใจของคุณแม่เองด้วย
[embed-health-tool-due-date]
ผ่าคลอด (Cesarean section) คืออะไร
ผ่าคลอด เป็นวิธีผ่าตัดทางหน้าท้องและผนังมดลูกแล้วนำทารกออกมา ซึ่งโดยปกติแล้วแพทย์จะเลือกผ่าคลอด ในกรณีที่คุณแม่ไม่สามารถคลอดเองได้ หรือการคลอดแบบธรรมชาติอาจจะมีอันตรายต่อคุณแม่หรือลูกน้อยในครรภ์
การเตรียมตัวก่อนการผ่าคลอด
- ของใช้จำเป็นสำหรับคุณแม่
- ของใช้จำเป็นสำหรับลูกน้อย
- เอกสารสำคัญต่าง ๆ เช่น สมุดฝากครรภ์ บัตรโรงพยาบาล สำเนาบัตรประชาชนทั้งคุณพ่อคุณแม่ สำเนาทะเบียนบ้าน
- ทำความสะอาดบริเวณท้อง
- ร่างกายที่ต้องเตรียมสำหรับ วิธีผ่าคลอด
เมื่อถึงเวลาผ่าคลอดแพทย์จะให้ยาระงับความรู้สึก โดยมีอยู่ 2 วิธีคือ
- ฉีดยาชาเข้าบริเวณไขสันหลัง
- ดมยาสลบ
ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นจาก วิธีผ่าคลอด
สำหรับวิธีผ่าคลอดนั้น อาจเกิดความเสี่ยงขึ้นได้ โดยความเสี่ยงสามารถเกิดขึ้นได้ทั้งกับลูกน้อยและตัวคุณแม่เอง สำหรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่
ความเสี่ยงต่อลูกน้อย ได้แก่
- ปัญหาการหายใจ โดยอาจมีอาการหายใจเร็วผิดปกติในช่วง 2-3 วันแรกหลังการผ่าคลอด
- การบาดเจ็บจากการผ่าตัด แม้ว่าจะเกิดได้ยาก แต่รอยบุบที่ผิวหนังของทารกอาจเกิดขึ้นได้โดยไม่ได้ตั้งใจในระหว่างการผ่าตัด
ความเสี่ยงสำหรับคุณแม่ ได้แก่
- การติดเชื้อ หลังผ่าคลอดอาจมีความเสี่ยงที่จะเกิดการติดเชื้อที่โพรงมดลูก
- ตกเลือดหลังคลอด เวลาผ่าคลอดอาจทำให้เลือดออกมากระหว่างคลอดและหลังคลอด
- เพิ่มความเสี่ยงในระหว่างตั้งครรภ์ในอนาคต หลังจากการผ่าคลอด มีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะแทรกซ้อนขึ้นในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป ยิ่งมีการผ่าคลอดมากเท่าใด ความเสี่ยงของรกเกาะต่ำ ภาวะรกเกาะติดเกาะแน่น ก็จะยิ่งสูงขึ้น การเพิ่มพังผืดในช่องที่อาจะทำให้เกิดการบาดเจ็บต่ออวัยวะข้างเคียงในระหว่างผ่าตัด รวมไปถึงความเสี่ยงที่มดลูกจะฉีกขาดตามเส้นรอยแผลเป็นเดิมได้
หากคุณแม่ผ่าคลอดลูกคนแรก และในอนาคตต้องการจะตั้งครรภ์อีก แพทย์จะแนะนำให้ผ่าคลอดในท้องถัดไป ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จำเป็นต้องสอบแจ้งข้อมูลการตั้งครรภ์และสอบถามข้อมูลจากแพทย์ที่ดูแลเพิ่มเติม
การดูแลคุณแม่เบื้องต้นหลังการผ่าคลอด
- การดูแลแผลจากการวิธีผ่าคลอด มักจะใช้เวลานานกว่าการคลอดแบบธรรมชาติ
- การพักรักษาตัวในโรงพยาบาลสำหรับการผ่าตัดคลอดอยู่ที่ประมาณ 3 หรือ 4 วัน หากเทียบกับการคลอดแบบธรรมชาติเฉลี่ยพักฟื้น 1-2 วันก็สามารถกับบ้านได้
- อาจต้องหลีกเลี่ยงกิจกรรมบางอย่าง เช่น การขับรถ จนกว่าจะเข้ารับการตรวจหลังคลอดกับแพทย์เมื่อครบ 6 สัปดาห์
- ห้ามให้แผลโดนน้ำ เพราะอาจเสี่ยงต่อการติดเชื้อ
- หลังผ่าคลอด คุณแม่ไม่ควรยกของหนัก ๆ
- ควรดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสม และเดิน เพื่อช่วยป้องกันอาการท้องผูกและการเกิดลิ่มเลือด
- รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ปรุงสุก สะอาด และหลีกเลี่ยงอาหารหมักดอง
- หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ ให้หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์เป็นเวลาหกสัปดาห์หลังการผ่าตัดคลอด
- สังเกตอาการต่าง ๆ ของคุณแม่ หากมีภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ
ผ่าคลอด เป็นวิธีการคลอดที่คุณแม่ทั่วโลกเลือกคลอดด้วยวิธีนี้เพิ่มขึ้นมาก แม้ว่า วิธีผ่าคลอด อาจเป็นวิธีที่จำเป็นและช่วยชีวิตคุณแม่และลูกน้อย แต่ก็อาจทำให้คุณแม่และลูกน้อยมีความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพทั้งระยะสั้นและระยะยาวได้ ดังนั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์ที่จำเป็นต้องมีการผ่าคลอดแทนการคลอดแบบธรรมชาติ จำเป็นจะต้องสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากแพทย์ เพื่อประกอบการตัดสินใจและเพื่อความปลอดภัยของตัวเองและลูกน้อย