backup og meta

สายสะดือพันคอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 09/08/2023

    สายสะดือพันคอ สาเหตุและปัจจัยเสี่ยงที่ควรรู้

    สายสะดือพันคอทารก (Nuchal cord) เป็นภาวะที่พบได้บ่อย อาจเกิดจากทารกในครรภ์เคลื่อนไหวมากเกินไป สายสะดือผิดปกติ สายสะดือยาวเกินไป เป็นต้น แม้ภาวะนี้จะพบได้เป็นปกติ แต่บางครั้งก็อาจเป็นอันตราย ทำให้ทารกขาดสารอาหารและออกซิเจนไปหล่อเลี้ยง จนอาจทำให้ขาดอากาศหายใจได้ ทั้งนี้ การหมั่นสังเกตอาการของตัวเองและไปตรวจครรภ์ตามนัดเสมอตลอดการตั้งครรภ์ อาจช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดภาวะอันตรายเนื่องจากสายสะดือพันคอทารกได้

    สายสะดือ คืออะไร

    สายสะดือ (umbilical cord) เป็นอวัยวะที่เชื่อมระหว่างทารกในครรภ์กับรกเพื่อทำหน้าที่ส่งผ่านสารอาหารและออกซิเจนจากเลือดมารดาไปให้แก่ทารก มีขนาด 1-2.5 เซนติเมตร ยาวประมาณ 30-100 เซนติเมตร มีเลือดประมาณ 125 มิลลิลิตร/กิโลกรัม มีลักษณะขาวขุ่น เป็นเส้นยาว และบิดเป็นเกลียว ซึ่งช่วยให้สายสะดือไม่พับงอ

    สายสะดือพันคอ คืออะไร

    สายสะดือพันคอทารก (Nuchal cord) เป็นเหตุสุดวิสัยที่ส่วนใหญ่คุณแม่ไม่อาจทราบได้ตั้งแต่ก่อนคลอด ถ้าเกิดเหตุการณ์สายสะดือพันคอทารกคุณแม่มักจะไม่รู้ตัว อาจรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ลูกดิ้นน้อยลงหรือหยุดดิ้น ไม่สามารถหาทางป้องกันล่วงหน้าได้ แต่แพทย์อาจคาดเดาได้จากการตรวจพบความผิดปกติของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ แต่คุณแม่หรือคุณพ่ออาจจะต้องรวมกันสังเกตการดิ้นของลูกน้อยในครรภ์ด้วย หากเริ่มมีการดิ้นที่น้อยลง โดยเฉพาะหลัง28สัปดาห์เป็นต้นไป แนะนำให้รีบไปพบคุณหมอโดยเร็วที่สุด

    สาเหตุของภาวะ สายสะดือพันคอ

    • ทารกในครรภ์ดิ้นเยอะ หรือมีการเคลื่อนไหวมากเกินไป
    • สายสะดือยาวผิดปกติ เนื่องจากสายสะดือมีเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 1-2 เซนติเมตร และยาวประมาณ 50 เซนติเมตร บางคนก็สั้นกว่านั้น ในขณะที่บางคนอาจยาวมากกว่า 100 เซนติเมตร แต่อย่างไรก็ตาม สายสะดือที่สั้นผิดปกติอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ประเภทอื่น ๆ ได้
    • น้ำคร่ำที่มากเกินไป ทำให้ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวได้มากขึ้น
    • โครงสร้างสายสะดือมีความอ่อนมากเกินไป
    • อาจเป็นฝาแฝดหรือมากกว่านั้น

    สาเหตุที่กล่าวมาข้างต้นนั้น อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อนอื่น ๆ ได้

    ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลลูกน้อย หากสายสะดือพันคอ

    เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อสายสะดือพันรอบคอของทารกในครรภ์อย่างสมบูรณ์หรือพัน 360 องศา โดยที่ทารกไม่สามารถหลุดออกมาจากสายสะดือนั้นได้

    จากการศึกษาวิจัยสายสะดือพันคอนั้นไม่ค่อยสร้างความเสี่ยงต่อคุณแม่และลูกน้อยเท่าไร แต่ก็อาจจะส่งผลต่อสุขภาพได้ในบางกรณี  ซึ่งแพทย์จะตรวจดูทารกในระหว่างการคลอด และสังเกตสายสะดือจากถ่ายภาพอัลตราซาวนด์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ เช่น

    • อัตราการเต้นของหัวใจผิดปกติ ความเสี่ยงที่พบบ่อยที่สุดจากสายสะดือพันคอ คืออัตราการเต้นของหัวใจของทารกลดลงระหว่างการคลอด ซึ่งเป็นผลมาจากออกซิเจนที่ลดลง และการไหลเวียนของเลือดผ่านสายที่พันกัน
    • เป็นเหตุให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ ในการวิจัยพบว่ามีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยหรืออาจไม่มีเลยจากสาเหตุสายสะดือพันคอ เพราะหากแพทย์เห็นถึงความผิดปกติ อาจเปลี่ยนวิธีการคลอดเป็นการผ่าคลอดแทน

    คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหมั่นสังเกตร่างกายของตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และดูแลสุขภาพให้แข็งแรง รวมไปถึงการไปหาหมอตามนัดก็สามารถช่วยให้คุณแม่ และคุณพ่อให้เห็นพัฒนาการต่าง ๆ ของลูกน้อย แล้วหากพบสิ่งผิดปกติ คุณหมอก็จะสามารถให้คำปรึกษาได้อย่างทันท่วงที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 09/08/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา