backup og meta

ท้อง 1 เดือน กินยาสตรี ออกไหม อันตรายหรือเปล่า

ท้อง 1 เดือน กินยาสตรี ออกไหม อันตรายหรือเปล่า

ปัจจุบันยังคงมีปัญหาท้องไม่พร้อมเกิดขึ้นอยู่มาก และบางคนยังสงสัยว่า ท้อง 1 เดือน กินยาสตรี ออกไหม แท้ง ไหม แต่ในความจริงแล้วยาสตรีมีคุณสมบัติช่วยปรับสมดุลฮอร์โมน และบำรุงให้เลือดลมไหลเวียนได้ดี รวมถึงอาจช่วยบำรุงสุขภาพครรภ์ อย่างไรก็ตาม การกินยาสตรีในปริมาณมากและเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงทั้งต่อตัวแม่และทารกได้

[embed-health-tool-ovulation]

ยาสตรี คืออะไร

ยาสตรี หรือ ยาขับเลือด คือ ยาสำหรับผู้หญิงที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ หรือเลือดลมในร่างกายไม่ปกติ การกินยาสตรีจึงอาจช่วยปรับฮอร์โมนให้มีความสมดุล เนื่องจากยาสตรีประกอบด้วยสมุนไพรหลายชนิด เช่น ว่านชักมดลูก สะระแหน่ ดอกคำฝอย ชะเอม ดอกจันทน์ น้ำผึ้ง เปลือกส้ม ขิง ไพล พริกไทย อบเชย เทียนดำ เทียนแดง ที่มีฤทธิ์ของฮอร์โมนไฟโตเอสโทรเจน (Phytoestrogen) ซึ่งมีคุณสมบัติคล้ายกับฮอร์โมนเอสโตรเจน ส่งผลให้เยื่อบุโพรงมดลูกหนาขึ้น โดยหากไม่มีการตั้งครรภ์ เยื่อบุโพรงมดลูกที่หนาขึ้นจะลอกออกและกลายเป็นประจำเดือน

ท้อง 1 เดือน กินยาสตรี ออกไหม

ปัจจุบันยังมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับยาสตรีในการทำแท้ง ซึ่งในความเป็นจริงไม่ว่าจะกินยาสตรีในช่วงท้อง 1 เดือน หรืออายุครรภ์ไหน หรือกินในปริมาณมากก็ไม่สามารถทำให้แท้งได้ แต่ในทางกลับกันการกินยาสตรีในระหว่างตั้งครรภ์อาจช่วยบำรุงสุขภาพครรภ์และทำให้การตั้งครรภ์ง่ายขึ้น

อย่างไรก็ตาม ถึงการกินยาสตรีจะไม่ทำให้แท้งลูก แต่การกินในปริมาณที่มากเกินไปติดต่อกันเป็นเวลานาน ก็อาจเป็นอันตรายต่อตัวแม่และทารกในครรภ์ได้ ดังนี้

  • อาจทำให้มีอาการตกขาวมาก และตกขาวเป็นเวลานานหลายเดือน
  • อาจทำให้ช่องคลอด โพรงมดลูก และปากมดลูกอักเสบ
  • ยาสตรีบางชนิดมีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ ซึ่งอาจส่งผลต่อพัฒนาการของทารก เช่น มีเลือดออกในสมอง สมองพิการ ร่างกายพิการแต่กำเนิด
  • หากได้รับยาสตรีไปเป็นระยะเวลานาน อาจร้ายแรงถึงขั้นเยื่อบุโพรวงมดลูกหนาตัวมากขึ้น และพัฒนาไปเป็นมะเร็งโพรงมดลูกในอนาคต หรือมะเร็งอื่น ๆ เช่น มะเร็งเต้านม รวมทั้งอาจเป็นอันตรายต่อผู้ที่เป็นโรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง เส้นเลือดอุดตัน ผู้ที่กินยาสลายลิ่มเลือด เนื่องจากยาสตรีอาจทำให้เกิดปัญหาเส้นเลือดอุดตัน

การยุติการตั้งครรภ์อย่างถูกกฎหมาย

สำหรับผู้ที่ต้องการ ทำแท้ง อย่างถูกกฎหมาย ในปัจจุบันมีสถานพยาบาลหลายแห่งที่มีบริการให้คำปรึกษา หรือโทร 1663 เพื่อรับคำแนะนำและส่งต่อไปยังสถานพยาบาลใกล้บ้าน ทั้งนี้ อาจต้องพิจารณาคุณสมบัติบางประการเกี่ยวกับการยุติการตั้งครรภ์ ดังนี้

  • การยุติการตั้งครรภ์ตามกฎหมาย สามารถทำได้หากการตั้งครรภ์เป็นอันตรายต่อแม่ทั้งทางร่างกายและจิตใจ และผู้ตั้งครรภ์ที่มีอายุ 15 ปี หากการตั้งครรภ์เกิดจากการกระทำผิดทางอาญา เช่น ถูกล่อลวง ถูกข่มขืน สามารถเข้ายุติการตั้งครรภ์ได้โดยไม่ต้องมีใบแจ้งความ ถ้าผู้ตั้งครรภ์และผู้ปกครองยินยอม
  • ต้องใช้ยายุติการตั้งครรภ์ด้วยความสมัครใจ และต้องไม่มีอาการแพ้ยาหรือปัญหาสุขภาพ เช่น การตั้งครรภ์นอกมดลูก โรคเลือดออกผิดปกติ โรคต่อมหมวกไต ใส่ห่วงอนามัย แพ้ยาไมโซโพรสตอล (Misoprostol) หรือแพ้ยาพรอสตาแกลนดิน (Prostaglandins)
  • ต้องเข้ารับการตรวจการตั้งครรภ์ เพื่อทราบอายุครรภ์และความผิดปกติของการตั้งครรภ์
  • การใช้ยายุติการตั้งครรภ์ควรมีอายุครรภ์ไม่เกิน 9-12 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับพิจารณาของคุณหมอ แต่หากมีอายุครรภ์ 13 สัปดาห์ขึ้นไป ต้องเข้ายุติการตั้งครรภ์ที่โรงพยาบาล โดยมีคุณหมอดูแลอย่างใกล้ชิด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ยาสตรี ยาขับเลือด กินไป 2 ขวดแล้วทำแท้วได้ไหม. https://www.rsathai.org/km/ยาสตรี-ยาขับเลือด-กินไป-2/#:~:text=ตอบ%20กินยาสตรี%20ยา,ที่กินไปจำนวนมาก. Accessed August 25, 2022

ทำไมต้องทราบอายุครรภ์. https://www.rsathai.org/networkservice/. Accessed August 25, 2022

6 ข้อแนะนำที่ต้อองรู้ ก่อนการใช้ยาทำแท้ง เมื่อทางเลือกคือยุติการตั้งครรภ์. https://www.rsathai.org/contents/311/. Accessed August 25, 2022

ยาทำแท้ง: ข้อมูลทั้งหมดที่คุณอาจไม่เคยรู้และอยากจะรู้เกี่ยวกับยาทำแท้งและการให้คำปรึกษาออนไลน์. https://www.womenonweb.org/th/abortion-pill. Accessed August 25, 2022

Abortion. https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/abortion. Accessed August 25, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

14/02/2024

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ครีมทาหน้าสําหรับคนท้อง และครีมที่ควรหลีกเลี่ยง

คนท้องกินเบียร์ได้ไหม อันตรายหรือไม่


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 14/02/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา