backup og meta

ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ เกิดขึ้นจากสาเหตุอะไร

ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ เป็นอาการปกติที่อาจเกิดขึ้นได้ในขณะตั้งครรภ์ เช่น กล้ามเนื้อตึง มดลูกขยายตัว อาการเจ็บท้องหลอก ปัญหาระบบย่อยอาหาร อย่างไรก็ตาม อาการปวดหน่วงท้องน้อยอาจเป็นสัญญาณความผิดปกติของสุขภาพในขณะตั้งครรภ์ได้เช่นกัน จึงควรสังเกตอาการที่เกิดขึ้นร่วมด้วยและควรเข้าพบคุณหมอทันทีหากมีอาการรุนแรงขึ้น

[embed-health-tool-due-date]

ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์ เกิดจากอะไร

ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์อาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ดังนี้

  • กล้ามเนื้อตึง ในขณะตั้งครรภ์น้ำหนักตัวจะเพิ่มขึ้นประมาณ 10-12 กิโลกรัม ร่วมกับการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลต่ออกล้ามเนื้อและเส้นเอ็น ซึ่งอาจทำให้กล้ามเนื้อหลัง กล้ามเนื้อด้านข้าง และหน้าท้องตึงได้ง่าย ส่งผลให้อาจมีอาการปวดเกิดขึ้นได้
  • มดลูกขยายตัว เนื่องจากเอ็นและกล้ามเนื้อมดลูกขยายตัวออก ทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือน โดยอาจจะปวดท้องใกล้ขาหนีบข้างใดข้างหนึ่งหรือทั้ง 2 ข้าง
  • อาการท้องแข็งเนื่องจากมดลูกหดรัดตัว (Braxton Hick Contraction) เป็นอาการเจ็บท้องหลอก เนื่องจากการหดตัวของมดลูก มักเกิดขึ้นช่วงไตรมาสที่ 2 และไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยทุก ๆ 5-10 นาที ซึ่งจะปวดเป็นช่วง ๆ และไม่รุนแรง อาการปวดไม่สม่ำเสมอและสามารถหายได้เอง
  • ปัญหาการย่อยอาหาร เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน ที่ทำให้กล้ามเนื้อหูรูดหลอดอาหารคลายตัว รวมทั้งการบีบตัวของกระเพาะและลำไส้ลดลง ส่งผลให้มีอาการอาหารไม่ย่อย กรดไหลย้อน เสียดท้อง และปวดหน่วงบริเวณท้องน้อย
  • ท้องผูก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในขณะตั้งครรภ์ ทำให้สำไส้และระบบย่อยอาหารทำงานได้ลดลง ส่งผลให้ขับถ่ายยากขึ้น ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยได้
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ เป็นภาวะอันตรายที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากความผิดปกติที่เกิดจากรกส่งผลให้เกิดภาวะความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์จนอาจทำลายอวัยวะต่าง ๆ ของคุณแม่ที่ตั้งครรภ์ได้ เช่น ทำให้เกิดการอักเสบของตับ ทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องส่วนบนหรือใต้ชายโครงด้านขวา อาจจะมีมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น เห็นภาพซ้อน ปวดหัวรุนแรง คลื่นไส้ ปัสสาวะน้อย หายใจถี่ เป็นต้น ในกรณีที่เป็นครรภ์เป็นพิษรุนแรง
  • การแท้ง เกิดจากการบีบตัวของมดลูกเพื่อบีบไล่ชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ออกมาตามธรรมชาติ ทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยคล้ายปวดประจำเดือนรุนแรงได้ พร้อมกับมีเลือด ลิ่มเลือดหรือชิ้นส่วนการตั้งครรภ์ไหลออกจากช่องคลอด
  • การติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ เกิดขึ้นได้ง่ายในหญิงตั้งครรภ์ อาจทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยและเจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ บางรายอาจมีอาการปัสสาวะบ่อยมากขึ้น
  • ไส้ติ่งอักเสบ เกิดจากไส้ติ่งติดเชื้อซึ่งเป็นภาวะฉุกเฉินที่ต้องได้รับการรักษาอย่างเร่งด่วน อาจทำให้มีอาการปวดหน่วงท้องน้อยด้านขวาล่าง  อาจจะมีอาการปวดบริเวณใต้ลิ้นปี่หรือรอบ ๆ สะดือนำมาก่อน และอาจมีอาการ คลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วยได้
  • นิ่วในถุงน้ำดี อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนที่ส่งผลให้การทำงานของระบบย่อยอาหารช้าลงในขณะตั้งครรภ์ ส่งผลให้มีอาการปวดท้องน้อยใต้ชายโครงด้านขวา เสียดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน มีไข้ ไม่อยากอาหาร เป็นต้น

โดยสาเหตุดังกล่าวข้างต้นบางอย่างอาจพบในช่วงอายุครรภ์ที่ไม่เท่ากัน ขึ้นกับอาการและอาการแสดงของผู้ป่วยที่เกิดขึ้น

เมื่อไหร่ควรพบคุณหมอ

หากพบว่าอาการปวดหน่วงท้องน้อยรุนแรงขึ้น หรือมีอาการต่อไปนี้ร่วมด้วยควรเข้าพบคุณหมอทันที

  • ปวดท้องหรือหลังอย่างต่อเนื่องและรุนแรง
  • อาการปวดรุนแรงขึ้นในตอนกลางคืนหรือเมื่อนอนราบ
  • เจ็บปวดเมื่อปัสสาวะ
  • มดลูกหดตัวมีอาการท้องแข็งปั้ยนเจ็บที่ถี่และสม่ำเสมอมากขึ้นเรื่อย ๆ
  • ทารกในครรภ์เคลื่อนไหวลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยเฉพาะหลังจากอายุครรภ์ 28 สัปดาห์
  • มีอาการแสดงของการติดเชื้อใด ๆ ในท้อง เช่น ม่ีไข้ ท้องเสีย ถ่ายเหลว อาเจียน

วิธีบรรเทาอาการ ปวดหน่วงท้องน้อย ตั้งครรภ์

อาการปวดหน่วงท้องน้อยขณะตั้งครรภ์อาจบรรเทาได้ ดังนี้

  • ออกกำลังกาย เช่น โยคะ ออกกำลังกายอุ้งเชิงกราน ยืดกล้ามเนื้อ เพื่อช่วยเสริมความแข็งแรงและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อ และช่วยกระตุ้นการทำงานของลำไส้
  • แบ่งการรับประทานอาหารเป็นมื้อเล็ก ๆ หลายมื้อต่อวัน เพื่อให้ระบบย่อยอาหารสามารถย่อยและดูดซึมอาหารได้ดีขึ้น และช่วยป้องกันอาการเสียดท้อง กรดไหลย้อน อาหารไม่ย่อย ท้องผูก และท้องอืด
  • หลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารบางชนิด เช่น น้ำอัดลม ไขมันสูง ถั่ว กะหล่ำปลี เนื่องจากเป็นอาหารที่ทำให้เกิดแก๊สในกระเพาะอาหารได้ง่าย
  • นอนหลับให้เพียงพอประมาณ 7-9 ชั่วโมง/วัน เพื่อช่วยผ่อนคลายร่างกายและอาจช่วยลดอาการปวดหน่วงท้องน้อยได้

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Abdominal Pain and Pregnancy: What to Know. https://www.webmd.com/baby/abdominal-pain-and-pregnancy-what-to-know. Accessed December 16, 2022

Pregnancy Cramps. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-concerns/cramping-during-pregnancy/. Accessed December 16, 2022

Indigestion and heartburn in pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/related-conditions/common-symptoms/indigestion-and-heartburn/#:~:text=Indigestion%2C%20also%20called%20heartburn%20or,safe%20to%20take%20in%20pregnancy. Accessed December 16, 2022

Stomach pain in pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/related-conditions/common-symptoms/stomach-pain/#:~:text=Stomach%20(abdominal)%20pains%20or%20cramps,a%20poo%20or%20pass%20wind. Accessed December 16, 2022

Stomach Pain in Pregnancy. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/pregnancy-complications/abdominal-pain-during-pregnancy/. Accessed December 16, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

02/02/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

วัคซีนคนท้อง ที่ควรฉีด และวัคซีนที่คนท้องควรเลี่ยง

อาการคนท้องระยะแรก 1-2 สัปดาห์ เป็นอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/02/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา