backup og meta

ยามีลอกซิแคม ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกหรือไม่

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 12/03/2022

    ยามีลอกซิแคม ปลอดภัยสำหรับคุณแม่ที่ให้นมลูกหรือไม่

    ยามีลอกซิแคม เป็นยาในกลุ่มยาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ มักใช้บรรเทาอาการปวดข้อ แต่คุณแม่ตั้งครรภ์หรือคุณแม่ที่กำลังให้นมลูก หากจำเป็นต้องใช้ยามีลอกซิแคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องปรึกษาคุณหมอ เพื่อคุณหมอให้คำแนะนำในการกินและสั่งจ่ายยาในปริมาณที่เหมาะสม

    ยามีลอกซิแคม คืออะไร

    ยามีลอกซิแคม (Meloxicam) คือ ยาในกลุ่มยายาต้านการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (Non-Steroidal Anti-Inflammatory Drug – NSAID) ทำหน้าที่ลดฮอร์โมนที่ทำให้เกิดอาการอักเสบและอาการปวดในร่างกาย อาการปวดหรือการอักเสบที่เป็นผลมาจากโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ (Rheumatoid Arthritis) ในผู้ใหญ่ และข้อเสื่อม (Osteoarthritis) หรือข้ออักเสบรูมาตอยด์ในเด็ก (Juvenile Rheumatoid Arthritis) ในเด็กที่อายุต่ำกว่า 2 ปี อาจรักษาได้ด้วยยามีลอกซิแคม

    องค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (Food and Drug Administration) ได้จัดยามีลอกซิแคมไว้ที่กลุ่ม C สำหรับการตั้งครรภ์ 29 สัปดาห์แรก หลังจากนั้นจะถูกจัดไว้ในกลุ่ม D

    โดย ยาในกลุ่ม C คือ ยาที่ยังไม่เคยทดลองกับมนุษย์ แต่จากการทดลองกับสัตว์ พบว่า อาจมีผลข้างเคียง แม้ว่าผลข้างเคียงเหล่านั้นอาจจะไม่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ก็ตาม ส่วนยาที่อยู่ในกลุ่ม D คือ ยาที่เป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ เนื่องจากมีการพิสูจน์แล้วในคุณแม่ที่บริโภคยาในกลุ่มนี้ขณะตั้งครรภ์

    สำหรับผู้หญิงที่วางแผนมีลูกควรใช้ยามีลอกซิแคมอย่างระมัดระวังเช่นกัน เนื่องจาก การใช้ยามีลอกซิแคมร่วมกับยาบรรเทาอาการอักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์อื่น ๆ อาจชะลอการตกไข่ได้

    การตั้งครรภ์และยามีลอกซิแคม

    ยา NSAID อาจส่งผลกระทบต่อการเจริญพันธุ์ในผู้หญิง สำหรับผู้หญิงที่วางแผนจะตั้งครรภ์หรือมีปัญหามีบุตรยาก ควรหลีกเลี่ยงยาในกลุ่ม NSAID ส่วนในคุณแม่ตั้งครรภ์นั้น ยังไม่มีงานวิจัยที่แน่ชัดว่า ยามีลอกซิแคมปลอดภัยสำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์หรือไม่ ดังนั้น ยามีลอกซิแคมอาจจะปลอดภัยสำหรับช่วง 28 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ แต่ควรจะหยุดใช้ยานี้ตั้งแต่สัปดาห์ที่ 29 เป็นต้นไป ทั้งนี้ยังต้องมีการศึกษาเพิ่มเติม

    ผลข้างเคียงของยามีลอกซิแคม อาจทำให้เกิดภาวะคลอดล่าช้าหรือที่เรียกว่า เจ็บครรภ์คลอดนานเกินปกติ (Prolonged Labor) รวมถึงการตั้งครรภ์นานเกินกำหนด (Overdue Pregnancy) ยามีลอกซิแคมยังอาจถ่ายทอดผ่านทางรกและส่งผลกระทบต่อพัฒนาการของทารกในครรภ์ได้ด้วย โดยอาการที่พบได้บ่อย ได้แก่ ภาวะความดันหลอดเลือดปอดสูง (Pulmonary Hypertension) ในทารกแรกเกิด นอกจากนี้ ยามีลอกซิแคม และยา NSAID อื่น ๆ ยังอาจเป็นสาเหตุของอาการต่าง ๆ เหล่านี้

  • ภาวะน้ำคร่ำน้อย (Oligohydramnios)
  • ภาวะไตทำงานได้ลดลงก่อนคลอด (Fetal Renal Impairment)
  • ความผิดปกติของเกล็ดเลือดพิษต่อหัวใจและหลอดเลือด (Cardiopulmonary Toxicity Platelet Dysfunction)
  • มีเลือดออกที่ทางเดินอาหาร (Gastrointestinal)
  • มีเลือดออกภายในกระโหลกศีรษะ (Intracranial)
  • การให้นมบุตรและยามีลอกซิแคม

    สำหรับคุณแม่ผู้ให้นมลูก หากคุณหมอประเมินแล้วว่ายามีลอกซิแคมให้ประโยชน์มากกว่าโทษ ก็อาจสั่งจ่ายยานี้ให้กับคุณแม่ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่คุณแม่ต้องทนทรมานจากอาการปวดรุนแรง หากคุณแม่ที่กำลังให้นมลูกจำเป็นต้องใช้ยามีลอกซิแคมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ อาจต้องจำกัดความเสี่ยงจากการใช้ยา และปกป้องลูกจากผลข้างเคียงของยา โดยคุณหมออาจให้ยาในขนาดต่ำที่สุดที่ยังคงรักษาอาการได้อย่างมีประสิทธิภาพ

    นอกจากนี้ คุณแม่ควรวางตารางเวลาในการกินยามีลอกซิแคมให้แน่ชัด เว้นระยะระหว่างการกินยากับการให้นมลูกให้นานที่สุด ทั้งยังควรกินยานี้หลังจากที่ให้นมลูกเรียบร้อยแล้ว หรือขณะที่ลูกกำลังหลับ เพื่อให้แน่ใจว่าฤทธิ์ของยาหมดก่อนถึงเวลากินนมในมื้อต่อไป หากคุณแม่กินยามีลอกซิแคมเข้าไป โดยไม่รู้ว่าตัวเองกำลังตั้งครรภ์ ควรรีบปรึกษาคุณหมอทันที

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย pimruethai · แก้ไขล่าสุด 12/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา