backup og meta

ความเสี่ยงของการทำแท้งเอง มีอะไรบ้าง

ความเสี่ยงของการทำแท้งเอง มีอะไรบ้าง

การทำแท้งเอง นอกจากจะถือว่าเป็นเรื่องที่ยังไม่เป็นที่ยอมรับในสังคมส่วนใหญ่แล้ว ยังอาจนำมาซึ่งความเสี่ยงต่าง ๆ มากมาย ทั้งการทำแท้งไม่สมบูรณ์ การตกเลือด การติดเชื้อ แผลเป็น และอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาเกี่ยวกับความเสี่ยงของการทำแท้งเองให้ละเอียดถี่ถ้วน รวมถึงปรึกษาคุณหมอเพื่อหาทางออกที่เหมาะสมเพื่อความปลอดภัย

[embed-health-tool-ovulation]

ความเสี่ยงที่มาพร้อมกับการทำแท้งเอง

ความเสี่ยงต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นจากการทำแท้งเอง อาจมีดังนี้

  • การทำแท้งที่ไม่สมบูรณ์

การทำแท้งเป็นการทำให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง แต่การทำแท้งเองนั้นจะทำให้เนื้อเยื่อของทารกในครรภ์บางส่วนยังคงอยู่ในร่างกาย ซึ่งอาจก่อให้เกิดการเสียเลือด ติดเชื้อรุนแรง หรือเสียชีวิต ส่วนใหญ่แล้วผู้หญิงอาจจะไม่สามารถทราบได้ว่าการทำแท้งนั้นไม่สมบูรณ์ จนกว่าจะมีอาการรุนแรงเกิดขึ้น เช่น มีเลือดออกผิดปกติ ปวดท้องอย่างรุนแรง

  • เป็นพิษต่อตับ

การใช้ยาสมุนไพรหรือซื้อยาทำแท้งออนไลน์ เพื่อมาทำแท้งเองนั้นสามารถส่งผลกระทบที่ร้ายแรง เพราะอาจจะมีสารปนเปื้อนจากโลหะหนัก การกินสิ่งที่พิษจำนวนมากเข้าไปจะส่งผลทำให้ตับต้องทำงานอย่างหนัก เพื่อกรองสารพิษออกจากร่างกาย ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้ตับถูกทำลาย หรือตับวาย

การผ่าตัดทั้งหมดนั้นมีความเสี่ยงของการติดเชื้อ ดังนั้น การผ่าตัดในโรงพยาบาลจึงต้องมีการรักษาสภาพแวดล้อมให้ปลอดเชื้อให้ได้มากที่สุด แต่การทำแท้งเองนั้นบางครั้งอาจจะมีการใช้เครื่องมือบางอย่างสอดใส่เข้าไปผ่านปากมดลูก เพื่อเข้าไปยังมดลูก ซึ่งการทำเช่นนี้นี้ถือเป็นอันตรายอย่างมาก

การติดเชื้อในช่องคลอด ปากมดลูก หรือมดลูก นอกจากจะทำให้ร่างกายเกิดความเสียหาย มันยังทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากได้ด้วย นอกจากนั้น การติดเชื้อในบริเวณนี้ยังสามารถแพร่กระจายไปยังกระแสเลือด ทำให้เลือดเป็นพิษ ส่งผลต่อชีวิตได้ด้วย

  • อาการตกเลือด

อาการตกเลือด หมายถึง การสูญเสียเลือดมาก ซึ่งถ้าผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกอบรบทางการแพทย์มาทำแท้งให้โดยใช้การผ่าตัดอาจจะเสี่ยงต่อการถูกตัดเส้นเลือดใหญ่ จนทำให้เกิดเลือดออกภายใน โดยเลือดที่ออกภายในนั้นจะไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาจนกว่าจะเกิดอาการรุนแรงจนสายเกินไป รวมไปถึงปริมาณเลือดที่ออกมาจากร่างกายอาจจะควบคุมการเสียเลือดได้ยาก หากไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง

  • แผลเป็น

นอกจากการตกเลือดแล้ว การทำแท้งเองที่ใช้วิธีการผ่าตัดจากผู้ที่ไม่ได้รับการฝึกฝนทางการแพทย์ ยังอาจส่งผลให้เกิดแผลเป็น โดยรอยแผลเป็นที่เกิดขึ้นสามารถส่งผลกระทบต่ออวัยวะทั้งภายในและภายนอก ทั้งยังอาจส่งผลให้มีบุตรยาก และปัญหาอื่นๆ ที่อาจจะตามมาในภายหลัง

เมื่อได้ทราบถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้นจากการทำแท้งเองแล้ว ก็ไม่ควรที่จะตัดสินใจทำแท้งด้วยตัวเองไม่ว่าจะด้วยวิธีการใดทั้งสิ้น เพราะนอกจากจะส่งผลกับร่างกายแล้ว ยังอาจส่งผลต่อชีวิตได้ด้วย ดังนั้น ถ้าหากยังไม่พร้อมที่จะตั้งครรภ์ควรใช้วิธีการคุมกำเนิด รวมถึงการใช้ถุงยางอนามัยในการป้องกัน เมื่อต้องมีเพศสัมพันธ์จะเป็นการดีที่สุด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

First trimester medication abortion practice in the United States and Canada. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC5638562/. Accessed February 18, 2022.

A maternal death from self-induced medical abortion: a call for action. https://www.tandfonline.com/doi/abs/10.1080/13625187.2017.1390080. Accessed February 18, 2022.

Medical Abortion and the Risk of Subsequent Adverse Pregnancy Outcomes. https://www.nejm.org/doi/full/10.1056/NEJMoa070445. Accessed February 18, 2022.

Self reported outcomes and adverse events after medical abortion through online telemedicine: population based study in the Republic of Ireland and Northern Ireland. https://www.bmj.com/content/357/bmj.j2011. Accessed February 18, 2022.

Medical abortion. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/medical-abortion/about/pac-20394687. Accessed February 18, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

19/02/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

แท้งลูก วิธีรับมือกับอารมณ์ต่าง ๆ และการก้าวข้ามความสูญเสีย

แท้ง อาการ สาเหตุ และวิธีป้องกัน


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 19/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา