backup og meta

คนท้อง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เป็นเรื่องปกติหรือไม่

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    คนท้อง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เป็นเรื่องปกติหรือไม่

    อาการ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย ในช่วงตั้งครรภ์ อาจเป็นอาการที่พบได้บ่อย โดยผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกสูญเสียพลังงานจนร่างกายต้องการการพักผ่อน ในขณะที่ผู้หญิงบางคนอาจไม่ปากฏใด ๆ ให้เห็น ดังนั้น การรู้ถึงสาเหตุของการเกิดอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียช่วงตั้งครรภ์ รวมถึงวิธีบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งสำคัญที่อาจช่วยให้ผู้หญิงตั้งครรภ์ดูแลตัวเองได้อย่างถูกวิธี

    คนท้อง เหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย เกิดจากอะไร

    อาการเหนื่อยและอ่อนเพลียช่วงตั้งครรภ์อาจเกิดจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยเฉพาะฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน (Progesterone) ซึ่งมีบทบาทสำคัญที่ทำให้รู้สึกเหนื่อย เนื่องจากฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะเพิ่มขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ไตรมาสแรก นอกจากนี้ ปริมาตรเลือดในร่างกาย (Blood Volume) ที่เพิ่มขึ้นระหว่างตั้งครรภ์ ยังอาจส่งผลให้ชีพจรเต้นเร็วขึ้น รวมถึงการที่ระดับธาตุเหล็กต่ำลงก็อาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียช่วงตั้งครรภ์ได้

    โดยผู้หญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่จะมีอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียช่วงตั้งครรภ์ในช่วงไตรมาสแรก และอาการจะค่อย ๆ บรรเทาลงในช่วงไตรมาสที่ 2 ดังนั้น หากเกิดอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียในช่วงสัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ การนั่งพัก หรืองีบหลับซักพักก็อาจช่วยเพิ่มพลังงานให้กับร่างกายได้ โดยปกติอาการเหนื่อยล้าจะเกิดขึ้นอีกครั้งในช่วงไตรมาสที่ 3 จากการที่มดลูกมีขนาดใหญ่ขึ้นทำให้เริ่มมรีการกดเบียดกระบังลม ทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์หายใจได้ลำบากมากขึ้น

    วิธีบรรเทาอาการเหนื่อยง่าย อ่อนเพลียง่าย ตอนท้อง

    สำหรับคุณแม่ที่เพิ่งตั้งครรภ์เป็นครั้งแรกอาจต้องมีการศึกษาเกี่ยวกับวิธีรับมืออาการเหนื่อยและอ่อนเพลียช่วงตั้งครรภ์เอาไว้ เผื่อในกรณีเข้าสู่ช่วงไตรมาสที่ 3 อีกครั้ง จะทำให้ง่ายต่อการดูแลตัวเองมากขึ้น โดยวิธีบรรเทาอาการเหนื่อยและอ่อนเพลียช่วงตั้งครรภ์ อาจทำได้ดังนี้

  • รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น เนื้อสัตว์ ธัญพืช ผักและผลไม้ เนื่องจากอาหารที่ดีอาจช่วยทำให้ร่างกายแข็งแรง และอาจช่วยป้องกันอาการคลื่นไส้ด้วย
  • พักผ่อนระหว่างวัน หากอยู่ในที่ทำงาน แล้วมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลียอย่างมาก ให้ลองยืดเส้นยืดสาย และหายใจเข้าลึก ๆ หรืออาจจะลุกขึ้นไปเดินเล่น หาที่นั่งพักผ่อน งีบหลับ ประมาณ 5-10 นาทีเพื่อให้อาการดีขึ้น
  • ดื่มน้ำให้เพียงพอ อย่างน้อย 2 ลิตร/วัน เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ และก่อนนอนไม่ควรดื่มน้ำมาก เพื่อป้องกันการลุกขึ้นมาปัสสาวะในตอนกลางคืนที่อาจรบกวนการนอนหลับได้
  • ควรหลีกเลี่ยงการดื่มคาเฟอีน การดื่มเครื่องดื่มที่มีส่วนประกอบของคาเฟอีนตั้งแต่ช่วงเวลาหลังบ่าย 2 อาจรบกวนการนอนหลับได้
  • ใส่ใจสุขภาพจิต ผู้หญิงบางคนอาจรู้สึกไม่ดีที่ตัวเองไม่สามารถทุกอย่างได้เหมือนที่เคยทำ เพราะความเหนื่อยล้าทำให้เป็นอุปสรรคในการทำสิ่งต่าง ๆ ดังนั้น จึงควรระวังความเครียด และควรปรับไลฟ์สไตล์บางอย่าง เพื่อให้ได้พักผ่อนมากขึ้น เช่น อาจลดงานบางอย่างลง เพื่อให้มีเวลานอนหลับมากกว่าเดิมในช่วงตั้งครรภ์
  • หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา