backup og meta

ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 12/03/2022

    ความเครียดตอนท้อง ส่งผลอย่างไรต่อทารกในครรภ์

    ความเครียดตอนท้อง อาจทำให้ร่างกายสั่งการไปยังสมองให้หลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอลออกมา ซึ่งอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณแม่และทารกในครรภ์ในด้านต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นภาวะคลอดก่อนกำหนด พัฒนาการทางสมองของทารก ดังนั้น การจัดการกับความเครียดจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรให้ความใส่ใจ

    ความเครียดตอนท้อง

    ผู้หญิงที่มีอัตราความเครียดเรื้อรังสูง และอาจจัดการความเครียดได้ไม่ดีเท่าไหร่นัก ซึ่งอาจส่งผลทำให้ลูกมีน้ำหนักตัวแรกเกิดน้อย และอาจเกิดภาวะคลอดก่อนกำหนดได้ นอกจากนี้ ความเครียดเรื้อรังอาจส่งผลต่อพัฒนาการทางสมองของทารก ซึ่งอาจส่งผลต่อพฤติกรรมเมื่อเด็กเติบโตขึ้น โดยปัจจัยที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรคำนึกถึง คือ การจัดการกับความเครียดเรื้อรัง เช่น ความเครียดเรื่องการเงิน ความสัมพันธ์ อย่างไรก็ตาม ความเครียดตอนท้อง ถือเป็นเรื่องที่พบได้ทั่วไป คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรรู้สึกผิดเกี่ยวกับความเครียด แต่ควรหาวิธีจัดการกับความเครียดให้ได้มากที่สุด

    ฮอร์โมนคอร์ติซอลกับผลเสียต่อทารกในครรภ์

    เมื่อมีความเครียด ร่างกายจะเข้าเกิดปฏิกิริยาตอบสนองส่งผลให้สมองหลั่งฮอร์โมนแห่งความเครียดหรือฮอร์โมนคอร์ติซอล (Cortisol) ออกมา โดยฮอร์โมนแห่งความเครียดอาจทำให้หัวใจเต้นแรงขึ้น และร่างกายจะเข้าสู่ภาวะเตรียมพร้อมเอาชีวิตรอด หากสามารถจัดการกับความเครียดได้ ร่างกายก็จะกลับสู่สภาวะปกติ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนส่วนใหญ่รวมถึงคุณแมตั้งครรภ์มักจะมีความเครียดเรื้อรัง จนทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมา

    ดังนั้น หากคุณแม่ตั้งครรภ์มีระดับฮอร์โมนคอร์ติซอลสูง ก็อาจทำให้มีปริมาณน้ำคร่ำสูงกว่าปกติ นอกจากนี้ความเครียดตอนท้องของคุณแม่ยังอาจส่งผลกระทบต่อกระบวนการเรียนรู้ของทารกเมื่อโตขึ้น ทั้งยังอาจทำให้ทารกมีไอคิวต่ำกว่าอายุจริง

    วิธีบรรเทาความเครียดตอนท้อง

    คุณแม่ที่เครียดตอนท้องอาจหาวิธีผ่อนคลายเพื่อบรรเทาความเครียดที่เกิดขึ้นและทำให้ความเครียดส่งผลต่อร่างกายน้อยที่สุด โดยวิธีบรรเทาความเครียดที่อาจช่วยคุณแม่ตั้งครรภ์ได้ มีดังนี้

    1. อาจหัวเราะให้มาก ๆ

    เวลาหัวเราะสมองจะหลั่งฮอร์โมนแห่งความสุขออกมา จึงช่วยบรรเทาความเครียดได้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจหาภาพยนตร์ รายการตลก หรือคลิปวิดีโอตลก ๆ ดูเผื่อผ่อนคลายความเครียด

    2. อาจลดความเครียดด้วยการเดิน

    เวลาเครียดคุณแม่ตั้งครรภ์อาจจะไปเดินเล่นที่สวนสาธารณะ หรือเดินเล่นในห้างสรรพสินค้า การเดินจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกมีพลังมากขึ้น และช่วยบรรเทาความเครียดได้ ข้อควรระวัง คือ ไม่ควรเดินออกกำลังกายก่อนเวลาเข้านอน เพราะจะส่งผลต่อการนอน ทำให้นอนไม่หลับได้

    3. อาจดื่มน้ำเปล่าเยอะ ๆ

    ตอนตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะเสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำ ซึ่งอาจทำให้ป่วยได้ง่าย การดื่มน้ำนอกจากจะทำให้ร่างกายแข็งแรงแล้ว ยังช่วยบรรเทาความเครียดได้ด้วย เนื่องจากน้ำจะช่วยขับสารพิษที่เป็นต้นเหตุของความเครียดออกจากร่างกาย คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 2 ลิตร เพื่อป้องกันภาวะขาดน้ำ อาการบวมน้ำ และให้ร่างกายทำงานได้อย่างเป็นปกติ

    4. อาจงีบหลับ

    คุณแม่ตั้งครรภ์ควรหาเวลานั่งพักนิ่ง ๆ หรืองีบหลับในตอนกลางวัน วันละ 30 นาที เพื่อให้ร่างกายได้พักผ่อน ช่วยให้หายเหนื่อยล้าอ่อนเพลีย และช่วยบรรเทาความเครียด

    5. อาจแช่เท้าในน้ำอุ่น

    หลังจากที่ทำกิจกรรมต่าง ๆ มาทั้งวัน ไม่ว่าจะทำงานออฟฟิศ หรือทำงานบ้านจนรู้สึกเครียดและเหนื่อยล้า หากตั้งครรภ์ได้นั่งพักพร้อมแช่เท้าในน้ำอุ่น ประมาณ 20-30 นาที ก็อาจช่วยให้ผ่อนคลายและบรรเทาความเครียดได้

    6. นอนหลับให้เพียงพอ

    การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอ ก็เป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดความเครียดได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ควรใส่ใจกับการนอนหลับ ไม่กินน้ำตาลก่อนเข้านอน 2 ชั่วโมง ไม่ออกกำลังกายก่อนเข้านอน นอกจากนี้ ไม่ควรเล่นโทรศัพท์มือถือก่อนเข้านอน เพราะจะส่งผลต่อคุณภาพการนอนหลับ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจผ่อนคลายก่อนนอนด้วยการอ่านหนังสือ แทนการอ่านบทความหรือโพสต์ในโทรศัพท์ หรือเปลี่ยนมาฟังเพลงบรรเลงก่อนนอนเพื่อช่วยให้หลับง่ายขึ้น

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


    เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 12/03/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา