backup og meta

กรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์ บรรเทาอาการได้ด้วยวิธีใดบ้าง

กรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์ บรรเทาอาการได้ด้วยวิธีใดบ้าง

กรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์ ถือเป็นอีกหนึ่งปัญหาสุขภาพที่เป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน โดยปกติแล้ว หูรูดหลอดอาหารส่วนล่างจะปิดเพื่อป้องกันไม่ให้อาหารและกรดในกระเพาะอาหารไหลย้อนสู่หลอดอาหารได้ แต่ในช่วงตั้งครรภ์ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนจะส่งผลให้หูรูดคลายตัวและปิดไม่สนิท อาหารและกรดในกระเพาะอาหารจึงไหลย้อนขึ้นไปในหลอดอาหารได้ ส่งผลให้คุณแม่มีอาการแสบร้อนกลางอก ทั้งนี้ คุณแม่ตั้งครรภ์อาจหาวิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วยตนเอง

วิธีบรรเทาอาการกรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์

กรดไหลย้อนระหว่างตั้งครรภ์เป็นภาวะปกติที่เกิดขึ้นได้ แต่หากเกิดขึ้นมากกว่า 2 ครั้งต่อ 1 สัปดาห์ หรือรู้สึกทรมานมากกว่าปกติและส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำ อาจจำเป็นต้องปรึกษาคุณหมอ ในเบื้องต้นอาจลองปฏิบัติตามวิธีเหล่านี้เพื่อบรรเทาอาการ

1. ควบคุมมื้ออาหารประจำวัน

คุณแม่ตั้งครรภ์ควรรับประทานอาหารให้บ่อยขึ้น แต่ปรับปริมาณอาหารแต่ละมื้อให้น้อยลง วิธีนี้ยังเหมาะสมในการควบคุมน้ำหนักและคุมปริมาณอาหารในช่วงตั้งครรภ์ด้วย เพราะการรับประทานอาหารมากเกินไปจะไปกระตุ้นให้เกิดการหลั่งกรดที่มากขึ้น ส่งผลให้เกิดภาวะกรดไหลย้อนได้ง่ายขึ้น

หญิงตั้งครรภ์หลายคนคิดว่าการเพิ่มน้ำหนักดีต่อลูกในครรภ์ แต่ความจริงแล้ว พฤติกรรมนี้กลับให้ผลลัพธ์ในทางตรงกันข้าม เพราะนอกจากจะส่งผลให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นมากเกินควรแล้ว ยังเพิ่มแรงดันในกระเพาะอาหาร จนกระตุ้นให้เกิดอาการกรดไหลย้อนได้ด้วย

ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรแบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อเล็ก ๆ เพื่อช่วยให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ และไม่เกิดกรดไหลย้อน นอกจากนี้ การรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ก็ช่วยป้องกันการเกิดกรดไหลย้อนได้ ทั้งยังช่วยสร้างวินัยในการกินที่ดีในระหว่างตั้งครรภ์ด้วย

นอกจากการปรับพฤติกรรมการกินดังกล่าวแล้ว คุณแม่ตั้งครรภ์โดยเฉพาะในไตรมาสที่สามเป็นต้นไปที่มดลูกเริ่มมีขนาดใหญ่มากขึ้น กดเบียดกระเพาะอาหารมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงการนอนภายหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 30นาที ร่วมกับการนอนที่ยกศีรษะสูงขึ้นเล็กน้อย ก็จะช่วยลดโอกาสการเกิดกรดไหลย้อนได้

2. เคี้ยวหมากฝรั่งภายหลังรับประทานอาหารมื้อใหญ่

การเคี้ยวหมากฝรั่งมีประโยชน์ในการกำจัดกรดเกินในกระเพาะอาหาร หากรู้สึกแสบร้อนในอก ให้เคี้ยวหมากฝรั่งสักหนึ่งแท่ง และหากไม่อยากรับประทานน้ำตาลสังเคราะห์ ควรเลือกเคี้ยวหมากฝรั่งที่มีน้ำตาลน้อย หรือหมากฝรั่งปราศจากน้ำตาลแทน

3. นวดบำบัด

ผสมน้ำมันหอมระเหยกลิ่นมะนาว ส้ม หรือขิงสัก 3-4 หยดต่อน้ำมันตัวพา (carrier oil) เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันโจโจ้บา 1 ช้อนชา จากนั้นนวดน้ำมันลงบนบริเวณหน้าอกและหลังส่วนบนเบา ๆ  อาการกรดไหลย้อนจะค่อย ๆ หายไป

4. ธรรมชาติบำบัด

วิธีการบำบัดแบบพื้นบ้านโดยใช้ผลไม้หรือเครื่องดื่มธรรมชาติอาจช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนได้ เช่น

  • มะละกอ มะละกอสุกไม่ใช่แค่อร่อย แต่ยังมีประสิทธิภาพในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อนด้วย
  • อัลมอนด์ ลองรับประทานอัลมอนด์หลังมื้ออาหาร มีส่วนช่วยปรับสมดุลของกระเพาะอาหาร และช่วยเพิ่มแคลเซียมให้ร่างกาย
  • น้ำผึ้ง ดื่มนมอุ่นที่ผสมน้ำผึ้งหนึ่งช้อนชา นอกจากลดอาการแสบร้อนในทรวงอก ยังช่วยให้หลับสบาย

หากลองทำตามวิธีการข้างต้นแล้วไม่ได้ผล จำต้องปรึกษาไปหาคุณหมอ ซึ่งอาจจ่ายยาช่วยลดอาการกรดไหลย้อนที่ไม่เป็นอันตรายต่อเด็กในท้อง เช่น ยาในกลุ่ม proton-pump inhibitors (PPIs) หรือยายับยั้ง H2 blockers หรือยาที่ช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนฉับพลันเพิ่มเติม

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Heartburn (natural remedies). http://www.babycentre.co.uk/a549306/heartburn-natural-remedies. Accessed February 14, 2022.

12 Ways to Soothe Heartburn in Pregnancy. http://www.health.com/health/gallery/0,,20527766,00.html. Accessed February 14, 2022.

5 Ways to Reduce Heartburn During Pregnancy. http://www.fitpregnancy.com/nutrition/prenatal-nutrition/5-ways-reduce-heartburn-during-pregnancy. Accessed February 14, 2022.

What Is Acid Reflux Disease?. https://www.webmd.com/heartburn-gerd/guide/what-is-acid-reflux-disease. AAccessed February 14, 2022.

Indigestion and heartburn in pregnancy. https://www.nhs.uk/pregnancy/related-conditions/common-symptoms/indigestion-and-heartburn/. Accessed February 14, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/03/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

เคล็ดลับง่ายๆ ห่างไกลจากอาการกรดไหลย้อนตอนกลางคืน

คนท้องอาหารไม่ย่อย อาการ สาเหตุ และการรักษา


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 27/03/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา