backup og meta

โรคท็อกโซพลาสโมซิส ส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์

โรคท็อกโซพลาสโมซิส ส่งผลอย่างไรต่อการตั้งครรภ์

โรคท็อกโซพลาสโมซิส เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อปรสิตท็อกโซพลาสมา กอนดีไอ (Toxoplasma gondii) ซึ่งสามารถพบได้ในเนื้อสัตว์ นมที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ และอึของแมว โรคท็อกโซพลาสโมซิสอาจไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่ที่สุขภาพดี แต่หากแม่ตั้งครรภ์เป็นโรคท็อกโซพลาสโมซิส เชื้อปรสิตอาจถ่ายทอดไปสู่ทารกในครรภ์และอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์ได้ ดังนั้น คุณแม่ตั้งครรภ์จึงควรระมัดระวังไม่รับประทานอาหารที่ยังไม่ปรุงสุก ล้างมือทำความสะอาดเป็นประจำ รวมถึงควรหลีกเลี่ยงการทำความสะอาดกระบะทรายของแมวด้วยตัวเอง เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อ

[embed-health-tool-due-date]

โรคท็อกโซพลาสโมซิส คืออะไร

โรคท็อกโซพลาสโมซิส (Toxoplasmosis) เป็นการติดเชื้อปรสิตที่มีชื่อว่า ท็อกโซพลาสมา กอนดีไอ ซึ่งสามารถพบได้ในนมแพะที่ไม่ผ่านการพาสเจอร์ไรส์ เนื้อสัตว์ เช่น นก หนู หมู และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง กับสัตว์ตระกูลแมว เชื้อปรสิตจะอยู่ภายในอึของแมว และดินที่อาจจะมีอึแมวฝังอยู่

เชื้อท็อกโซพลาสมา กอนดีไอ สามารถติดต่อสู่สัตว์เลือดอุ่นและนกส่วนใหญ่ แต่เชื้อปรสิตประเภทนี้ จะสืบพันธุ์แค่ภายในตัวของสัตว์ตระกูลแมวเท่านั้น จึงทำให้สามารถพบเชื้อปรสิตได้ภายในอึของแมว และหากไปสัมผัสกับอึแมวนี้ อาจทำให้ติดเชื้อได้โดยไม่รู้ตัว

ตามปกติแล้ว ท็อกโซพลาสโมซิส อาจจะไม่ก่อให้เกิดอันตรายอะไรมาก หากเกิดขึ้นกับผู้ที่มีสุขภาพดี และมีภูมิคุ้มกันตามปกติ แต่โรคนี้อาจส่งผลให้เกิดอันตรายได้ หากเกิดกับคุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ เพราะเชื้อปรสิตเหล่านี้ อาจส่งผลกระทบโดยตรงต่อรก และทารกในครรภ์  

สัญญาณและอาการของ โรคท็อกโซพลาสโมซิส อาจจะสังเกตได้ค่อนข้างยาก หากคุณเป็นคนที่มีสุขภาพดี และมีภูมิคุ้มกันที่ปกติ โดยปกติแล้ว โรคท็อกโซพลาสโมซิสมักจะทำให้เกิดอาการป่วยเพียงเล็กน้อย ในบางครั้งอาจจะมีอาการต่อมบวม หรืออาการทั่ว ๆ ไป เช่น ปวดกล้ามเนื้อ เหนื่อยล้า ปวดหัว เป็นไข้ ผดผื่น เจ็บคอ แต่หากคุณแม่ตั้งครรภ์ติดเชื้อปรสิตประเภทนี้ อาจทำให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ และส่งผลให้เกิดความเสียหายในระยะยาวต่อระบบโครงสร้างและระบบประสาท ในขั้นร้ายแรงอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตภายในครรภ์ได้

ผลกระทบของโรคท็อกโซพลาสโมซิสต่อการตั้งครรภ์

ท็อกโซพลาสโมซิส อาจจะเป็นอันตรายอย่างยิ่ง หากเกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ แม้ว่าตามปกติแล้ว โอกาสในการติดเชื้อปรสิตชนิดนี้จะค่อนข้างน้อย และใช่ว่าการติดเชื้อนั้นจะต้องลุกลามไปถึงทารกในครรภ์ทุกครั้ง โดยเฉลี่ยแล้ว มีเพียงแค่ 4 ใน 10 ของผู้ที่ติดเชื้อนี้เท่านั้น ที่จะถ่ายทอดโรคนี้ไปสู่ทารกในครรภ์ ความเสี่ยงของการเกิดโรคท็อกโซพลาสโมซิสในช่วงตั้งครรภ์โดยส่วนใหญ่แล้ว จะขึ้นอยู่กับว่าติดเชื้อนี้ในช่วงเวลาใด

  • หากติดเชื้อในช่วงระยะแรกของการตั้งครรภ์ โอกาสในการลุกลามของเชื้อปรสิตไปยังทารกในครรภ์อาจจะค่อนข้างต่ำ แต่หากเกิดปัญหาขึ้น ก็มักจะเป็นปัญหาที่รุนแรงกว่า และอาจส่งผลให้ทารกเสียชีวิตในครรภ์และแท้งบุตรได้
  • หากติดเชื้อในช่วงระยะท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ โอกาสที่เชื้อปรสิตนั้นจะถ่ายทอดไปยังทารกในครรภ์อาจจะมีมากกว่า แต่ปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นนั้น อาจจะมีความรุนแรงน้อยกว่าในระยะแรกของการตั้งครรภ์

โรคท็อกโซพลาสโมซิสที่เกิดขึ้นระหว่างช่วงตั้งครรภ์ อาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตร หรือทำให้เกิดความเสียหายต่อสมองและอวัยวะอื่น ๆ ของทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับดวงตา

บ่อยครั้งที่คุณแม่ที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมซิสนั้นอาจจะไม่แสดงให้เห็นสัญญาณหรืออาการใด ๆ ของโรคนี้เลย จนกระทั่งคลอดลูกออกมา แต่ทารกที่คลอดมาจากคุณแม่ที่เป็นโรคท็อกโซพลาสโมซิสระหว่างตั้งครรภ์นั้น อาจมีโอกาสที่จะสูญเสียความสามารถในการเรียนรู้ การมองเห็น หรือการได้ยิน

การป้องกัน ท็อกโซพลาสโมซิส

ท็อกโซพลาสโมซิส อาจจะเป็นโรคที่ไม่ทำให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อผู้ที่มีสุขภาพดี และมีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่ก็อาจส่งผลให้เกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้ ดังนั้นทางที่ดีจึงควรทำการป้องกัน เพื่อไม่ให้คุณแม่ที่ตั้งครรภ์ เกิดติดเชื้อปรสิตประเภทนี้เข้าไป โดยมีเทคนิคและขั้นตอนง่าย ๆ ดังต่อไปนี้

  • รับประทานอาหารที่สุก คุณแม่ตั้งครรภ์ควรเลือกรับประทานอาหารที่มั่นใจว่าสะอาด สดใหม่ และปรุงสุกอยู่เสมอ ควรหลีกเลี่ยงอาหารกึ่งสุกกึ่งดิบที่อาจนำมาซึ่งความเสี่ยงในการติดเชื้อปรสิต
  • ล้างผลไม้ให้สะอาด ควรล้างเปลือกผลไม้ให้สะอาด และปอกเปลือกผักและผลไม้ทุกครั้งก่อนรับประทา เพื่อให้แน่ใจว่าจะไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อปรสิต
  • ทำความสะอาด ควรล้างเครื่องครัว จานชาม เคาน์เตอร์ทำอาหาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้ในการประกอบอาหารให้สะอาด โดยเฉพาะในบริเวณที่มีการสัมผัสกับเนื้อดิบ
  • สวมถุงมือทุกครั้งที่ต้องทำสวน สัมผัสกับดิน เนื่องจากในดินและทรายเหล่านี้อาจจะมีอึแมวปนเปื้อนอยู่ และอย่าลืมล้างมือด้วยน้ำสะอาดและสบู่ทุกครั้งหลังจากเสร็จภารกิจ
  • หากเป็นไปได้ คุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรที่จะเก็บอึแมวด้วยตนเอง แต่หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ควรสวมถุงมือ และอย่าลืมล้างมือให้สะอาดทุกครั้ง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Toxoplasmosis and pregnancy. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4046541/. Accessed 24 December 2019
What are the risks of toxoplasmosis during pregnancy? https://www.nhs.uk/common-health-questions/pregnancy/what-are-the-risks-of-toxoplasmosis-during-pregnancy/. Accessed 24 December 2019
Parasites – Toxoplasmosis (Toxoplasma infection) https://www.cdc.gov/parasites/toxoplasmosis/gen_info/pregnant.html. Accessed 24 December 2019
Toxoplasmosis in pregnancy https://www.tommys.org/pregnancy-information/pregnancy-complications/infections-pregnancy/toxoplasmosis-pregnancy. Accessed 24 December 2019

Toxoplasmosis. https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/toxoplasmosis/symptoms-causes/syc-20356249#:~:text=Toxoplasmosis%20(tok-so-plaz,to-child%20transmission%20during%20pregnancy. Accessed May 31, 2021.

เวอร์ชันปัจจุบัน

18/02/2022

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

สัตว์เลี้ยงเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ หรือไม่

โรคแมวข่วน อันตรายจากน้องเหมียวที่ควรระวัง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 18/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา