backup og meta

ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์
ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

พัฒนาการของทารกในครรภ์จะเริ่มต้นเมื่อไข่ผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก และเมื่อค่อย ๆ เจริญเติบโต ทารกจะเริ่มมีอวัยวะต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเกิดความสงสัยว่า ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์ จึงจะสามารถได้ยินเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ หรือเสียงเพลงที่คุณพ่อคุณแม่เปิดให้ฟัง โดยปกติแล้ว ทารกในครรภ์จะเริ่มมีหูในช่วงสัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์ และจะสมบูรณ์เต็มที่จนสามารถได้ยินเสียงประมาณสัปดาห์ที่ 16-35 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น การทราบถึงพัฒนาการในช่วงต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่ดูแลสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

ทารกจะเริ่มมีหูตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และจะค่อย ๆ พัฒนาจนสมบูรณ์เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือประมาณเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ โดยหูอาจประกอบด้วย 3 โครงสร้างที่จะพัฒนาไปตามลำดับ ดังนี้

  • การพัฒนาหูชั้นใน หูชั้นในของทารกจะเริ่มพัฒนาภายใน 5 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะเริ่มต้นจากการพัฒนาของเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของศีรษะ จากนั้น เนื้อเยื่อจะค่อย ๆ พับเข้าด้านใน มีลักษณะคล้ายหลอดยาวเป็นอวัยวะรูปหอยโข่ง หรือเรียกว่า คอเคลีย (Cochlea) ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของการได้ยิน
  • การพัฒนาหูชั้นกลาง เริ่มพัฒนาในช่วงประมาณ 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยเริ่มต้นจากเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรือเรียกว่า กระดูกหู ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถสั่นสะเทือนและช่วยประมวลเสียงต่าง ๆ
  • การเชื่อมต่อหูและสมอง ในช่วงประมาณ 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ จะเกิดเซลล์ขน (Hair Cells) ภายในคอเคลีย ซึ่งเป็นเซลล์รับความรู้สึก จากนั้นประมาณ 16 สัปดาห์ เซลล์ขนจะเชื่อมต่อกับเส้นประสาทเพื่อส่งเสียงกระตุ้นไปยังสมอง ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงเบา ๆ
  • การพัฒนาของหูสมบูรณ์เต็มที่ ช่องหูชั้นกลาง ช่องหูชั้นนอก และส่วนใบหูของทารกจะพัฒนาเต็มที่ภายใน 32-35 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ จึงทำให้ทารกได้ยินและตอบสนองต่อเสียงได้ทันที

พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

เมื่อโครงสร้างหูทุกส่วนของทารกในครรภ์พัฒนาอย่างเต็มที่ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงและสามารถตอบสนองต่อเสียงได้ ดังนี้

  • ประมาณสัปดาห์ที่ 16-22 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงเบา ๆ จากภายในร่างกาย เช่น เสียงการเต้นของหัวใจ เสียงหายใจ เสียงการย่อยอาหาร
  • ประมาณสัปดาห์ที่ 23 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงภายนอกร่างกายมากขึ้น โดยในช่วงนี้ทารกอาจได้ยินแค่โทนเสียงต่ำ แต่ทารกจะสามารถได้ยินเสียงของแม่อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นเสียงที่สามารถสะท้อนได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งทารกจะเริ่มเรียนรู้และจดจำเสียงของแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
  • ประมาณสัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์ เมื่อหูและสมองเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ ทารกจะได้ยินเสียงทั้งภายนอกและภายในร่างกายได้ชัดเจนมากขึ้น และเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน เช่น เตะ สะดุ้งตกใจ หัวใจเต้นแรง นอกจากนี้ การอัลตราซาวด์สามารถเห็นได้ว่าทารกอาจแสดงสีหน้าเมื่อได้ยินเสียง

วิธีป้องกันปัญหาการได้ยินของทารก

วิธีป้องกันปัญหาการได้ยินของทารกอาจทำได้ ดังนี้

  • ระมัดระวังการใช้ยาบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาอาจขัดขวางพัฒนาการของอวัยวะของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินได้
  • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ขณะตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเสียงที่ดังเกิน 115 เดซิเบล เนื่องจากเสียงที่ดังเกินไปอาจทำลายประสาทหูและการรับเสียงของทารกในครรภ์ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต สนามยิงปืน สถานที่ทำงานที่มีเสียงดัง
  • หลีกเลี่ยงการกินปลาที่มีสารปรอทสูง เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาอินทรีย์ เนื่องจากสารปรอทในระดับสูงอาจทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะพิการแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม ปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยในการพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตของทารก จึงควรเลือกกินปลาที่มีสารปรอทต่ำกว่า 8-12 ออนซ์/สัปดาห์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ปลอดภัย เช่น ปลาแซลมอน ปลาคอด ปลานิล
  • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์อาจเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะพิการแต่กำเนิด โดยทารกอาจสูญเสียการได้ยินและมีปัญหาในการพูดได้
  • การเปิดเพลง การฟังเพลง การพูดคุย เสียงจากสิ่งแวดล้อม หรือเปิดสื่อต่าง ๆ อาจช่วยพัฒนาการได้ยิน ความจำ และอารมณ์ของทารกได้ แต่ไม่ควรวางหูฟังไว้บนท้องโดยตรง เพราะเสียงอาจดังเกินไปจนเป็นอันตรายต่อทารก

[embed-health-tool-due-date]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

When can your baby hear you?. https://www.babycenter.com/pregnancy/your-baby/fetal-development-your-babys-hearing_20004866. Accessed August 26, 2022

Hearing in the Womb. https://lozierinstitute.org/dive-deeper/hearing-in-the-womb/. Accessed August 26, 2022

Baby Development Month By Month. https://americanpregnancy.org/healthy-pregnancy/week-by-week/baby-development-month-by-month/. Accessed August 26, 2022

Your Baby’s Growth and Development In the Third Trimester of Pregnancy. https://www.webmd.com/baby/pregnancy-your-babys-growth-development-months-7-to-9. Accessed August 26, 2022

Slideshow: Fetal Development Month by Month. https://www.webmd.com/baby/ss/slideshow-fetal-development. Accessed August 26, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

17/09/2022

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการตั้งครรภ์ และการดูแลตัวเอง

การตั้งครรภ์ก่อนวัยอันควร ความเสี่ยงสุขภาพที่อาจพบได้ และวิธีรับมือ


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 17/09/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา