backup og meta

ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร · สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 17/09/2022

    ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

    พัฒนาการของทารกในครรภ์จะเริ่มต้นเมื่อไข่ผสมกับอสุจิจนเกิดการปฏิสนธิกลายเป็นตัวอ่อนฝังตัวที่ผนังมดลูก และเมื่อค่อย ๆ เจริญเติบโต ทารกจะเริ่มมีอวัยวะต่าง ๆ พัฒนาขึ้นมาตามลำดับ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่อาจเกิดความสงสัยว่า ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์ จึงจะสามารถได้ยินเสียงพูดของคุณพ่อคุณแม่ หรือเสียงเพลงที่คุณพ่อคุณแม่เปิดให้ฟัง โดยปกติแล้ว ทารกในครรภ์จะเริ่มมีหูในช่วงสัปดาห์ที่ 5 ของการตั้งครรภ์ และจะสมบูรณ์เต็มที่จนสามารถได้ยินเสียงประมาณสัปดาห์ที่ 16-35 ของการตั้งครรภ์ ดังนั้น การทราบถึงพัฒนาการในช่วงต่าง ๆ ของการตั้งครรภ์ จะช่วยให้คุณแม่ดูแลสุขภาพของตัวเองและทารกในครรภ์ได้อย่างเหมาะสม

    ทารก เริ่ม มี หู ใน ช่วง อายุ กี่ สัปดาห์

    ทารกจะเริ่มมีหูตั้งแต่สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ และจะค่อย ๆ พัฒนาจนสมบูรณ์เมื่อเข้าสู่ไตรมาสที่ 3 หรือประมาณเดือนที่ 7-9 ของการตั้งครรภ์ โดยหูอาจประกอบด้วย 3 โครงสร้างที่จะพัฒนาไปตามลำดับ ดังนี้

  • การพัฒนาหูชั้นใน หูชั้นในของทารกจะเริ่มพัฒนาภายใน 5 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยจะเริ่มต้นจากการพัฒนาของเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นทั้ง 2 ข้างของศีรษะ จากนั้น เนื้อเยื่อจะค่อย ๆ พับเข้าด้านใน มีลักษณะคล้ายหลอดยาวเป็นอวัยวะรูปหอยโข่ง หรือเรียกว่า คอเคลีย (Cochlea) ซึ่งเป็นอวัยวะสำคัญของการได้ยิน
  • การพัฒนาหูชั้นกลาง เริ่มพัฒนาในช่วงประมาณ 8 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ โดยเริ่มต้นจากเนื้อเยื่อเล็ก ๆ ที่เกาะกลุ่มกันจนกลายเป็นก้อนแข็ง หรือเรียกว่า กระดูกหู ซึ่งเป็นโครงสร้างที่สามารถสั่นสะเทือนและช่วยประมวลเสียงต่าง ๆ
  • การเชื่อมต่อหูและสมอง ในช่วงประมาณ 12 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ จะเกิดเซลล์ขน (Hair Cells) ภายในคอเคลีย ซึ่งเป็นเซลล์รับความรู้สึก จากนั้นประมาณ 16 สัปดาห์ เซลล์ขนจะเชื่อมต่อกับเส้นประสาทเพื่อส่งเสียงกระตุ้นไปยังสมอง ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงเบา ๆ
  • การพัฒนาของหูสมบูรณ์เต็มที่ ช่องหูชั้นกลาง ช่องหูชั้นนอก และส่วนใบหูของทารกจะพัฒนาเต็มที่ภายใน 32-35 สัปดาห์ของการตั้งครรภ์ จึงทำให้ทารกได้ยินและตอบสนองต่อเสียงได้ทันที
  • พัฒนาการการได้ยินของทารกในครรภ์

    เมื่อโครงสร้างหูทุกส่วนของทารกในครรภ์พัฒนาอย่างเต็มที่ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงและสามารถตอบสนองต่อเสียงได้ ดังนี้

    • ประมาณสัปดาห์ที่ 16-22 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงเบา ๆ จากภายในร่างกาย เช่น เสียงการเต้นของหัวใจ เสียงหายใจ เสียงการย่อยอาหาร
    • ประมาณสัปดาห์ที่ 23 ของการตั้งครรภ์ ทารกจะเริ่มได้ยินเสียงภายนอกร่างกายมากขึ้น โดยในช่วงนี้ทารกอาจได้ยินแค่โทนเสียงต่ำ แต่ทารกจะสามารถได้ยินเสียงของแม่อย่างชัดเจน เนื่องจากเป็นเสียงที่สามารถสะท้อนได้ทั้งภายในและภายนอกร่างกาย ซึ่งทารกจะเริ่มเรียนรู้และจดจำเสียงของแม่ตั้งแต่อยู่ในครรภ์
    • ประมาณสัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์ เมื่อหูและสมองเชื่อมต่อกันอย่างสมบูรณ์ ทารกจะได้ยินเสียงทั้งภายนอกและภายในร่างกายได้ชัดเจนมากขึ้น และเริ่มตอบสนองต่อเสียงที่ได้ยิน เช่น เตะ สะดุ้งตกใจ หัวใจเต้นแรง นอกจากนี้ การอัลตราซาวด์สามารถเห็นได้ว่าทารกอาจแสดงสีหน้าเมื่อได้ยินเสียง

    วิธีป้องกันปัญหาการได้ยินของทารก

    วิธีป้องกันปัญหาการได้ยินของทารกอาจทำได้ ดังนี้

    • ระมัดระวังการใช้ยาบางชนิดในระหว่างตั้งครรภ์ เช่น ยาปฏิชีวนะ เนื่องจากยาอาจขัดขวางพัฒนาการของอวัยวะของทารกในครรภ์ ซึ่งอาจทำให้ทารกสูญเสียการได้ยินได้
    • หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่ที่มีเสียงดังเป็นเวลานาน ขณะตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงเสียงที่ดังเกิน 115 เดซิเบล เนื่องจากเสียงที่ดังเกินไปอาจทำลายประสาทหูและการรับเสียงของทารกในครรภ์ ดังนั้น จึงควรหลีกเลี่ยงสถานที่ที่มีเสียงดัง เช่น คอนเสิร์ต สนามยิงปืน สถานที่ทำงานที่มีเสียงดัง
    • หลีกเลี่ยงการกินปลาที่มีสารปรอทสูง เช่น ปลาแมคเคอเรล ปลาทูน่า ปลาอินทรีย์ เนื่องจากสารปรอทในระดับสูงอาจทำให้ทารกในครรภ์มีภาวะพิการแต่กำเนิด อย่างไรก็ตาม ปลาอุดมไปด้วยกรดไขมันโอเมก้า 3 ที่ช่วยในการพัฒนาสมองและการเจริญเติบโตของทารก จึงควรเลือกกินปลาที่มีสารปรอทต่ำกว่า 8-12 ออนซ์/สัปดาห์ ซึ่งเป็นปริมาณที่ปลอดภัย เช่น ปลาแซลมอน ปลาคอด ปลานิล
    • งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เนื่องจากการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในขณะตั้งครรภ์อาจเสี่ยงที่จะทำให้ทารกมีภาวะพิการแต่กำเนิด โดยทารกอาจสูญเสียการได้ยินและมีปัญหาในการพูดได้
    • การเปิดเพลง การฟังเพลง การพูดคุย เสียงจากสิ่งแวดล้อม หรือเปิดสื่อต่าง ๆ อาจช่วยพัฒนาการได้ยิน ความจำ และอารมณ์ของทารกได้ แต่ไม่ควรวางหูฟังไว้บนท้องโดยตรง เพราะเสียงอาจดังเกินไปจนเป็นอันตรายต่อทารก

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงรัชตภา นาเวศภูติกร

    สูตินรีเวชวิทยา · โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 17/09/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา