พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 นี้ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลทับทิม โดยจะหนักประมาณ 150 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า ในช่วงนี้ทารกอาจเริ่มมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว และไขมันจะสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักสองในสามของน้ำหนักตัว จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด ไขมันสะสมตามร่างกายนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารกในครรภ์
[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]
พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17
ทารกในครรภ์จะเติบโตอย่างไร
สำหรับพัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 17 นี้ ทารกในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ทารกอาจมีขนาดตัวเท่ากับผลทับทิม โดยจะหนักประมาณ 150 กรัม และสูงประมาณ 12 เซนติเมตร โดยวัดจากศีรษะถึงปลายเท้า
ในช่วงนี้ทารกอาจเริ่มมีไขมันสะสมอยู่ตามร่างกายแล้ว และไขมันจะสะสมในร่างกายอย่างต่อเนื่อง จนมีน้ำหนักสองในสามของน้ำหนักตัว จนกว่าจะถึงกำหนดคลอด ไขมันสะสมตามร่างกายนี้จะช่วยสร้างความอบอุ่นให้กับทารกในครรภ์
นอกจากนี้ หัวใจของทารกในครรภ์จะเต้นมากกว่าปกติ คือ ประมาณ 140-150 ครั้ง/นาที ซึ่งมากกว่าอัตราการเต้นของหัวใจของคุณแม่ตั้งครรภ์ถึง 2 เท่า ซึ่งเป็นสิ่งบ่งบอกว่าทารกในครรภ์กำลังเติบโตอย่างแข็งแรง ทั้งยังต้องการสารอาหารและออกซิเจนเป็นอย่างมาก ในช่วงสัปดาห์นี้ รกจะพัฒนาอย่างรวดเร็ว เพื่อจะได้ตอบสนองต่อความต้องการของทารกในครรภ์ได้อย่างเต็มที่
ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต
ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง
ฮอร์โมนต่าง ๆ อาจทำให้เลือดสูบฉีดไปที่เต้านมมากขึ้น เพื่อช่วยเตรียมเต้านมให้พร้อมสำหรับการให้นมบุตรจึงทำให้เต้านมของคุณแม่ตั้งครรภ์ขยายใหญ่ขึ้นอย่างต่อเนื่อง จนอาจทำรู้สึกอึดอัด ไม่สบายตัว รวมถึงอาจมองเห็นเส้นเลือดที่บริเวณเต้านมได้ชัดเจนขึ้นด้วย คุณแม่ตั้งครรภ์หลายคนอาจจำเป็นต้องซื้อเสื้อชั้นในใหม่ เพื่อให้พอดีกับเต้านมที่ขยายใหญ่ขึ้น โดยควรเลือกซื้อเสื้อในที่สวมใส่สบาย ไม่หลวม หรือคับจนเกินไป
ในช่วงไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ คุณแม่อาจรู้สึกอยากอาหารมากขึ้น อาการแพ้ท้องหรือคลื่นไส้อาเจียนที่เคยมีอาจหายไปจึงอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ได้อย่างหลากหลาย ส่งผลให้ทารกในครรภ์ได้รับสารอาหารที่มีประโยชน์ตามไปด้วย
โดยคุณแม่ตั้งครรภ์ไม่ควรกินอาหารรสจัด ไม่ว่าจะเป็นมัน เค็ม หวาน หรือเผ็ดจัด ควรรับประทายผักผลไม้ให้มาก ๆ เพื่อให้ทารกได้รับสารอาหารและวิตามินอย่างครบถ้วน
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าจะต้องรับประทานอาหารเพื่อทารกในครรภ์ด้วย แต่ก็ไม่ควรรับประทานอาหารมากจนเกินไป ควรจัดตารางการรับประทานอาหารให้ดี โดยรับประทานอาหารเพิ่มขึ้นวันละ 300 แคลอรี่ ควรหลีกเลี่ยงอาหารให้แคลอรี่ที่ไม่มีคุณค่าทางอาหาร เช่น น้ำอัดลม ซีเรียล ซอสพริก ซอสมะเขือเทศ มันฝรั่งทอดกรอบ
ควรระมัดระวังอะไรบ้าง
อุณหภูมิร่างกายที่เพิ่มขึ้น หรือปัญหาเหงื่อออกง่ายอาจทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์รู้สึกไม่สบายตัว หรือเป็นกังวลว่าอาจเป็นอันตรายกับทารกในครรภ์ แต่นี่ถือเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นกับคุณแม่ตั้งครรภ์ส่วนใหญ่
โดยวิธีรับมือเบื้องต้น คือ พยายามลดอุณหภูมิในร่างกายลง ด้วยการสวมใส่เสื้อผ้าหลวม ๆ อาบน้ำบ่อยขึ้น พกพัดหรือพัดลมมือถือติดตัวไว้ หลีกเลี่ยงการอยู่กลางแจ้งเป็นเวลานาน เลือดในร่างกายที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้ร่างกายสูบฉีดเลือดในอัตราที่เร็วขึ้น จึงอาจทำให้ผิวหนังรู้สึกร้อนผ่าวและแดงขึ้น
หากร่างกายระบายความร้อนไม่ทัน นอกจากจะทำให้คุณแม่ตั้งครรภ์มีปัญหาผิวหนัง เช่น ผดผื่น ยังอาจทำให้ทารกในครรภ์รู้สึกร้อนตามไปด้วย จนถึงขั้นเป็นอันตรายได้ เหงื่อที่ออกมากขึ้น อาจทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำมาก คุณแม่จึงควรดื่มน้ำให้มาก ๆ เพื่อชดเชยน้ำที่เสียไปกับเหงื่อและป้องกันภาวะขาดน้ำ
การพบคุณหมอ
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง
บางครั้งคุณแม่ตั้งครรภ์อาจรู้สึกวิงเวียนศีรษะ หน้ามืด เป็นลม ซึ่งถือเป็นอาการปกติที่เกิดได้ทั่วไป และไม่เป็นอันตราย แต่หากรู้สึกวิงเวียนศีรษะ คุณแม่ควรนอนตะแคงซ้าย แล้วงอเข่าให้สูงที่สุดเท่าที่จะทำได้ หรือนั่งงอเข่าแล้วก้มศีรษะให้อยู่ระหว่างหัวเข่าทั้ง 2 ข้าง สูดหายใจเข้าออกลึก ๆ คลายเสื้อผ้าออกให้สบายตัว เมื่ออาการดีขึ้นแล้วควรรับประทานอะไรรองท้อง หากมีอาการเหล่านี้บ่อย ๆ พักผ่อนแล้วอาการก็ยังไม่ดีขึ้น ควรรีบพบคุณหมอทันที
การทดสอบที่ควรรู้
ในการพบคุณหมอตามนัด คุณหมออาจให้ตรวจร่างกายตามรายการต่าง ๆ ดังนี้
- การชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
- การตรวจปัสสาวะ เพื่อหาระดับน้ำตาลและโปรตีน
- การวัดอัตราการเต้นของหัวใจ
- การวัดขนาดมดลูก โดยคุณหมอจะใช้มือคลำจากภายนอก
- การวัดความสูงของมดลูกส่วนบน
- การตรวจสอบอาการบวมของมือ เท้า และขา พร้อมทั้งดูว่ามีเส้นเลือดขอดหรือไม่
การตรวจสอบเหล่านี้ใช้เพื่อประเมินความคืบหน้าของการตั้งครรภ์ จึงถือเป็นเรื่องสำคัญที่ขาดไม่ได้ หากมีอาการใดๆ หรือมีข้อสงสัย หรือความกังวลเกี่ยวกับการตรวจใดๆ ควรปรึกษาคุณหมอทันที
สุขภาพและความปลอดภัย
ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์
- การเอกซเรย์
โดยทั่วไปแล้ว การเอ็กซ์เรย์ในช่วงตั้งครรภ์นั้นมีความปลอดภัย แต่ระดับความปลอดภัยนั้นขึ้นอยู่กับชนิดของการเอกซ์เรย์และปริมาณรังสีที่ใช้ ซึ่งการเอกซ์เรย์ส่วนใหญ่ได้รับการพิสูจน์แล้วว่า ไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ ต่อทารกในครรภ์
สิ่งที่คุณแม่ตั้งครรภ์ควรทราบ คือ การโดนรังสีมากเกินไป หรือการโดนรังสีที่มีความเข้มข้นสูง อาจเป็นอันตรายต่อทารกในครรภ์ และส่งผลให้ทารกที่คลอดออกมามีปัญหาสุขภาพ เช่น พัฒนาการทางด้านจิตใจบกพร่อง พิการแต่กำเนิด เป็นมะเร็งเม็ดเลือดขาวในเด็ก
- การออกกำลังกาย
คุณแม่ตั้งครรภ์ควรออกกำลังกายเป็นประจำสม่ำเสมอ แต่ควรออกกำลังกายแต่พอดี เลือกกิจกรรมเบา ๆ เช่น แอโรบิกในน้ำ เดินเล่น โยคะ แต่หากคุณแนะนำให้พักผ่อนอยู่แต่บนเตียง ไม่ให้เคลื่อนไหวร่างกาย ก็ควรทำตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด เพื่อความปลอดภัยต่อตัวคุณแม่และทารกในครรภ์