backup og meta

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 ของการตั้งครรภ์

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26 หรือประมาณเดือนที่ 6 ของการตั้งครรภ์ ช่วงนี้ขนาดท้องของคุณแม่อาจมีขนาดค่อนข้างใหญ่ตามขนาดตัวของทารกในครรภ์ที่เพิ่มขึ้น ทำให้อาจเคลื่อนไหวหรือเดินทางลำบากมากขึ้น อีกทั้งยังเสี่ยงต่อการหกล้มได้ง่ายขึ้น ดังนั้น คุณแม่จึงควรระมัดระวังทุกครั้งเมื่อเคลื่อนไหว หลีกเลี่ยงการเดินหรือเปลี่ยนท่าทางเร็ว ๆ เพราะอาจเสี่ยงต่อการหกล้มหรือเกิดอุบัติเหตุได้

[embed-health-tool-pregnancy-weight-gain]

พัฒนาการทารกในครรภ์ สัปดาห์ที่ 26

ลูกจะเติบโตอย่างไร

ตอนนี้ลูกน้อยในครรภ์ของคุณแม่มีขนาดเท่ามัดต้นหอม คือสูงจากศีรษะถึงปลายเท้าประมาณ 39 เซนติเมตร และหนักประมาณ 750 กรัม

ถึงแม้ดวงตาของทารกยังปิดอยู่ในช่วงสามเดือนสุดท้ายนี้ แต่ในไม่ช้าก็จะลืมตาขึ้นแล้วกระพริบตา เด็กบางคนก็จะมีตาดำ บางคนที่มีตาสีน้ำตาล ซึ่งจะขึ้นอยู่กับเชื้อชาติ นอกจากนี้ ดวงตาอาจเปลี่ยนสีได้ในช่วงปีแรก และเด็กบางคนก็จะเกิดมาพร้อมกับดวงตาสีเข้ม มากไปกว่านั้น ขนตาและเส้นผมก็ยังเจริญเติบโตต่อไปด้วย

ความเปลี่ยนแปลงของร่างกายและรูปแบบการใช้ชีวิต

ร่างกายจะเปลี่ยนไปอย่างไรบ้าง

มดลูกของคุณแม่คือแดนสวรรค์อันปลอดภัยสำหรับลูกน้อยก่อนที่จะลืมตาดูโลก แต่เขาก็ต้องย้ายเข้าสู่บ้านใหม่หลังคลอด ฉะนั้น ใช้เวลานี้ดูแลเรื่องความปลอดภัยของบ้านก่อนที่เขาจะเกิดขึ้นมา ซึ่งมีขั้นตอนในการตรวจสอบความปลอดภัยสำหรับเด็กอยู่นะ โดยอาจหาอุปกรณ์มาครอบปลั๊กไฟ อะไรที่อาจทำให้เด็กสำลักได้ก็เอาออกไป ติดตั้งระบบตรวจสอบควัน และปิดกั้นช่องว่างตรงบันไดเอาไว้ คุณแม่ควรทำการป้องกันทุกอย่างเท่าที่นึกออก แล้วโปรดจำไว้ด้วยนะว่า การป้องกันใด ๆ ก็ไม่สามารถนำมาทดแทนการเฝ้าระวังลูกของคุณแม่ได้

ควรระมัดระวังอะไรบ้าง

คุณแม่จะรู้สึกร่างกายไม่ค่อยมั่นคงและชอบเดินสะดุดโน่นนี่บ่อย ๆ เวลาที่อยู่ในช่วงไตรมาสที่สองนี้ ก็มีปัจจัยโน่นนี่มากมายที่ทำให้เกิดการหกล้ม เมื่อหน้าท้องของคุณแม่ใหญ่ขึ้น ก็ทำให้จุดศูนย์ถ่วงของร่างกายเปลี่ยนไป ซึ่งอาจทำให้เกิดโอกาสหกล้มไปข้างหน้าได้

นอกจากนี้อาการเหนื่อยอ่อนยังทำให้คุณแม่รู้สึกเบลอ ๆ และขาดความระมัดระวัง ซึ่งอาจทำให้คุณแม่มองอะไรไม่ชัด ซึ่งจะทำให้เกิดการหกล้มได้ง่าย

การพบคุณแม่หมอ

ควรปรึกษาคุณหมออย่างไรบ้าง

คุณแม่จะเริ่มเห็นรอยแตกลายและผิวหนังหย่อนคล้อย ที่อาจทำให้มีอาการคันมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้รู้สึกไม่สบายใจได้ แต่คุณแม่ควรมองอะไรในแง่ดี เพราะคุณแม่เหลือเวลาแค่สามเดือนก่อนจะคลอดเท่านั้น ผิวหนังหย่อนคล้อยในระหว่างตั้งครรภ์มักจะเกิดขึ้นในบริเวณที่มีผิวแตกลายแถว ๆ หน้าท้อง ต้นขา บั้นท้าย และแขน โดยควรปรึกษาคุณแม่หมอ หากคุณแม่มีปัญหากับบริเวณที่มีผิวหนังหย่อนคล้อยหรือรอยแตกลาย

การทดสอบใดที่ควรรู้

ในเดือนนี้จะมีการตรวจสอบใหม่ ๆ เกิดขึ้นหลายอย่าง เวลาที่อยู่ในช่วยไตรมาสนี้ คุณแม่หมออาจแนะนำให้คุณแม่ทำการตรวจสอบหลายอย่าง ได้แก่

  • ชั่งน้ำหนักและวัดความดันโลหิต
  • ตรวจปัสสาวะเพื่อหาค่าน้ำตาลและโปรตีน
  • วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
  • วัดขนาดมดลูกโดยการคลำจากภายนอก เพื่อดูว่าใกล้ถึงกำหนดคลอดหรือยัง
  • วัดความสูงของยอดมดลูก
  • การตรวจสอบอาการบวมของมือและเท้า และอาการเส้นเลือดขอด
  • การตรวจระดับน้ำตาล
  • การตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีภาวะโลหิตจางหรือไม่
  • การฉีดวัคซีนป้องกันโรคคอตีบ
  • สภาพที่เป็นอยู่ก่อนหน้านี้ โดยเฉพาะอาการผิดปกติต่างๆ
  • จัดเตรียมรายการข้อสงสัยและปัญหาที่คุณแม่อยากซักถามคุณแม่หมอไปให้พร้อม

สุขภาพและความปลอดภัย

ควรทำอย่างไรเพื่อให้สุขภาพดีและปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์

  • อาการบวม

หน้าท้องไม่ได้เป็นอวัยวะเดียวที่จะมีขนาดใหญ่ขึ้นในระหว่างการตั้งครรภ์ แต่เท้าและข้อเท้าของคุณแม่ก็จะบวมขึ้นด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงเย็น ๆ อาการบวมนี้ไม่มีอันตรายอะไร แต่จะรบกวนการใช้ชีวิตของคุณแม่อยู่บ้าง เช่น อาจทำให้คุณแม่ใส่รองเท้าได้ยากขึ้น แหวนอาจจะคับขึ้นและถอดออกจากนิ้วได้ยาก

อาการบวมนิดหน่อยของเท้า ข้อเท้า และมือ ถือเป็นเรื่องปกติ ซึ่งมีสาเหตุมาจากมีของเหลวที่จำเป็นในการตั้งครรภ์เพิ่มขึ้น ซึ่งมีผู้หญิง 75% เกิดอาการบวมในระหว่างตั้งครรภ์ และส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงสัปดาห์ที่ 26 อาการบวมจะแย่ลงถ้าอากาศร้อน หรือใช้เวลายืนหรือนั่งเป็นเวลานาน ๆ และอาการบวมก็อาจจะไม่ได้หายไปหลังจากนอนพักสองสามชั่วโมง หรือนอนพักผ่อนในตอนกลางคืน

  • การสัก

การสักไม่เหมาะสำหรับคนท้องเป็นอย่างยิ่ง และคงไม่ใช่เวลาที่ควรจะสักในตอนนี้ ซึ่งคุณแม่ควรจะระมัดระวังในเรื่องต่อไปนี้

  • โรคไวรัสตับอักเสบชนิดบีและโรคเอดส์ เป็นโรคติดต่อผ่านทางสารคัดหลั่งของร่างกายได้ ซึ่งหมายความว่าการใช้เข็มสกปรก ๆ ก็อาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้ และถ้าคุณแม่ตั้งครรภ์อยู่ ก็จะติดต่อไปยังลูกน้อยที่อยู่ในครรภ์ด้วย
  • นักวิทยาศาสตร์ยังไม่รู้ว่าหมึกที่ใช้สักนั้น จะส่งผลต่อพัฒนาการของเด็กในท้องหรือไม่ แต่สารเคมีในปริมาณเล็กน้อยแม้จะไม่ส่งผลที่เป็นอันตรายต่อผู้ใหญ่ แต่อาจส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์เป็นอย่างมาก
  • เนื่องจากผิวหนังจะขยายตัวในช่วงตั้งครรภ์ ดังนั้นรอยสักจึงอาจเปลี่ยนแปลงไปด้วยหลังคลอด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Poppy seed to pumpkin: How big is your baby? http://www.babycenter.com/slideshow-baby-size. Accessed date. 30/03/2015.

Pregnancy calendar week 26. http://kidshealth.org/parent/pregnancy_center/pregnancy_calendar/week26.html. Accessed date. 30/03/2015.

Your pregnancy: 26 weeks. http://www.babycenter.com/6_your-pregnancy-26-weeks_1101.bc. Accessed date. 30/03/2015.

Week-by-week guide to pregnancy. https://www.nhs.uk/start4life/pregnancy/week-by-week/1st-trimester/week-6/. Accessed 28, 2022

26 weeks pregnant. https://raisingchildren.net.au/pregnancy/week-by-week/second-trimester/26-weeks. Accessed 28, 2022

Pregnancy at week 26. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/pregnancy-at-week-26. Accessed 28, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/08/2022

เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

คนท้องนอนไม่หลับ อาการในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์

คลอดลูกง่าย เป็นไปได้จริงหรือ มีเคล็ดลับอะไรที่คุณแม่ควรรู้


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 29/08/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา