backup og meta

น้ำคาวปลา กี่วันหมด และวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลา กี่วันหมด และวิธีการดูแลตัวเองหลังคลอด

น้ำคาวปลา กี่วันหมด อาจเป็นคำถามที่คุณแม่หลังคลอดหลายคนสงสัย โดยปกติน้ำคาวปลาจะค่อย ๆ หมดไปเมื่อแผลบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกค่อย ๆ สมานตัว ซึ่งอาจใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ หรือนานกว่านั้นขึ้นอยู่กับการดูแลตัวเองของคุณแม่หลังคลอดด้วย

[embed-health-tool-due-date]

น้ำคาวปลา คืออะไร กี่วันหมด

น้ำคาวปลา คือ ของเหลวที่ถูกขับออกหลังคลอดประกอบด้วยเลือด เนื้อเยื่อที่หลั่งออกจากเยื่อบุโพรงมดลูกและแบคทีเรีย ในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด น้ำคาวปลาจะมีปริมาณมาก มีสีแดงสดเนื่องจากมีเลือดผสมอยู่มากและมีลิ่มเลือดเล็ก ๆ ไหลออกมาทางช่องคลอด หลังจากผ่านไปประมาณ 10 วัน แผลบริเวณเยื่อบุโพรงมดลูกจะค่อย ๆ ลดขนาดลง น้ำคาวปลาและเลือดก็จะค่อย ๆ ลดปริมาณลงและอาจเปลี่ยนเป็นสีชมพู สีน้ำตาล สีครีมหรือสีเหลือง โดยปกติจะใช้เวลาประมาณ 4-6 สัปดาห์ น้ำคาวปลาก็จะหมดไป

วิธีดูแลตัวเองขณะมีน้ำคาวปลา

หลังจากคลอดบุตรควรใช้ผ้าอนามัยแผ่นใหญ่ชนิดหนา หรือผ้าอนามัยแบบกางเกงเพื่อรองรับเลือดและน้ำคาวปลาที่ไหลออกมามากในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด เมื่อเวลาผ่านไปและปริมาณน้ำคาวปลาเริ่มลดลง คุณแม่สามารถเปลี่ยนมาใช้ผ้าอนามัยแผ่นเล็กลงได้ แต่ไม่ควรใช้ผ้าอนามัยแบบสอดเป็นระยะเวลาอย่างน้อย 6 สัปดาห์ เพราะอาจเสี่ยงติดเชื้อในช่องคลอดและอาจทำให้มดลูกกลับมาเป็นปกติช้าลง

นอกจากนี้ คุณแม่ควรปัสสาวะให้บ่อยขึ้นแม้ว่าจะไม่รู้สึกปวดปัสสาวะก็ตาม โดยเฉพาะในช่วง 2-3 วันแรกหลังคลอด คุณแม่อาจรู้สึกปวดปัสสาวะน้อยลงถึงแม้ว่ากระเพาะปัสสาวะจะเต็ม และหากปล่อยให้กระเพาะเต็มบ่อย ๆ อาจทำให้มดลูกหดตัวได้ยากขึ้น เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะตกเลือดหลังคลอด และมีอาการปวดหลัง

การตกเลือดหลังคลอดและลักษณะน้ำคาวปลาที่ผิดปกติ

การตกเลือดหลังคลอด เป็นความผิดปกติร้ายแรงที่อาจทำให้เสียเลือดปริมาณมากจนทำให้ความดันโลหิตลดลง ซึ่งอาจส่งผลให้อวัยวะไม่ได้รับเลือดอย่างเพียงพอและอาจนำไปสู่การเสียชีวิตได้ สาเหตุที่พบบ่อยอาจเกิดจากกล้ามเนื้อมดลูกหดรัดตัวไม่ดี หรือมีภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกมดลูกอักเสบติดเชื้อ เนื่องจากการที่มดลูกไม่หดตัวกลับมาเป็นปกติเท่าที่ควร คือ สูง 7-8 เซนติเมตร กว้าง 4-5 เซนติเมตร หนา 3-4 เซนติเมตร จะทำให้เกิดการตกเลือดมาก หรือหากเคยตกเลือดหลังคลอดมาก่อน ก็อาจมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดซ้ำได้ นอกจากนี้ยังอาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ เช่น

  • การคลอดยากและใช้เวลาคลอดนาน
  • การคลอดลูกแฝด
  • ทารกมีขนาดตัวใหญ่กว่า 3 กิโลกรัม
  • เคยผ่านการคลอดบุตรมาแล้วหลายครั้ง
  • มดลูกแตก มดลูกฉีกขาดระหว่างคลอด
  • การผ่าคลอด เพิ่มความเสี่ยงตกเลือดหลังคลอด
  • การใช้ยาออกซิโตซิน (Oxytocin) ในระยะเวลานานเพื่อกระตุ้นให้มดลูกบีบตัวได้ดีในระหว่างการคลอด
  • ภาวะครรภ์เป็นพิษ
  • โรคอ้วน

สำหรับลักษณะของน้ำคาวปลาและอาการผิดปกติที่ควรรีบเข้าพบคุณหมอ มีดังนี้

  • อาการตกเลือดหลังคลอดดีขึ้นแล้ว แต่ก็กลับมามีเลือดไหลเพิ่มขึ้นอีก
  • เลือดยังเป็นสีแดงสดหลังคลอดลูกแล้วเกิน 1 สัปดาห์
  • เลือดไหลออกมามากอย่างต่อเนื่องและต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุก ๆ 2 ชั่วโมง
  • ลิ่มเลือดที่ใหญ่ผิดปกติหรือมีขนาดใหญ่กว่าลูกพลัม
  • ตาพร่ามัว
  • ผิวชื้น หนาวสั่น
  • เวียนหัว หน้ามืด หัวใจเต้นเร็ว ใจสั่น
  • อ่อนแรง
  • คลื่นไส้

น้ำคาวปลาอาจมีกลิ่นเฉพาะคล้ายกับกลิ่นเลือดประจำเดือน แต่หากสังเกตว่าน้ำคาวปลามีกลิ่นเหม็นมากร่วมกับอาการไข้และหนาวสั่น ควรรีบเข้าพบคุณหมอทันที เพราะอาจเป็นสัญญาณของการติดเชื้อหลังคลอด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

สารพัดความเชื่อของแม่ท้อง ตอนที่ 2. https://www.si.mahidol.ac.th/th/healthdetail.asp?aid=427. Accessed February 21, 2022

Bleeding after birth: 10 things you need to know. https://www.nct.org.uk/life-parent/your-body-after-birth/bleeding-after-birth-10-things-you-need-know. Accessed February 21, 2022

Postpartum bleeding and discharge: Lochia. https://www.babycenter.com/baby/postpartum-health/postpartum-normal-bleeding-and-discharge-lochia_11722. Accessed February 21, 2022

Vaginal Bleeding After Birth: When to Call a Doctor. https://www.webmd.com/women/vaginal-bleeding-after-birth-when-to-call-doctor. Accessed February 21, 2022

Labor and delivery, postpartum care. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/labor-and-delivery/in-depth/postpartum-care/art-20047233. Accessed February 21, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

09/08/2023

เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

อยู่ไฟ การดูแลสุขภาพหลังคลอดแบบไทยๆ คืออะไร

คนท้อง อาการและการดูแล


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงสุจิณันฐ์ นันทาภิวัธน์

สุขภาพทางเพศ · โรงพยาบาลนครพิงค์


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 09/08/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา