backup og meta

วิตามินก่อนคลอด สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

วิตามินก่อนคลอด สำคัญต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร

วิตามินก่อนคลอด หรือวิตามินบำรุงครรภ์ เป็นอาหารเสริมสำหรับผู้หญิงที่เตรียมตัวตั้งครรภ์ และผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์ เพื่อช่วยให้ร่างกายได้รับสารอาหารครบถ้วนมากขึ้น เพราะการรับประทานอาหารอย่างเดียวในแต่ละวันอาจจะไม่เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย ช่วยบำรุงสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์รวมทั้งช่วยบำรุงสุขภาพของทารกในครรภ์ด้วย

ทำความรู้จักกับ วิตามินก่อนคลอด (Prenatal Vitamins)

วิตามินก่อนคลอด หรือ วิตามินบำรุงครรภ์ (Prenatal Vitamins) เป็นอาหารเสริมที่มีวิตามินและแร่ธาตุที่ร่างกายต้องการทั้งก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ เพราะการรับประทานอาหารอย่างเดียวอาจจะยังไม่เพียงพอ สำหรับหญิงตั้งครรภ์บางรายอาจจำเป็นที่จะต้องรับประทานอาหารเสริมเพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารสำคัญหรือวิตามินอย่างเพียงพอ นอกจากนี้ วิตามินก่อนคลอดจะช่วยในการป้องกันความผิดปกติที่อาจเกิดกับทารกในครรภ์อีกด้วย

ทำไมวิตามินก่อนคลอดจึงสำคัญ

ในระหว่างการตั้งครรภ์ ร่างกายจะต้องการกรดโฟลิกและธาตุเหล็กมากกว่าปกติเนื่องจากเหตุผลดังต่อไปนี้

  • กรดโฟลิก (Folic acid)

กรดโฟลิก เป็นวิตามินที่สำคัญที่สุดเมื่อวางแผนจะตั้งครรภ์ เพราะเป็นวิตามินบีที่เซลล์ในร่างกายต้องการ เพื่อช่วยในการเจริญเติบโตและพัฒนาของทารกในครรภ์

การรับประทานกรดโฟลิก 400 ไมโครกรัมต่อวันเป็นเวลาอย่างน้อย 1 เดือน ก่อนและระหว่างตั้งครรภ์ สามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดปัญหาเกี่ยวกับสมองและกระดูกสันหลัง ที่เรียกว่า ข้อบกพร่องของระบบประสาท (NTDs) ของทารกได้ ซึ่งข้อบกพร่องเหล่านี้เป็นความผิดปกติอย่างร้ายแรงต่อสมองของทารกในครรภ์ รวมถึงไขสันหลังด้วย

สำหรับผู้ที่กำลังวางแผนตั้งครรภ์ ควรเริ่มรับประทานกรดโฟลิกอย่างน้อย 3 เดือนก่อนตั้งครรภ์ หรือผู้หญิงบางคนที่เคยตั้งครรภ์ หากเคยได้รับผลกระทบจากโรคไตวายเรื้อรัง ร่างกายจำเป็นต้องได้รับกรดโฟลิกมากขึ้น

  • ธาตุเหล็ก (Iron)

ธาตุเหล็กจะช่วยส่งเสริมพัฒนาการของรกและทารกในครรภ์ นอกจากนั้น ยังช่วยให้ร่างกายสร้างเลือด เพื่อส่งออกซิเจนไปยังทารกในครรภ์ ที่สำคัญ ธาตุเหล็กยังช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ซึ่งเป็นสภาวะที่เลือดมีจำนวนเซลล์เม็ดเลือดแดงต่ำ

อย่างไรก็ตามในการรับประทานวิตามินก่อนคลอดหรืออาหารเสริมใดใด ควรปรึกษาคุณหมอและขอคำแนะนำสำหรับข้อควรปฏิบัติเมื่อต้องการรับประทานวิตามิน เพื่อความปลอดภัยต่อสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์และทารกด้วย

เมื่อไหร่ที่ควรจะเริ่มรับประทานวิตามินก่อนคลอด

สำหรับระยะเวลาที่ควรรับประทานวิตามินก่อนคลอดคือ อย่างน้อย 1 เดือนก่อนเริ่มตั้งครรภ์ เพราะในช่วง 2-3 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์เป็นช่วงเวลาที่สำคัญมากสำหรับสุขภาพและพัฒนาการของทารกในครรภ์ การรับประทานกรดโฟลิกและวิตามินก่อนคลอด สามารถช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดข้อบกพร่องต่าง ๆ แก่ทารกในครรภ์ได้ นอกจากนั้น ควรรับประทานวิตามินก่อนคลอดตลอดระยะเวลาการตั้งครรภ์ ทั้งนี้ ควรปรึกษาคุณหมอถึงวิตามินก่อนคลอดที่ควรรับประทานในแต่ละไตรมาสของการตั้งครรภ์ ไม่ควรรับประทานวิตามินก่อนคลอดหรือยาชนิดใด ๆ ก็ตามโดยไม่ปรึกษาคุณหมอก่อน

วิตามินก่อนคลอดมีผลข้างเคียงอะไรบ้าง

วิตามินก่อนคลอดอาจส่งผลข้างเคียงต่อสุขภาพได้ เช่น ธาตุเหล็กในวิตามินก่อนคลอดอาจทำให้เกิดอาการท้องผูก ดังนั้น เพื่อป้องกันอาการท้องผูกที่อาจจะเกิดขึ้น ควรทำดังนี้

  • ดื่มน้ำมากๆ
  • เพิ่มไฟเบอร์ในอาหารให้มากขึ้น
  • ออกกำลังกายในกิจวัตรประจำวัน

นอกจากอาการท้องผูกที่อาจเกิดขึ้นจากวิตามินก่อนคลอดแล้ว บางรายอาจมีอาการคลื่นไส้ร่วมด้วย ดังนั้น ถ้าหากเกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้น ควรปรึกษากับคุณหมอผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับการเปลี่ยนยี่ห้อหรือประเภทของวิตามินเพื่อความปลอดภัย

[embed-health-tool-due-date]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Prenatal vitamins: Why they matter, how to choose. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/pregnancy-week-by-week/in-depth/prenatal-vitamins/art-20046945. Accessed April 6, 2022.

What are prenatal vitamins?. https://www.plannedparenthood.org/learn/pregnancy/pre-pregnancy-health/what-are-prenatal-vitamins. Accessed April 6, 2022.

Prenatal Vitamins Side Effects and Types. https://www.medicinenet.com/prenatal_vitamins/article.htm. Accessed April 6, 2022.

Pregnancy and Prenatal Vitamins. https://www.webmd.com/baby/guide/prenatal-vitamins#1. Accessed April 6, 2022.

Prenatal Vitamins. https://americanpregnancy.org/pregnancy-health/prenatal-vitamins/. Accessed April 6, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

06/04/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

อาการตั้งครรภ์ และการดูแลตัวเอง

อาหารบำรุงมดลูก สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์มีอะไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 06/04/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา