backup og meta

อยากมีลูก รับประทานอะไรดีเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

อยากมีลูก รับประทานอะไรดีเพื่อเพิ่มโอกาสตั้งครรภ์

อยากมีลูก นอกจากต้องคำนึงถึงปัจจัยในเรื่องอายุและพันธุกรรมแล้ว การเลือกรับประทานอาหารให้เหมาะสม ก็อาจช่วยเพิ่มโอกาสในการตั้งครรภ์ได้ ทั้งนี้ ควรรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพและรับประทานอาหารให้หลากหลาย อาจปรึกษาคุณหมอเพื่อขอคำแนะนำรวมทั้งวิตามินหรืออาหารเสริมที่อาจช่วยบำรุงสุขภาพได้ เช่น กรดโฟลิก (Folic Acid) 

[embed-health-tool-ovulation]

อยากมีลูก ควรเลือกรับประทานอาหารประเภทใด

หากต้องการมีลูก ควรดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทั้งพักผ่อนให้เพียงพอ หาวิธีกำจัดความเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ ดังนี้

อาหารที่ทำจากนม

นมสด โยเกิร์ต และเนยแข็ง นอกจากจะช่วยให้กระดูกมีสุขภาพแข็งแรงแล้ว ยังช่วยให้ภาวะการเจริญพันธุ์ดีขึ้นด้วย อย่างไรก็ตาม ควรเลือกกินนมไขมันเต็มแทนนมไขมันต่ำ เพราะการรับประทานนมไขมันเต็มอาจมีส่วนช่วยบำรุงสุขภาพในเรื่องของการตกไข่ได้ 

โปรตีนจากเนื้อสัตว์ไร้ไขมัน

เนื้อสัตว์ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อไก่ เนื้อหมู หรือเนื้อวัว มักจะอุดมไปด้วยธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสารอาหารสำคัญที่ช่วยให้ภาวะการเจริญพันธุ์ดีขึ้น ผู้หญิงที่ได้รับธาตุเหล็กเพียงพอก่อนตั้งครรภ์ มักจะมีภาวะเจริญพันธุ์ที่ดีกว่าผู้หญิงที่ขาดธาตุเหล็ก

อย่างไรก็ตาม ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานเนื้อสัตว์ที่มีไขมัน และไม่ควรรับประทานเนื้อสัตว์เกินวันละสามมื้อ เนื่องจากการบริโภคโปรตีนมากเกินไปอาจทำให้ภาวะเจริญพันธุ์เสื่อมได้

ปลาที่มีกรดไขมันจำเป็นสูง

ปลาแซลมอน ปลาซาร์ดีน ปลาเฮอร์ริ่ง และปลาที่มีกรดไขมันสูงประเภทอื่น มีสรรพคุณที่ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายพร้อมเจริญพันธุ์ได้ เนื่องจากมีกรดไขมันโอเมก้า 3 ในปริมาณสูง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้เลือดสูบฉีดไปยังอวัยวะสืบพันธุ์ได้มากขึ้น ทำให้ร่างกายผลิตฮอร์โมนเพศออกมาได้มากขึ้น

นอกจากนั้น อาจเลือกอาหารที่เป็นแหล่งกรดไขมันโอเมก้า 3 ชนิดอื่น ๆ บ้างเพื่อความหลากหลาย  อย่างเช่น แฟล็กซีด อัลมอนด์ วอลนัท เมล็ดฟักทอง และไข่ชนิดที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3  

คาร์โบไฮเดรทเชิงซ้อน

หนึ่งในอาหารสำหรับคน อยากมีลูก ที่ไม่ควรพลาดคือ อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตเชิงซ้อน เช่น ธัญพืช ถั่ว ผัก ผลไม้ต่าง ๆ แทนอาหารคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีอย่างขนมปังหรือข้าวขาวซึ่งมักทำให้ภาวะเจริญพันธุ์ลดลง เนื่องจากการย่อยคาร์โบไฮเดรตที่ผ่านการขัดสีจะทำให้มีน้ำตาลในเลือดเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งมีอินซูลินมากขึ้นด้วย ซึ่งอินซูลินนั้นจะเป็นตัวขัดขวางการทำงานของฮอร์โมนเพศ และทำให้รอบเดือนเกิดการแปรปรวน

หอยนางรม

หอยนางรมเป็นแหล่งธาตุสังกะสีชั้นดี ซึ่งธาตุสังกะสีเป็นสารอาหารจำเป็นสำหรับการตั้งครรภ์ การขาดธาตุสังกะสีอาจทำให้ประจำเดือนมาไม่ปกติ และทำให้ร่างกายผลิตไข่ที่มีคุณภาพดีออกมาช้าลง ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อภาวะพร้อมเจริญพันธุ์ 

แต่หากไม่ชอบรับประทานหอยนางรม อาจหาอาหารอย่างอื่นที่มีธาตุสังกะสี เช่น เนื้อวัว สัตว์ปีก ผลิตภัณฑ์ที่ทำจากนม ถั่วเปลือกแข็ง ไข่ ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี และถั่วเปลือกอ่อนต่าง ๆ

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่

ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่อุดมไปด้วยสารต่อต้านอนุมูลอิสระอยู่ทั้งนั้น ซึ่งมีส่วนช่วยบำรุงเซลล์ต่าง ๆ ในร่างกาย รวมถึงป้องกันเซลล์ในระบบสืบพันธุ์เกิดความเสียหายหรืออักเสบ ผลไม้ตระกูลเบอรรี่ทุกชนิด ไม่ว่าจะเป็นราสเบอร์รี่ หรือบลูเบอร์รี่ ล้วนแต่ส่งผลดีต่อภาวะเจริญพันธุ์ทั้งนั้น 

กรดโฟลิค

สำหรับผู้ที่วางแผนว่า อยากมีลูก ควรเริ่มรับประทานอาหารที่มีกรดโฟลิกสูงตั้งแต่เนิ่น ๆ เพราะกรดโฟลิกช่วยลดความเสี่ยงทารกเกิดความผิดปกติก่อนคลอดได้

ผู้หญิงที่ อยากมีลูก ควรได้รับกรดโฟลิกประมาณ 400-600 มิลลิกรัมต่อวันในช่วงก่อนตั้งครรภ์ และและร่างกายอาจต้องการมากขึ้นเมื่อตั้งครรภ์แล้ว ทั้งนี้ กรดโฟลิกพบได้ในอาหารจำพวก ธัญพืชที่ไม่ผ่านการขัดสี ผัก ผลไม้ รวมทั้งอาหารเสริมกรดโฟลิกทั่วไป อย่างไรก็ตาม หากต้องการรับประทานกรดโฟลิกเป็นอาหารเสริมควรปรึกษาคุณหมอหรือเภสัชกรถึงปริมาณที่ควรรับประทานต่อวัน

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Fertility and diet: Is there a connection? https://www.health.harvard.edu/blog/fertility-and-diet-is-there-a-connection-2018053113949. Accessed November 23, 2022.

Dietary patterns, foods and nutrients in male fertility parameters and fecundability: a systematic review of observational studies. https://academic.oup.com/humupd/article/23/4/371/3065333. Accessed November 23, 2022.

A prospective study of dairy foods intake and anovulatory infertility. https://academic.oup.com/humrep/article/22/5/1340/2914869. Accessed November 23, 2022.

Protein intake and ovulatory infertility. https://www.ajog.org/article/S0002-9378(07)00833-2/fulltext. Accessed November 23, 2022.

Caffeinated and Alcoholic Beverage Intake in Relation to Ovulatory Disorder Infertility. https://journals.lww.com/epidem/Fulltext/2009/05000/Caffeinated_and_Alcoholic_Beverage_Intake_in.12.aspx. Accessed November 23, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

23/11/2022

เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet


บทความที่เกี่ยวข้อง

ช่วงไหนท้องง่ายที่สุด เรื่องน่ารู้สำหรับคนอยากมีลูก

ฝาก ไข่ ทางเลือกของคนอยากมีลูกในอนาคต


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย เนตรนภา ปะวะคัง · แก้ไขล่าสุด 23/11/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา