โลหิตจางเป็นโรคร้ายแรง และโลหิตจางก็มีหลายประเภทจากสาเหตุที่ต่างกัน มาทำความรู้จักกับ โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก อีกหนึ่งสาเหตุของโลหิตจางที่ร้ายแรง
โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกคืออะไร
ด้วยเซลล์เม็ดเลือดแดง ทำให้สามารถลำเลียงออกซิเจน จากปอดไปยังหัวใจและทั่วร่างกายได้ เซลล์เม็ดเลือดแดงจำนวนมาก เกิดขึ้นจากไขกระดูก โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (Hemolytic anemia) เกิดขึ้นเมื่อไขกระดูกไม่สามารถสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงในระดับที่เพียงพอ เพื่อทดแทนเซลล์เม็ดเลือดแดงที่ตายแล้วได้
โดยทั่วไปแล้ว โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกสามารถเกิดจากปัจจัยภายในหรือปัจจัยภายนอก โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายนอก (extrinsic hemolytic anemia) ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าภูมิต้านทานตนเองทำลายเม็ดเลือดแดง (autoimmune hemolytic anemia) เกิดขึ้นเมื่อเซลล์เม็ดเลือดแดงปกติ ถูกเก็บและทำลายโดยม้าม ภูมิต้านทานตนเองทำลายเม็ดเลือดแดง ยังสามารถเกิดจากการทำลายเซลล์เม็ดเลือดแดงที่เกิดจากลูคีเมีย (leukemia) เนื้องอก การติดเชื้อ โรคภูมิต้านทานตัวเอง หรือผลข้างเคียงจากการใช้ยา
คุณจะเป็นโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายใน (intrinsic hemolytic anemia) เมื่อร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดแดงที่บกพร่อง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกภายใน มักถ่ายทอดทางพันธุกรรม โดยเฉพาะในผู้ป่วยธาลัสซีเมีย หรือโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว (sickle cell anemia)
ภาวะดังกล่าวสามารถเกิดขึ้นได้จากโรคบางประเภท อาจเกิดจากตับอักเสบ (hepatitis) ไข้ไทฟอยด์ (typhoid fever) ม้ามโต (enlarged spleen) โรคลูปัส (lupus) การติดเชื้อสเตรปโตค็อกคัส (streptococcus) หรือเชื้ออีโคไล (Escherichia coli) เป็นต้น ในบางครั้ง โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกยังอาจเกิดจากการใช้ยาบางชนิด เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) อะเซตามิโนเฟน (acetaminophen) โพรไซนาไมด์ (procainamide) คลอร์โพรมาซีน (chlorpromazine) เป็นต้น
อาการของโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก
ความรุนแรงและประเภทของโรค อาจบ่งชี้อาการของโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก จากสาเหตุต่างๆ ของโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก ผู้ป่วยอาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไป
ดีซ่านและปัสสาวะมีสีคล้ำ
ภาวะที่ผิวหนังหรือตาขาว เปลี่ยนเป็นสีเหลืองเรียกว่าดีซ่าน (jaundice) ในขณะที่เซลล์เม็ดเลือดแดงตาย ฮีโมโกลบินปนอยู่ในกระแสเลือด และแตกตัวเป็นบิลิรูบิน (bilirubin) การรวมตัวกันนี้ทำให้ผิวหนังและตาเป็นสีเหลือง และปัสสาวะเป็นสีเหลืองคล้ำหรือน้ำตาล
ปวดท้องส่วนบน
ม้ามที่โตกว่าปกติ หรือนิ่วน้ำดี (gallstones) อาจทำให้มีอาการปวดท้องส่วนบน ระดับคอเลสเตอรอลที่สูง ร่วมกับบิลิรูบินที่กล่าวถึงข้างต้น สามารถทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี นิ่วอาจทำให้เกิดอาการปวดได้
ม้ามซึ่งอยู่ในช่องท้อง สามารถช่วยร่างกายในการต้านการติดเชื้อ และกำจัดเซลล์เม็ดเลือดที่มีอายุมากหรือเสียหาย โลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตกอาจทำให้ม้ามโต ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดได้เช่นกัน
คุณยังอาจมีอาการที่พบได้ทั่วไป ซึ่งได้แก่ อาการเหนื่อย ผิวซีด มึนงง มึนศีรษะ เวียนศีรษะ
แผลเปื่อยที่ขาและอาการปวด
ในผู้ที่เป็นโรคเม็ดเลือดแดงรูปเคียว เส้นเลือดขนาดเล็กอาจตีบตัน จากเซลล์เม็ดเลือดรูปเคียว ซึ่งทำให้เกิดการตีบตันของกระแสเลือด อาจเกิดอาการปวดขาตามมา
อาการที่พบได้น้อยลงอื่นๆ ที่อาจมีได้ ได้แก่
- เสียงฟู่ของหัวใจ
- ตับโต
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด