ความผิดปกติของเลือด

"เลือด" มีบทบาทสำคัญต่อการทำงานของร่างกาย เพราะเป็นตัวกลางในการช่วยลำเลียงออกซิเจนไปยังส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้อย่างทั่วถึง หากมีความผิดปกติเกิดขึ้นกับเลือด ก็อาจส่งผลกระทบถึงส่วนประกอบภายในเลือด ทั้งเซลล์เม็ดเลือดแดง เซลล์เม็ดเลือดขาว รวมไปจนถึงเกร็ดเลือด เรียนรู้เกี่ยวกับความสำคัญของเลือด ความผิดปกติของเลือด และการดูแลรักษาสุขภาพของระบบเลือดให้ดี ได้ที่นี่

เรื่องเด่นประจำหมวด

ความผิดปกติของเลือด

เลือดเป็นกรด (Acidosis) สาเหตุ ปัจจัยเสี่ยง อาการ วิธีรักษา

เลือดเป็นกรด (Acidosis) คือ ภาวะที่เกิดจากร่างกายมีกรดสะสมในเลือดมากเกินไปและมีระดับด่างหรือเบสน้อย จนร่างกายเสียสมดุล ภาวะนี้อาจเกิดได้จาก 2 สาเหตุ คือ เลือดเป็นกรดจากกระบวนการเผาผลาญ ทำให้มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน อ่อนเพลีย อาจหายใจเร็วและลึกกว่าปกติ และเลือดเป็นกรดจากระบบทางเดินหายใจ มักทำให้มีอาการปวดศีรษะ สับสนมึนงง หายใจไม่อิ่ม หากอาการรุนแรงอาจถึงขั้นหมดสติ ช็อก และเสียชีวิตได้ โดยทั่วไปคุณหมอจะรักษาเลือดเป็นกรดจากสาเหตุเป็นหลัก ภาวะนี้จัดเป็นภาวะอันตราย หากมีอาการที่สงสัยว่าเกิดจากเลือดเป็นกรด ควรรีบไปพบคุณหมอทันที [embed-health-tool-bmi] เลือดเป็นกรด คืออะไร เลือดเป็นกรด เกิดจากร่างกายมีระดับกรดในกระแสเลือดมากเกินไป หรือเมื่อร่างกายสูญเสียไบคาร์บอเนต (Bicarbonate) หรือด่างในปริมาณมาก จนทำให้ภาวะกรด-ด่างเสียสมดุล โดยทั่วไป ค่าความเป็นกรด-ด่างหรือค่า pH ในร่างกายจะแสดงเป็นสเกล 0-14 ตามปกติเลือดจะมีค่า pH อยู่ระหว่าง 7.35-7.45 และร่างกายจะรักษาค่า pH ของเลือดให้ใกล้เคียง 7.40 แต่หากค่า pH ของเลือดต่ำกว่า 7.35 แสดงว่าร่างกายมีกรดมากเกินไปจนระดับความเป็นกรด-ด่างเสียสมดุล และอยู่ในภาวะเลือดเป็นกรด เมื่อเลือดเป็นกรด สมองส่วนที่ควบคุมการหายใจจะกระตุ้นให้ร่างกายหายใจเร็วและลึกขึ้น เพื่อให้ขับคาร์บอนไดออกไซด์ออกทางการหายใจออกได้มากที่สุด และปรับให้ค่า pH ของเลือดกลับเข้าสู่ภาวะปกติ […]

หมวดหมู่ ความผิดปกติของเลือด เพิ่มเติม

สำรวจ ความผิดปกติของเลือด

ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาวต่ำ อาการ สาเหตุ การรักษา

เม็ดเลือดขาวต่ำ คือ ภาวะที่ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนลดลงผิดปกติ หากจำนวนเม็ดเลือดขาวน้อยกว่า 4,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร อาจเป็นสัญญาณของเม็ดเลือดขาวต่ำ ภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ เป็นตัวบ่งชี้สุขภาพร่างกายและเป็นสัญญาณของโรคต่าง ๆ เช่น ภาวะขาดวิตามิน โรคแพ้ภูมิตัวเอง โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์  รวมถึงผลข้างเคียงของการรักษามะเร็ง [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ เม็ดเลือดขาวต่ำ คืออะไร  เม็ดเลือดขาว ถูกสร้างขึ้นภายในไขกระดูก เป็นส่วนหนึ่งของระบบภูมิคุ้มกันที่มีหน้าที่คอยปกป้องร่างกายในการต่อสู้กับเชื้อแบคทีเรีย การติดเชื้อ และสิ่งแปลกปลอม ค่าปกติของเซลล์เม็ดเลือดขาว คือ 4,500-10,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร โดยในแต่ละวันร่างกายผลิตเซลล์เม็ดเลือดขาวประมาณ 1 แสนล้านเซลล์ เม็ดเลือดขาวต่ำ คือ ภาวะที่ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวมีจำนวนลดลงผิดปกติ น้อยกว่า 4,000 เซลล์ต่อไมโครลิตร โดยเม็ดเลือดขาวสามารถแบ่งออกเป็น 5 ประเภท ได้แก่ เม็ดเลือดขาวชนิดนิวโตรฟิล (Neutrophil) ประกอบด้วย 55-70% ของเม็ดเลือดขาว เป็นชนิดที่มีมากที่สุดในร่างกาย ทำหน้าที่ต่อสู้การติดเชื้อจากไวรัส แบคทีเรีย  เม็ดเลือดขาวชนิดลิมโฟไซต์ (Lymphocyte) เซลล์เม็ดเลือดขาวชนิดที่พบรองเป็นอันดับ 2 ทำหน้าที่ปกป้องร่างกายในการติดเชื้อไวรัส  เม็ดเลือดขาวชนิดโมโนไซต์ (Monocyte) เป็นเม็ดเลือดขาวที่มีขนาดใหญ่ที่สุด มีหน้าที่ทำลายเชื้อโรค แบคทีเรีย ไวรัสที่เข้าสู่ร่างกาย […]


ความผิดปกติของเกล็ดเลือด

เกล็ดเลือดต่ำ สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

เกล็ดเลือดต่ำ เป็นภาวะที่ร่างกายมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่าปกติซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ และอาจทำให้เกิดอาการเหนื่อยล้า ฟกช้ำง่าย เลือดออกไม่หยุด เลือดออกจากเหงือกหรือจมูก หากไม่ทำการรักษาอาจทำให้เลือดออกภายในซึ่งเป็นภาวะร้ายแรงต่อสุขภาพได้ จึงควรได้รับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ เกล็ดเลือดต่ำ คืออะไร เกล็ดเลือดต่ำ คือ ภาวะที่ร่างกายมีจำนวเกล็ดเลือดต่ำกว่า 150,000 เกล็ดเลือด/ไมโครลิตร ซึ่งจำนวนเกล็ดเลือดปกติในผู้ใหญ่คือ 150,000-450,000 เกล็ดเลือด/ไมโครลิตร จำนวนเกล็ดเลือดที่ลดลงอาจเกิดจากความผิดปกติของไขกระดูกที่ไม่สามารถผลิตเกล็ดเลือดได้เป็นปกติ หรืออาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาบางชนิด ซึ่งภาวะเกล็ดเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ และไม่ทำให้เกิดอาการรุนแรง บางกรณีอาจทำให้เลือดออกภายในซึ่งเป็นอันตรายได้เช่นกัน โดยเลือดออกภายในเป็นภาวะร้ายแรงและอาจเกิดขึ้นได้ หากจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 10,000 หรือ 20,000 เกล็ดเลือด/ไมโครลิตร อาการ อาการเกล็ดเลือดต่ำ อาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ มีดังนี้ มีอาการเหนื่อยล้า มีเลือดออกในผิวหนังจุดสีม่วง สีแดง มักเกิดขึ้นที่ขาส่วนล่าง ผิวหนังมีอาการช้ำง่าย เลือดออกไม่หยุดหรือเป็นเวลานานเมื่อเกิดบาดแผล มีเลือดออกจากเหงือกหรือจมูก มีเลือดออกเมื่อปัสสาวะหรืออุจจาระ ประจำเดือนมามากผิดปกติ ม้ามโต หากมีอาการเลือดออกไม่หยุดหรือเลือดออกมากเกินไปควรรีบพบคุณหมอทันทีเพื่อทำการรักษา สาเหตุ สาเหตุเกล็ดเลือดต่ำ เกล็ดเลือดต่ำ ส่วนใหญ่ไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ซึ่งอาจเกิดจากปัญหาสุขภาพหรือการใช้ยาบางชนิด หรืออาจเกิดจากสาเหตุเหล่านี้ การผลิตเกล็ดเลือดลดลง อาจมีหลายปัจจัยที่ส่งผลต่อการผลิตเกล็ดลดลงลง เช่น โรคโลหิตจาง การติดเชื้อไวรัส เช่น ไวรัสตับอักเสบซีหรือเอชไอวี มะเร็งเม็ดเลือดขาว การฉายรังสีหรือเคมีบำบัด การดื่มเครื่องแอลกอฮอล์ปริมาณมาก การสลายเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้น ภาวะสุขภาพร่างกายอาจส่งผลต่อการสลายเกล็ดเลือดอย่างรวดเร็วทำให้เกิดภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ได้แก่ การตั้งครรภ์ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำอาจเกิดขึ้นได้แต่ไม่เป็นอันตรายรุนแรง […]


ภาวะโลหิตจาง

เลือดจาง อาการ สาเหตุ การรักษา

เลือดจาง หรือภาวะโลหิตจาง เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้ไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างเพียงพอ ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย เวียนศีรษะ โดยอาการเหล่านี้เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะขาดสารอาหาร การเสียเลือดในปริมาณมากจากการผ่าตัด อุบัติเหตุ หรือการแท้งบุตร  คำจำกัดความเลือดจาง คืออะไร เลือดจาง เป็นภาวะที่ร่างกายมีปริมาณเม็ดเลือดแดงน้อยกว่าปกติ ทำให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะต่าง ๆ ภายในร่างกายได้อย่างเพียงพอ โดยสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะเลือดจาง คือ การขาดธาตุเหล็ก ส่วนสาเหตุอื่น ๆ ที่อาจพบได้ เช่น การเสียเลือดแบบเฉียบพลันจากการผ่าตัด อุบัติเหตุ การแท้งบุตร เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย วิงเวียนศีรษะ เจ็บหน้าอก ใจสั่น อย่างไรก็ตาม วิธีการรักษาภาวะเลือดจางอาจขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค เช่น หากเกิดจากสาเหตุการขาดธาตุเหล็ก คุณหมออาจแนะนำให้ผู้ป่วยรับประทานอาหารที่อุดมด้วยธาตุเหล็กอย่าง เนื้อวัว ถั่ว ผักใบเขียว เป็นต้น  อาการอาการเลือดจาง ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดจางอาจมีอาการแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับสาเหตุและความรุนแรงของโรค โดยอาการที่พบได้บ่อยของภาวะเลือดจาง มีดังต่อไปนี้ เหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ตัวซีดหรือตัวเหลือง เจ็บหน้าอก ง่วงซึม มือและเท้าเย็น หัวใจเต้นผิดปกติ หายใจถี่ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ สาเหตุสาเหตุที่ทำให้เลือดจาง ภาวะเลือดจางอาจเกิดจากสาเหตุ ดังต่อไปนี้ การขาดสารอาหาร โดยเฉพาะการขาดธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นสาเหตุที่พบได้บ่อยของภาวะเลือดจาง เมื่อร่างกายมีปริมาณธาตุเหล็กซึ่งเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเม็ดเลือดแดงน้อยเกินไป อาจส่งผลให้เม็ดเลือดแดงไม่สามารถลำเลียงออกซิเจนไปเลี้ยงอวัยวะส่วนต่าง ๆ ได้อย่างเพียงพอ การสูญเสียเลือดแบบเฉียบพลัน […]


ความผิดปกติของเกล็ดเลือด

เกล็ดเลือดสูง สาเหตุ อาการและการรักษา

เกล็ดเลือดสูง เป็นภาวะที่เกิดจากไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดเพิ่มขึ้นชั่วคราวเพื่อช่วยให้เลือดแข็งตัว หรืออาจเกิดจากไขกระดูกทำงานผิดปกติ ซึ่งอาจทำให้มีอาการปวดศีรษะ หน้ามืด เป็นลม หรืออาจทำให้มีเลือดออกตามเหงือก หรือเลือดกำเดาไหลได้ ระดับเกล็ดเลือดสูงอาจเป็นสัญญาณของภาวะที่รุนแรง ดังนั้น จึงควรรับการตรวจเพื่อหาสาเหตุที่แน่ชัด และเข้ารับการรักษาให้เหมาะสม [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ เกล็ดเลือดสูง คืออะไร เกล็ดเลือดสูง คือ ภาวะที่ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือด เพิ่มขึ้นมากเกินไป ซึ่งอาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุ เรียกว่า โรคเกล็ดเลือดสูง (Essential thrombocythemia : ET) แต่ถ้าเกล็ดเลือดสูงที่เกิดขึ้นจากโรคหรือภาวะอื่น เช่น การติดเชื้อ จะเรียกว่า ภาวะเกล็ดเลือดสูง (Thrombocytosis) เกล็ดเลือดสูง พบบ่อยแค่ไหน โรคเกล็ดเลือดสูงพบได้ในทุกเพศทุกวัย ซึ่งส่วนใหญ่พบในผู้หญิงที่มีอายุ 50-70 ปี แต่ภาวะเกล็ดเลือดสูงอาจพบได้บ่อยกว่าโรคเกล็ดเลือดสูง เนื่องจากคนส่วนใหญ่ที่มีเกล็ดเลือดมากกว่า 500,000 เกล็ด/ไมโครลิตร จะถูกจัดอยู่ในกลุ่มภาวะเกล็ดเลือดสูง อาการ อาการเกล็ดเลือดสูง ผู้ที่เป็นโรคเกล็ดเลือดสูง หรือภาวะเกล็ดเลือดสูง อาจไม่แสดงอาการให้เห็นอย่างชัดเจน แต่มักจะเริ่มด้วยการเกิดลิ่มเลือด ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการต่าง ๆ ตามมา ขึ้นอยู่กับตำแหน่งของลิ่มเลือด ดังนี้ ปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หรือหน้ามืด เป็นลม เจ็บหน้าอก เหนื่อยล้า อ่อนแรง มีอาการชาบริเวณมือและข้อเท้า ตัวสั่น […]


ความผิดปกติของเม็ดเลือดขาว

เม็ดเลือดขาวสูง สาเหตุ การรักษาและการป้องกัน

เม็ดเลือดขาวสูง เป็นภาวะที่เม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ อาจเกิดจากร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อต่อต้านเชื้อโรค ความผิดปกติของไขกระดูก การติดเชื้อ หรือภาวะอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการปวดท้อง เหนื่อยล้า มีไข้ ขึ้นอยู่กับสาเหตุหลักของอาการ นอกจากนี้ เม็ดเลือดขาวสูงอาจเป็นสัญญาณของปัญหาสุขภาพ เช่น การติดเชื้อ การอักเสบ การบาดเจ็บทางร่างกาย ความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน ดังนั้น การรู้สาเหตุ การป้องกันและการรักษา อาจช่วยรับมือกับปัญหาสุขภาพในอนาคตได้ [embed-health-tool-heart-rate] คำจำกัดความ เม็ดเลือดขาวสูง คืออะไร เม็ดเลือดขาวสูง (Leukocytosis) เป็นภาวะที่ร่างกายมีเม็ดเลือดขาวมากกว่าปกติ เซลล์เม็ดเลือดขาวเป็นเซลล์ภูมิคุ้มกัน มีหน้าที่ช่วยปกป้องร่างกายจากไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อโรคอื่น ๆ ที่คุกคามร่างกาย โดยปกติร่างกายจะมีเซลล์เม็ดเลือดขาวอยู่ 4,000 – 11,000 เซลล์/ไมโครลิตร ซึ่งเซลล์เม็ดเลือดขาวมีหลายประเภทและทำหน้าที่ปกป้องร่างกายแตกต่างกัน จำนวนเม็ดเลือดขาวแต่ละประเภทที่เพิ่มสูงขึ้น อาจเกิดจากตัวกระตุ้นที่แตกต่างกันด้วย ดังนี้ โมโนไซต์ (Monocytes) ปกติจะมีปริมาณ 100 – 700 เซลล์/ไมโครลิตร หรือ ระหว่าง 2% – 8% ของเม็ดเลือดขาวทั้งหมด หากมีปริมาณมากกว่าจะถือว่าเป็นเม็ดเลือดขาวสูงซึ่งอาจเกิดจากการติดเชื้อเรื้อรัง โรคมะเร็ง […]


ความผิดปกติของเลือดแบบอื่น

วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease)

หากคุณลองสังเกตตนเองแล้วพบว่า ตามร่างกายเริ่มมีอาการฟกช้ำง่าย เลือดหยุดยากทุกครั้งมีบาดแผล ซึ่งสัญญาณดังกล่าวนี้อาจเป็นสัญญาณแรกเริ่มที่สามารถส่งผลให้คุณอาจกำลังเสี่ยงเป็นโรค วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) หรือ โรคเลือดออกง่าย และอาจจำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัย รวมถึงเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสมโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ คำจำกัดความวอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) คืออะไร วอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand Disease) คือ โรคเลือดออกง่าย เป็นโรคที่เกิดจากการขาดโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า Von Willebrand factor หรือ VWF ซึ่งโปรตีนชนิดนี้ค่อนข้างมีคุณสมบัติที่สามารถช่วยให้เลือดของคุณนั้นเกิดการแข็งตัวได้เร็วขึ้นเมื่อเกิดอุบัติเหตุ หรือบาดแผลต่าง ๆ จนกลายเป็นสะเก็ดแผลที่เราคุ้นเคยกันในที่สุด แต่ถ้าหากร่างกายของคุณนั้นมีโปรตีน VWF ในระดับต่ำ ที่ไม่สามารถเกาะตัวเป็นก้อนเพื่อไปอุดเส้นเลือดที่ได้รับความเสียหายได้ ก็อาจทำให้บาดแผลของคุณนั้นมีเลือดไหลออกเป็นเวลานาน และอาจนำไปสู่ตกการเลือดอย่างหนักกับกรณีที่ประสบกับบาดแผลใหญ่ได้ เช่น แผลผ่าตัด เป็นต้น วอนวิลลิแบรนด์ สามารถพบบ่อยได้เพียงใด วอนวิลลิแบรนด์อาจพบได้บ่อยกับบุคคลทั่วไปทุกช่วงวัย เพราะเนื่องจาเป็นโรคที่เป็นการส่งทอดมาจากพันธุกรรมของคนในครอบครัว จึงอาจทำให้ได้รับภาวะของโรคนี้สืบต่อกันมา อาการอาการของ วอนวิลลิแบรนด์ อาการของโรคนี้นั้นอาจแตกต่างกันออกไปตามแต่สภาวะทางร่างกาย แต่อาการที่คุณสามารถสังเกตได้เด่นชัด อาจมีดังต่อไปนี้ บริเวณผิวหนังมีรอยฟกช้ำ หรือช้ำง่าย เลือดออกที่มากจนเกินไป ปัสสาวะ อุจจาระเป็นเลือด เลือกออกเป็นระยะเวลานาน เลือดออกหนักผิดปกติช่วงที่มีประจำเดือน พร้อมกับมีลิ่มเลือดที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า 1 นิ้ว สาเหตุสาเหตุของการเกิดวอนวิลลิแบรนด์ สาเหตุที่ทำให้คุณนั้นต้องประสบกับโรควอนวิลลิแบรนด์ ส่วนใหญ่มักมาจากยีนที่ผิดปกติจากการสืบทอดพันธุกรรม โดยเฉพาะกับบุคคลในครอบครัวของตนเอง โดยสามารถรับมาได้ 3 ประเภทด้วยกัน […]


ความผิดปกติของเลือดแบบอื่น

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)

ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)  คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อก้อนเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดดำ มักเกิดขึ้นในบริเวณน่อง ต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขา ขาบวม คำจำกัดความลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ คืออะไร ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ (Venous Thromboembolism : VTE)  คือ ภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อก้อนเลือดก่อตัวขึ้นในหลอดเลือดดำ มักเกิดขึ้นในบริเวณน่อง หรือต้นขา หรือกระดูกเชิงกราน ส่งผลให้ผู้ป่วยมีอาการปวดขา ขาบวม อย่างไรก็ตาม โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสามารถเกิดขึ้นได้ในส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย หากผู้ป่วยพบอาการผิดปกติในร่างกายควรรีบปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางเพื่อรับการรักษา ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ พบได้บ่อยเพียงใด โรคลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำสามารถเกิดขึ้นได้ทุกเพศทุกวัย โดยเฉพาะในผู้ที่มีอายุมากกว่า 60 ปี มีโอกาสเป็นสูงที่จะเป็นลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ อาการอาการของ ลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ อาการโดยทั่วไปของลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ มีดังนี้ ปวดขา ตะคริว ผิวหนังบริเวณที่ได้รับผลกระทบเปลี่ยนสีเป็นสีซีด สีแดงหรือน้ำเงิน รู้สึกร้อนบริเวณที่ได้รับผลกระทบ ควรไปพบหมอเมื่อใด หากคุณมีสิ่งบ่งชี้หรืออาการใด ๆ ตามที่ระบุข้างต้น หรือมีคำถาม โปรดปรึกษาแพทย์ ร่างกายของแต่ละบุคคลมีการตอบสนองแตกต่างกัน ทางที่ดีที่สุดให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับวิธีรักษาที่ดีที่สุดตามสถานการณ์ของคุณ สาเหตุ.สาเหตุของลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ ลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำเกิดจากความผิดปกติของการไหลเวียนเลือด ซึ่งมีสาเหตุดังนี้ การได้บาดเจ็บ การได้รับบาดเจ็บหรือมีบาดแผล อาจทำให้เลือดแคบลงหรืออุดตัน การผ่าตัด ความเสียหายระหว่างผ่าตัดอาจทำให้ลิ่มเลือดอุดตัน เคลื่อนไหวน้อย เมื่อนั่งบ่อย ๆ เลือดอาจสะสมที่ขาทำให้เลือดอุดตันเป็นก้อน ยาบางชนิด การรับประทานยาบางชนิดอาจเพิ่มโอกาสที่เลือดจะจับตัวเป็นก้อน ปัจจัยเสี่ยงของ ลิ่มเลือดอุดตัน ในหลอดเลือดดำ ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำ มีดังนี้ การถ่ายทอดทางพันธุกรรม หากสมาชิกในครอบครัวเคยมีประวัติเกี่ยวกับลิ่มเลือดอุดตัน อาจเพิ่มความเสี่ยงให้เกิดโรคดังกล่าวได้ การตั้งครรภ์ […]


ความผิดปกติของเกล็ดเลือด

วิธีเพิ่มเกล็ดเลือด อย่างเป็นธรรมชาติ ป้องกันอันตรายต่อสุขภาพ

เกล็ดเลือด ถือเป็นส่วนประกอบที่สำคัญของเลือด มีส่วนช่วยในการทำให้เลือดหยุดไหลในเวลาที่เราโดนมีดบาด หรือเป็นแผล ทั้งยังมีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างลิ่มเลือดด้วย การรักษาจำนวนของเกล็ดเลือดให้อยู่ในระดับปกติจึงเป็นเรื่องสำคัญ เพราะหากคุณมีเกล็ดเลือดต่ำเมื่อไหร่ ร่างกายของคุณก็จะเกิดปัญหาในการห้ามเลือด หรืออาจมีเลือดไหลง่ายกว่าปกติ ฉะนั้น หากคุณไม่อยากประสบปัญหาเหล่านี้ Hello คุณหมอ ก็มี วิธีเพิ่มเกล็ดเลือด ที่ทำได้ง่ายๆ มาแนะนำ รับรองเลยว่าเกล็ดเลือดของคุณจะเพิ่มขึ้น แถมยังสุขภาพดีขึ้นด้วย [embed-health-tool-bmr] เกล็ดเลือด และจำนวนเกล็ดเลือดสำคัญอย่างไร เกล็ดเลือด (Platelets) หรือ ทรอมโบไซท์ (Thrombocytes) เป็นเซลล์เม็ดเลือดชนิดไม่มีสี มีหน้าที่ช่วยในการทำให้เลือดแข็งตัว และลดการสูญเสียเลือดจากร่างกายเวลาเกิดแผล กล่าวคือ เมื่อหลอดเลือดถูกทำลาย หลอดเลือดจะส่งสัญญาณไปยังเกล็ดเลือด แล้วเกล็ดเลือดก็จะหลั่งเอนไซม์ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัวออกมา พร้อมกับยึดเกาะกันเป็นก้อนเลือดเพื่อหยุดการไหลของเลือด จากนั้นเมื่อปากแผลถูกอุด และเลือดหยุดไหลแล้ว เกล็ดเลือดก็จะลดขนาดของลิ่มเลือดที่อุดปากแผลอยู่ให้เล็กลง เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อการไหลเวียนของเลือด เกล็ดเลือดถูกสร้างขึ้นในไขกระดูกพร้อมกับเซลล์เม็ดเลือดแดงและเซลล์เม็ดเลือดขาว และเกล็ดเลือดแต่ละชุดจะไหลเวียนอยู่ในกระแสเลือดประมาณ 8-10 วัน โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณเกล็ดเลือดปกติของคนเราจะอยู่ที่ 150,000-450,000 ต่อไมโครลิตร แต่หากจำนวนเกล็ดเลือดลดลง หรือมีน้อยกว่า 150,000 ต่อไมโครลิตร ก็จะเข้าสู่ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ทำให้เกิดเลือดออกง่าย หรือร่างกายมีปัญหาในการทำให้เลือดหยุดไหล ยิ่งหากมีจำนวนเกล็ดเลือดต่ำกว่า 50,000 ต่อไมโครลิตร ก็ยิ่งเสี่ยงเกิดปัญหาเลือดออกผิดปกติขั้นรุนแรง จนอาจเป็นอันตรายได้ สัญญาณและอาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ […]


ความผิดปกติของเลือดแบบอื่น

ลิ่มเลือดอุดตัน เลือดคั่งหลังผ่าตัด ผลข้างเคียงจากการศัลยกรรมที่ป้องกันได้

การผ่าตัดทุกชนิดย่อมมีความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงหรืออาการแทรกซ้อน และหนึ่งในอาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยของการผ่าตัดก็คือ การเกิดลิ่มเลือดอุดตัน หรือ เลือดคั่งหลังผ่าตัด ที่ในบางกรณี หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที ก็อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้ วันนี้มารู้เรื่องนี้กับกับ Hello คุณหมอ เลือดคั่งหลังผ่าตัด… ภาวะอันตราย การสร้างลิ่มเลือด (Blood clot formation) หรือการแข็งตัวของเลือด (Blood coagulation) คือกระบวนการทำให้เลือดกลายเป็นลิ่มเลือด ซึ่งเป็นกลไกการห้ามเลือดตามธรรมชาติของร่างกาย เช่น เมื่อเราโดนมีดบาดนิ้วจนเลือดออก ร่างกายก็จะสร้างลิ่มเลือดขึ้นในบริเวณรอยมีดบาด เพื่อห้ามเลือด ช่วยรักษาแผล และช่วยป้องกันไม่ให้ร่างกายต้องเสียเลือดมากเกินไป ลิ่มเลือดสามารถเกิดขึ้นได้ทุกส่วนในร่างกาย หากเป็นลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นเมื่อเรามีแผล ส่วนใหญ่จะอยู่บนผิวหนัง หรือที่เรียกว่าสะเก็ดแผล เมื่อแผลหาย สะเก็ดแผลหรือลิ่มเลือดก็จะหลุดออกไปได้เอง และไม่ก่อให้เกิดอันตรายใด ๆ แต่ในบางกรณี เช่น ขณะผ่าตัด หรือหลังผ่าตัด ก็อาจมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้ และหากลิ่มเลือดที่เกิดขึ้นไหลไปตามหลอดเลือด เข้าไปยังปอด ก็อาจทำให้เกิดลิ่มเลือดอุดตัน ที่เรียกว่า โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (Pulmonary Embolism) ทำให้หายใจเหนื่อยหอบเฉียบพลัน และอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที หรือหากลิ่มเลือดอุดตันในสมอง ก็เป็นอันตรายร้ายแรงถึงชีวิตเช่นกัน อาการของเลือดคั่งหลังผ่าตัดที่ควรรู้ อาการของเลือดคั่งหลังผ่าตัดนั้นจะแตกต่างกันไป ตามบริเวณที่เกิดเลือดคั่ง ซึ่งคุณสามารถสังเกตเบื้องต้นได้ดังนี้ หัวใจ : รู้สึกเจ็บหน้าอก มือชา แขนชา […]


ภาวะโลหิตจาง

ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders)

คำจำกัดความภาวะเลือดออกผิดปกติ คืออะไร ภาวะเลือดออกผิดปกติ (Bleeding Disorders)  คือ อาการที่มีผลกระทบต่อวิธีที่เลือดแข็งตัวตามปกติ ขั้นตอนของการแข็งตัวเป็นที่รู้จักเรียกว่า “การแข็งตัว” เป็นการเปลี่ยนเลือดจากของเหลวไปเป็นของแข็ง เมื่อคุณได้รับบาดเจ็บ โดยปกติเลือดจะเริ่มแข็งตัวเพื่อป้องกันการเสียเลือดมาก บางครั้งการป้องกันเลือดแข็งตัวอย่างไม่เหมาะสม อาจมีผลให้เลือดออกมาก หรือนาน บางครั้งอาจทำให้เลือดออกผิดปกติทั้งภายนอก และภายในร่างกาย บางอาการผิดปกติอาจค่อย ๆ เพิ่มจำนวนของเลือดที่ออกจากร่างกาย อาจทำให้เกิดเลือดออกใต้ผิวหนัง หรือในอวัยวะที่สำคัญ เช่น สมอง ภาวะเลือดออกผิดปกติมีความแตกต่างมากมาย แต่ส่วนมากโดยทั่วไปมีดังต่อไปนี้ ฮีโมฟีเลีย ประเภท A และ B เป็นอาการที่เกิดเมื่อมีปัจจัยเลือดแข็งตัวในระดับต่ำ ทำให้ เกิดเลือดออกผิดปกติ ในข้อต่อ แม้ว่าฮีโมฟีเลียจะพบได้ยาก แต่หากมีภาวะแทรกซ้อนก็สามารถคุกคามชีวิตได้ ปัจจัยที่เป็นข้อบกพร่องที่ 2 5 7 10 หรือ 12 เป็น ภาวะเลือดออกผิดปกติ ที่เกี่ยวข้องกับปัญหาการแข็งตัวของเลือด หรือปัญหาเลือดออกผิดปกติ โรควอนวิลลิแบรนด์ (Von Willebrand’s Disease) เป็นภาวะเลือดออกผิดปกติทางพันธุกรรมที่พบมากที่สุด มันพัฒนาเมื่อเลือดขาดปัจจัย วอนวิลลิแบรนด์ ที่ช่วยให้เลือดแข็งตัว หากมีอาการเลือดออกผิดปกติกรุณาปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม อาการอาการภาวะเลือดออกผิดปกติ อาการอาจมีความหลากหลาย ขึ้นอยู่กับประเภทของภาวะเลือดออกผิดปกติ อย่างไรก็ตามสัญญาณหลัก เช่น ผิวช้ำง่าย ประจำเดือนมามาก เลือดกำเดาออกบ่อย เลือดออกมากเกินไป จากแผลมีดบาดเล็ก […]

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา

ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ของเรา

ทีมผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์ของ Hello คุณหมอ ประกอบไปด้วยแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางที่มาร่วมสร้างสรรค์บทความในเว็บไซต์ของเราตามความเชี่ยวชาญในแต่ละด้าน ทีมแพทย์และผู้เชี่ยวชาญของเราจะช่วยรับรองว่าข้อมูลด้านสุขภาพของเราถูกต้อง เป็นปัจจุบัน และตรงตามหลักฐานจากงานวิจัยล่าสุด
ทีมผู้เชี่ยวชาญของเรามุ่งมั่นเต็มที่ในการช่วยให้คุณได้รับข้อมูลและความรู้ด้านสุขภาพที่น่าเชื่อถือ เข้าใจง่าย และเป็นประโยชน์ และพร้อมให้คำแนะนำในการดูแลสุขภาพกับคุณเสมอ เพื่อให้คุณได้รับทางเลือกที่ดีต่อสุขภาพ และใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขมากยิ่งขึ้น

ดูผู้เชี่ยวชาญเพิ่มเติม
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ชุมชน