backup og meta

แบ่งปัน

หรือ คัดลอกลิงก์

วิธีสังเกตและป้องกันภาวะขาดน้ำในเด็ก

วิธีสังเกตและป้องกันภาวะขาดน้ำในเด็ก

ภาวะขาดน้ำในเด็ก หมายถึงภาวะที่ร่างกายของเด็กได้รับน้ำไม่เพียงพอ หรือสูญเสียน้ำภายในร่างกายมากเกินไป ซึ่งสามารถสังเกตได้จากอาการปากแห้ง เหงื่อออกน้อย มือเย็น ปัสสาวะน้อย อ่อนเพลีย หากอยู่ในพื้นที่ที่มีอากาศร้อน ต้องทำกิจกรรมกลางแจ้งนาน ๆ หรือหากลูกมีอาการท้องเสีย เป็นไข้ อาเจียน ควรคอยสังเกตอาการของภาวะขาดน้ำและทำการรักษาอย่างรวดเร็วเพื่อป้องกันอันตรายต่อตัวเด็ก

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ภาวะขาดน้ำคืออะไร

ร่างกายสูญเสียน้ำในทุกวัน เช่น เสียน้ำผ่านทางเหงื่อ น้ำตา ปัสสาวะ และอุจจาระ ซึ่งเรามักจะทดแทนน้ำที่สูญเสียจากร่างกาย ด้วยของเหลวในร่างกายและเกลือที่ได้รับจากการกินอาหาร แต่บางครั้งเด็กๆ มักจะได้รับน้ำไม่เพียงพอ ซึ่งอาจเกิดขึ้นจากอาการเจ็บป่วย เช่น เป็นไข้ ท้องเสีย อาเจียน ออกกำลังกายเป็นเวลานาน และทำกิจกรรมกลางแจ้งเป็นเวลานาน  อาจทำให้เด็กเกิดภาวะขาดน้ำได้ ซึ่งมีอาการดังนี้

สัญญาณและอาการของภาวะขาดน้ำในเด็ก

ถ้าเด็กมีไข้ ท้องเสีย หรืออาเจียน รวมถึงมีเหงื่อออกมากในวันที่อากาศร้อน หรือในตอนที่ออกกําลังกาย พ่อแม่ควรระวังสัญญาและอาการของภาวะขาดน้ำ ดังต่อไปนี้

  • ปากแห้ง
  • ปัสสาวะน้อย หรือผ้าอ้อมเปียกน้อยกว่าปกติ
  • ผิวแห้ง และเย็น
  • มีอาการหงุดหงิด
  • ง่วงนอน หรือวิงเวียนศรีษะ

วิธีป้องกันภาวะขาดน้ำในเด็ก

รู้จักสภาพร่างกายของเด็ก

ถ้าเด็กไม่ค่อยได้ออกกำลังกาย อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดน้ำ ในเวลาที่ลูกออกกำลังกายหรือเล่นในที่ที่อากาศร้อนมาก นอกจากนี้หากเด็กอ้วนหรือน้ำหนักเกิน รวมถึงไม่เคยออกกำลังกาย ก็เสี่ยงต่อภาวะขาดน้ำด้วย ดังนั้นเวลาที่ลูกทำกิจกรรม ในวันที่อากาศร้อนมาก ควรให้เขาหยุดพักดื่มน้ำบ่อยขึ้น

ดื่มน้ำอย่างเพียงพอ

ทั้งผู้ใหญ่และเด็กควรดื่มน้ำอย่างเพียงพอ และน้ำเปล่าถือเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุด พอเครื่องดื่มประเภทอื่น เช่น น้ำผลไม้ และเครื่องดื่มเกลือแร่ อาจมีน้ำตาลสูง

ตรวจสอบสภาพอากาศ ก่อนพาเด็กไปเล่นนอกบ้าน

การพาลูกไปออกกำลังกาย ในวันที่สภาพอากาศมีความชื้นสัมพัทธ์ 35% และอุณหภูมิอากาศ 35 องศาเซลเซียส อาจทำให้เกิดอาการป่วยเนื่องจากความร้อนได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการออกไปเล่นนอกบ้านในวันที่อากาศร้อน รวมถึงในช่วงเวลาที่มีแดดจัด เช่น ช่วงสายและช่วงบ่าย

สวมใส่เสื้อผ้าที่เหมาะสม

ควรใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าบาง เพื่อให้อากาศถ่ายเทได้สะดวก นอกจากนี้การใส่เสื้อผ้าที่ขับจนเกินไป อาจทำให้เสียเหงื่อมาก และเด็กๆ จะรู้สึกอึดอัด

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

สำหรับเด็ก ภาวะขาดน้ำที่ไม่รุนแรงจนถึงระดับปานกลาง สามารถเกิดขึ้นได้ง่าย โดยเฉพาะถ้าเด็กมีอาการท้องเสีย หรืออาเจียน ซึ่งถ้าเด็กมีอาการเหล่านี้ ควรพบคุณหมอทันที

  • ดื่มน้ำและกินอาหารไม่เพียงพอ
  • ดูเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย
  • ปัสสาวะสีเหลืองเข้ม หรือปัสสาวะน้อยลง
  • มีอาการปากแห้ง หรือตาแห้ง
  • หงุดหงิดง่าย
  • อาเจียนมากกว่า 1 ครั้ง
  • เด็กอายุต่ำกว่า 1 ปีมีอาการของภาวะขาดน้ำ

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

7 Tips to Prevent Dehydration in Children. https://www.webmd.com/children/prevent-dehydration-children#1. Accessed December 31, 2022.

Dehydration. https://kidshealth.org/en/parents/dehydration.html. Accessed December 31, 2022.

Treating Dehydration in Children Under 12 Years Old. https://www.webmd.com/first-aid/dehydration-in-children-treatment. Accessed December 31, 2022.

Dehydration. https://www.nhs.uk/conditions/dehydration/. Accessed December 31, 2022.

Pediatric Dehydration. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/books/NBK436022/. Accessed December 31, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet

อัปเดตโดย: Duangkamon Junnet

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา