backup og meta

ลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด เกิดจากอะไร ควรดูแลอย่างไร

ลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด เกิดจากอะไร ควรดูแลอย่างไร

ลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด อาจเกิดจากสาเหตุหลายประการ เช่น การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ การแพ้โปรตีนในนมวัว โรคลำไส้อักเสบ โดยปกติสามารถรักษาให้หายได้ตามสาเหตุของโรค อย่างไรก็ตาม หากลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด ร่วมกับมีอาการอื่น ๆ  เช่น มีไข้ อ่อนเพลีย มีมูกเลือดในปริมาณมาก ขณะขับถ่าย ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอเพื่อรับการวินิจฉัยและรับการรักษาโดยเร็วที่สุด

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด เกิดจากอะไร

ลูกท้องเสียและถ่ายมีมูกเลือด อาจเกิดได้จากสาเหตุต่อไปนี้

  • ภาวะท้องเสียเรื้อรัง อาการท้องเสียเรื้อรังที่มีระยะยาวนานกว่า 3-4 สัปดาห์ อาจทำให้ถ่ายอุจจาระเป็นมูกเลือดได้
  • การติดเชื้อที่ผิวหนัง การติดเชื้อที่ผิวหนังบริเวณทวารหนักอาจทำให้อุจจาระเป็นเลือดได้
  • การติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้ เช่น เชื้อชิเกลลา (Shigella) เชื้อซาลโมเนลลา (Salmonella) เชื้ออีโคไล (E. coli) เชื้อแคมไพโลแบคเตอร์ (Campylobacter) ส่งผลให้ลำไส้ทำงานผิดปกติ และอาจถ่ายมีมูกเลือด
  • การแพ้โปรตีนนมวัว (Allergic colitis) เกิดจากปฏิกิริยาของภูมิคุ้มกันร่างกายต่อโปรตีนในนมวัว อาจทำให้อุจจาระเหลว เป็นเมือก และอาจมีเลือดออกได้
  • โรคลำไส้อักเสบ เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง (Ulcerative colitis) เป็นโรคที่ระบบทางเดินอาหารอักเสบจนอาจทำให้ท้องเสียและเกิดมูกเลือดได้ หากเสียเลือดต่อเนื่องเป็นเวลานานอาจทำให้เกิดภาวะโลหิตจางได้
  • โรคแผลขอบทวาร (Anal Fissure) เป็นโรคที่มีรอยแผลบริเวณเยื่อบุปากทวารหนัก หากเสียดสีอาจทำให้เลือดออกปนออกมาเมื่อขับถ่ายได้

อาการเมื่อลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด

อาการ เด็กท้องเสีย ที่พบ อาจมีดังนี้

  • ลูกมีอาการเซี่องซึม ไม่มีแรง
  • ลูกร้องไห้งอแงโดยไม่ทราบสาเหตุ
  • ลูกท้องเสีย และปวดท้อง
  • มีลิ่มเลือดปนอยู่ในอุจจาระ
  • ถ่ายอุจจาระเป็นสีดำ

วิธีการรักษาเมื่อลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด

การรักษาเมื่อลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด มักเป็นการรักษาตามอาการและสาเหตุของโรค เช่น หากเกิดจากการแพ้โปรตีนในนมวัว ควรรักษาด้วยการหลีกเลี่ยงการบริโภคผลิตภัณฑ์จากนมวัวที่ทำให้ลูกอุจจาระออกมาพร้อมกับมูกเลือด หากเกิดจากโรคติดเชื้อในลำไส้  คุณหมอจะให้การรักษาโดยอาจพิจารณาให้ยาฆ่าเชื้อ หากเกิดจากการอักเสบเรื้อรัง เช่น โรคโครห์น โรคลำไส้ใหญ่อักเสบเรื้อรัง คุณหมออาจรักษาด้วยการให้ยาต้านการอักเสบเพื่อบรรเทาอาการและลดการอักเสบ อาการลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือดส่วนใหญ่ หากได้รับการรักษาอย่างถูกวิธีก็จะทำให้หายป่วยได้ในเวลาไม่นาน และมักไม่เกิดเป็นปัญหาสุขภาพในระยะยาว

วิธีดูแลเมื่อ ลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด

วิธีดูแลเมื่อลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด อาจทำได้ดังนี้

  • หากลูกท้องเสียเนื่องจากแพ้โปรตีนในนมวัว คุณพ่อคุณแม่ควรหลีกเลี่ยงการให้ลูกกินผลิตภัณฑ์จากนมวัวทุกชนิด เช่น นม เนย ชีส โยเกิร์ต เพื่อหลีกเลี่ยงอาการท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือด
  • หากลูกเป็นโรคแผลขอบทวาร ควรรักษาความสะอาดบริเวณก้นของลูกอยู่เสมอ ล้างและเช็ดให้แห้งหลังการขับถ่าย หลีกเลี่ยงอาการท้องผูก และอาจสามารถทายาเพื่อการหล่อลื่นได้
  • เมื่อลูกท้องเสียอาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำ (Dehydration) ได้ จึงควรให้ลูกดื่มน้ำหรือเกลือแร่เพื่อทดแทนของเหลวที่ร่างกายสูญเสียไป
  • ให้ลูกกินอาหารอ่อน ๆ เช่น ข้าวต้ม ปลานึ่ง กุ้งสับต้มสุก หลีกเลี่ยงอาหารรสเผ็ดหรืออาหารทอด หากอาการดีขึ้นแล้วจึงค่อยให้กลับมากินอาหารตามปกติ แต่อาจต้องลดปริมาณการบริโภค จนกว่าจะหายดี

เมื่อไหร่ควรไปพบคุณหมอ

อาการที่ควรไปพบคุณหมอ อาจมีดังนี้

  • ลูกมีอายุน้อยกว่า 12 สัปดาห์ และมีอาการท้องเสียรุนแรง
  • ลูกไม่ยอมกินข้าว หรือดื่มอะไรเลย
  • ลูกอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
  • ลูกท้องเสียและอาเจียน
  • ลูกท้องเสียร่วมกับมีไข้
  • ลูกท้องเสีย ถ่ายมีมูกเลือดปริมาณมาก
  • ลูกถ่ายปัสสาวะออกมาเป็นสีชมพูหรือสีชา หรือปัสสาวะลดลง

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Stools – Blood In. https://www.seattlechildrens.org/conditions/a-z/stools-blood-in/. Accessed May 17, 2022

Treating Bloody Stools in Children. https://www.webmd.com/first-aid/treating-bloody-stools-in-children. Accessed May 17, 2022

Rectal Bleeding. https://kidshealth.org/Nemours/en/parents/az-symptoms-rectal-bleeding.html. Accessed May 17, 2022

Rectal Bleeding in Children. https://patient.info/digestive-health/rectal-bleeding-blood-in-faeces/rectal-bleeding-in-children#:~:text=For%20most%20children%20with%20rectal,paediatrician)%20or%20a%20bowel%20specialist. Accessed May 17, 2022

Anal fissure. https://www.gosh.nhs.uk/conditions-and-treatments/conditions-we-treat/anal-fissure/. Accessed May 17, 2022

Diarrhea Treatment in Children. https://www.webmd.com/first-aid/diarrhea-treatment-in-children. Accessed May 17, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

03/04/2024

เขียนโดย ศุภานิช สุริโย

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

วรรณกรรมเยาวชน แนะนำเล่มไหนดีที่จะช่วยปลูกฝังนิสัยรักการอ่าน

ทารกท้องเสีย เกิดจากอะไร ควรรับมือได้อย่างไรดี


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

แพทย์หญิงจิตรลดา ชินสุวรรณ

พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลเด็กสมิติเวช (ศรีนครินทร์)


เขียนโดย ศุภานิช สุริโย · แก้ไขล่าสุด 03/04/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา