ความรุนแรง อาจส่งผลกระทบทั้งต่อสุขภาพร่างกายและสุขภาพจิตใจ โดยเฉพาะ วัยรุ่น ที่เป็นช่วงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงในหลาย ๆ ด้าน ทั้งด้านร่างกาย อารมณ์ และสังคม วัยรุ่นที่มีปัญหาเกี่ยวข้องกับความรุนแรง อาจมีปัญหาสุขภาพจิตหลายประการ เช่น ภาวะซึมเศร้า วิตกกังวล ไม่มั่นใจในตัวเอง รวมถึงอาจนำไปสู่การทำร้ายตัวเองและผู้อื่นอีกด้วย ดังนั้น จึงควรหาวิธีการป้องกันความรุนแรงในวัยรุ่นอย่างเหมาะสม
ความรุนแรง ส่งผลต่อ วัยรุ่น อย่างไร
ความรุนแรงส่งผลร้ายแรงต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น โดยวัยรุ่นที่ถูกรังแกอาจประสบกับภาวะซึมเศร้า ความวิตกกังวล และอาจทำให้ความภูมิใจในตนเองต่ำลง อีกทั้งมีแนวโน้มที่จะรู้สึกโดดเดี่ยว ไม่อยากไปโรงเรียน หรืออาจส่งผลร้ายแรงถึงการทำร้ายตัวเอง หรืออาจรู้สึกอยากฆ่าตัวตาย
ส่วนวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมใช้ความรุนแรงต่อผู้อื่น มีความเสี่ยงสูงที่จะมีพฤติกรรมต่อต้านสังคมอย่างรุนแรง จนอาจทำให้เกิดปัญหาที่โรงเรียน การใช้สารเสพติด และมีพฤติกรรมก้าวร้าว โดยผู้ปกครองควรใส่ใจกับพฤติกรรมที่เป็นสัญญาณเตือนเหล่านี้ เช่น ทะเลาะวิวาทด้วยการใช้กำลังหรือวาจา มีพฤติกรรมโทษผู้อื่นเมื่อตัวเองทำความผิด
นอกจากนี้วัยรุ่นที่ยืนดูการใช้ความรุนแรง อาจประสบกับปัญหาสุขภาพจิตได้เช่นกัน อาจมีความรู้สึกวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้า โดยวัยรุ่นเหล่านี้อาจเผชิญกับความเครียดเพราะกลัวว่าตนจะถูกใช้ความรุนแรงเมื่อใด หรือรู้สึกกังวลเมื่ออยากเข้าไปช่วยผู้อื่นแต่ไม่สามารถทำได้
ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงในวัยรุ่น
ความรุนแรงในวัยรุ่นอาจหมายถึงการใช้ความรุนแรงในการทำร้ายร่างกายจนก่อให้เกิดอาการบาดเจ็บหรืออาจรุนแรงไปถึงการฆาตกรรม ซึ่งเหล่านี้ถือเป็นความรุนแรงที่ส่งผลกระทบร้ายแรงต่อจิตใจและสังคมของบุคคลนั้น ทั้งตัวผู้กระทำและผู้ถูกกระทำเอง มาดูกันว่าจะมีปัจจัยอะไรบ้างที่ทำให้ ความรุนแรงส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น ดังนี้
ปัจจัยเสี่ยงจากตัวบุคคล
- โรคสมาธิสั้น หรือเกิดความผิดปกติทางพฤติกรรม
- ดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยาเสพติด และสูบบุหรี่
- การมีส่วนร่วมในอาชญากรรม
- การว่างงาน
- ความรุนแรงในครอบครัว
- พฤติกรรมก้าวร้าว
- ตกเป็นเหยื่อการล่งละเมิดทางเพศ
- ตกเป็นเหยื่อของการกลั่นแกล้ง
- ปัจจัยทางพันธุกรรม
- ความบากเจ็บบริเวณศีรษะ
ปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากคนใกล้ชิด ทั้งครอบครัว เพื่อน คนรัก
- ครอบครัวไม่ใส่ใจดูแลเด็ก
- ครอบครัวเลี้ยงดูอย่างเข้มงวด หรือหละหลวมเกินไป
- ครอบครัวไม่ค่อยผูกพันกัน
- ครอบครัวไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมกับเด็ก
- ในครอบครัวมีการใช้สารเสพติด หรือมีความผิดทางอาญา
- ภาวะซึมเศร้าของคนในครอบครัว
- รายได้ของครอบครัวต่ำ
- การว่างงานในครอบครัว
- ครอบครัวอาจคบหากับกลุ่มที่ชอบใช้ความรุนแรง
ปัจจัยเสี่ยงภายในสังคม
- ทำให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงแอลกอฮอล์ได้ง่าย
- ทำให้วัยรุ่นสามารถเข้าถึงการใช้อาวุธปืน
- มีกลุ่มหรือแก๊งผิดกฎหมายในท้องถิ่น
- ความไม่เท่าเทียมกันของรายได้
- ความยากจน
- คุณภาพของกฎหมายและขอบเขตของการบังคับใช้ ตลอดจนนโยบายเพื่อการศึกษาและการคุ้มครองทางสังคม
ป้องกันความรุนแรงในวัยรุ่น
เมื่อครอบครัวหรือบุคคลในสังคมพบเห็นวัยรุ่นที่มีแนวโน้มมีปัญหาสุขภาพจิต การพาวัยรุ่นเข้ารับการรักษาโดยผู้เชี่ยวชาญตั้งแต่เนิ่น ๆ มักช่วยแก้ปัญหาได้ โดยแพทย์จะให้เด็กรู้จักเรียนรู้ความโกรธของตนเอง รับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองและยอมรับผลที่ตามมา นอกจากนี้ควรเริ่มแก้ปัญหาความขัดแย้งภายในครอบครัว ปัญหาโรงเรียน และปัญหาภายในสังคมด้วย
เพื่อป้องกัน ความรุนแรงส่งผลต่อสุขภาพจิตในวัยรุ่น มาดูกันว่าจะมีวิธีอะไรบ้าง
- การป้องกันการล่วงละเมิดทางเพศในเด็ก โดยอาจทำกิจกรรม เช่น การอบรมผู้ปกครอง หรือสร้างโปรแกรมช่วยเหลือครอบครัว
- จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องเพศศึกษาและการอบรมเลี้ยงดูสำหรับวัยรุ่น
- เฝ้าระวัง และร่วมกันสอดส่องดูแลพฤติกรรามความรุนแรงในวัยรุ่น
- ระวังการรับสื่อของวัยรุ่นเกี่ยวกับความรุนแรงในช่องทางต่าง ๆ
- แนวทางการป้องกันความรุนแรงในสถานศึกษาทั้งโรงเรียน
- ให้ความรู้ผู้ปกครองเกี่ยวกับการเลี้ยงลูกวัยรุ่นเชิงบวก
- ลดการเข้าถึงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในวัยรุ่น
- ป้องการยาเสพติดในสังคม
[embed-health-tool-bmi]