backup og meta

6 พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย Duangkamon Junnet


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/05/2023

    6 พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น ที่พ่อแม่ควรเฝ้าระวัง

    พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองและคนรอบข้างควรให้ความใส่ใจ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การดูแลตนเอง การคบเพื่อน โดยอาจเฝ้าสังเกตอยู่ห่าง ๆ และคอยให้คำปรึกษาเมื่อวัยรุ่นต้องการ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นกับวัยรุ่นทั้งในระยะสั้นและระยะยาว

    พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น มีอะไรบ้าง

    วัยรุ่นเป็นวัยที่ต้องการความอิสระ อยากรู้อยากลองสิ่งต่าง ๆ ซึ่งในบางเรื่องอาจเพิ่มความเสี่ยงต่อสุขภาพโดยรวมของวัยรุ่น และอาจส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาวได้เช่นกัน พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น อาจมีดังต่อไปนี้

    การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด

    เด็กวัยรุ่นบางคนอาจมีพฤติกรรมเสี่ยงใช้สารเสพติดหรือดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์บ่อยครั้ง ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดปัญหาสุขภาพอื่น ๆ ที่อาจตามมา เช่น

    • อาจเกิดปัญหาพัฒนาการทางร่างกาย
    • อาจเกิดปัญหาด้านพัฒนาการทางสมอง
    • อาจมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน เสี่ยงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือท้องโดยไม่พร้อม
    • อาจนำไปสู่การใช้ความรุนแรงในการแก้ปัญหา และมีพฤติกรรมทางเพศที่รุนแรง
    • เพิ่มความเสี่ยงต่อการฆ่าตัวตายและการก่ออาชญากรรม
    • อาจเสี่ยงเกิดการบาดเจ็บหรืออุบัติเหตุ

    การเจาะร่างกาย

    วัยรุ่นที่ชื่นชอบการเจาะร่างกายอาจเป็นอีกหนึ่ง พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ที่อาจเพิ่มโอกาสการติดเชื้อโรคทางเลือด เช่น ไวรัสตับอักเสบบี ไวรัสตับอักเสบซี หรือเชื้อไวรัส HIV เชื้อไวรัสเหล่านี้เป็นอันตรายต่อสุขภาพโดยรวมของวัยรุ่นและอาจส่งผลต่อครอบครัวหรือคนรอบข้างได้เช่นกัน

    ความรุนแรงในโรงเรียน

    ความรุนแรงในวัยรุ่นเป็น พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น ที่อาจส่งผลต่อการเรียนรู้ พัฒนาการ สุขภาพร่างกาย รวมถึงอาจส่งผลเสียต่อโรงเรียนและสังคมด้วย ตัวอย่างพฤติกรรมรุนแรงในโรงเรียน ดังนี้

    • การกลั่นแกล้งทั้งต่อหน้าและในโลกอินเทอร์เน็ต
    • การทำร้ายร่างกาย
    • การใช้อาวุธ
    • ความรุนแรงทางเพศ

    พฤติกรรมทางเพศ

    พฤติกรรมทางเพศในวัยรุ่นอาจนำไปสู่การตั้งครรภ์ในวัยรุ่น หรืออาจเสี่ยงต่อโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ เช่น การมีเพศสัมพันธ์เมื่ออายุยังน้อย การเปลี่ยนคู่นอนหลายคน ไม่ป้องกันเมื่อมีเพศสัมพันธ์ ไม่ได้รับการตรวจโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือการใช้สารเสพติดระหว่างมีเพศสัมพันธ์

    พฤติกรรมการกิน

    พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ในเลือกการรับประทานอาหารที่มีดีต่อสุขภาพ ได้แก่ ไม่รับประทานผักและผลไม้ ไม่ดื่มนม ชื่นชอบในเครื่องดื่มที่มีน้ำตาลมาก เช่น น้ำอัดลม หรือไม่รับประทานอาหารเช้า

    ออกกำลังกายไม่เพียงพอ

    พฤติกรรมเสี่ยงอีกข้อที่ส่งผลต่อสุขภาพวัยรุ่นคือ การไม่ออกกำลังกาย เพราะในปัจจุบัน วัยรุ่นส่วนใหญ่มักชื่นชอบในการเล่นวิดีโอเกม เล่นคอมพิวเตอร์หลายชั่วโมงต่อวัน หรือดูโทรทัศน์มากเกินไป จนอาจส่งผลต่อการนอนหลับและไม่ใส่ใจในการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ

    การป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพวัยรุ่น

    เพื่อป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพในวัยรุ่น ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม มีหลายสิ่งที่วัยรุ่นและครอบครัวสามารถทำได้เพื่อสุขภาพที่ดีของวัยรุ่น

    การป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น ด้วยตนเอง

    • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ วัยรุ่นควรออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 60 นาที
    • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพจะช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการของวัยรุ่นให้สมบูรณ์
    • ควบคุมน้ำหนัก เด็กวัยรุ่นมีแนวโน้มเป็นโรคอ้วนมากขึ้นเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ และอาจเพิ่มความเสี่ยงเป็นโรคเรื้อรังอื่น ๆ หรือภาวะซึมเศร้า และอาจนำไปสู่การล้อเลียนและการถูกกลั่นแกล้ง
    • นอนหลับให้เพียงพอ วัยรุ่นควรนอนหลับอย่างน้อย 7-9 ชั่วโมงต่อวัน เพราะการนอนหลับอย่างเพียงพอส่งผลต่อการมีสมาธิและการเรียนรู้ที่ดี
    • ฉีดวัคซีน วัยรุ่นควรได้รับวัคซีนเพื่อป้องกันโรค เช่น วัคซีนไข้หวัดใหญ่ วัคซีนป้องกัน HPV เพื่อป้องกันการติดเชื้อ HPV และมะเร็งปากมดลูก
    • ดูแลสุขภาพช่องปาก ดูแลสุขภาพช่องปากเป็นประจำเพื่อป้องกันปัญหาฟันและเหงือกในวัยผู้ใหญ่
    • ใช้ครีมกันแดด เพราะแสงแดดเป็นอันตราย วัยรุ่นชอบใช้ชีวิตทำกิจกรรมกลางแจ้ง จึงอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเป็นมะเร็งผิวหนังในผู้ใหญ่
    • อย่าฟังเพลงเสียงดัง การฟังเพลงเสียงดังเป็นประจำอาจทำให้วัยรุ่นสูญเสียการได้ยินได้

    การป้องกัน พฤติกรรมเสี่ยงของวัยรุ่น จากครอบครัว

    ผู้ปกครองสามารถดูแลวัยรุ่นที่มีพฤติกรรมเสี่ยงต่อสุขภาพ โดยเริ่มจากการรับฟังและทำความเข้าใจเกี่ยวกับวัยรุ่นให้มากขึ้น จากนั้นจึงอาจใช้วิธีดังต่อไปนี้

    • เรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับปัญหาที่วัยรุ่นกำลังเผชิญ
    • พูดคุยกับบุตรหลานอยู่เสมอ เช่น ถามไถ่เรื่องราวต่าง ๆ ทำความรู้จักเพื่อนร่วมโรงเรียน หาเวลาสอนเกี่ยวกับสุขภาพ ถามถึงเรื่องที่วัยรุ่นอาจมีความกังวล
    • ส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดีให้กับวัยรุ่น
    • ติดตามแหล่งข้อมูลบริการด้านสุขภาพของบุตรหลาน

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    Duangkamon Junnet


    เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 30/05/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา