backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก

สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ

สีผสมอาหาร ทำให้อาหารมีสีสันสดใส โดยเฉพาะในขนมหวาน หรือในลูกชิ้นทอดที่เด็กๆ หลายคนชอบกิน อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่ชี้ว่าสีผสมอาหารอาจสัมพันธ์กับอาการของโรคสมาธิสั้นในเด็ก แล้วแบบนี้สีผสมอาหารจะส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ หรือเปล่า

สีผสมอาหารคืออะไร

สีผสมอาหารประกอบด้วยสารเคมี ที่ใช้เพื่อเพิ่มสีสันให้อาหาร โดยสีผสมอาหารมักจะพบในอาหารแปรรูป เครื่องดื่ม และเครื่องปรุงรส ซึ่งผู้ผลิตมักจะใส่สีผสมอาหาร ด้วยเหตุผลดังต่อไปนี้

  • เพื่อเพิ่มหรือลดสีของอาหาร
  • เพื่อรักษาสีของอาหารให้คงอยู่
  • เพื่อให้อาหารมีสีที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน

ปัจจุบันถือว่ายังไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะสรุปได้ว่า สารปรุงแต่งอาหาร เช่น สารกันบูด สารให้ความหวานแทนน้ำตาล และสีผสมอาหาร เป็นเหตุให้เกิดโรคสมาธิสั้น และเรื่องผลกระทบจากการกินสารปรุงแต่งอาหาร ยังคงเป็นที่กรณีโต้แย้ง

สีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อสุขภาพของเด็กๆ

เนื่องจากมีงานวิจัยชี้ว่า สีผสมอาหารบางชนิดและสารกันบูด อาจทำให้เด็กแสดงพฤติกรรมของโรคสมาธิสั้นมากขึ้น ในขณะที่องค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ ชี้ว่างานวิจัยไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่า มีความเชื่อมโยงระหว่างอาหารที่ใส่สีผสมอาหาร กับอาการซน และไม่อยู่นิ่งของเด็ก (Hyperactivity)

นอกจากนี้มีงานวิจัยที่พบว่า การกำจัดสีผสมอาหารออกจากอาหาร รวมถึงสารกันบูดที่เรียกว่า โซเดียมเบนโซเอต (Sodium Benzoate) ผลการวิจัยพบว่าสามารถลดอาการซนและอยู่ไม่สุขของเด็กได้ มากไปกว่านั้นยังมีงานวิจัยที่พบว่า 73% ของเด็กที่เป็นโรคสมาธิสั้นมีอาการลดลง เมื่อจำกัดการบริโภคสีผสมอาหารและสารกันบูด

และยังมีงานวิจัยที่ให้ข้อมูลว่า สีผสมอาหารและโซเดียมเบนโซเอต ทำให้อาการซนและอยู่ไม่นิ่งของเด็กเพิ่มขึ้น ทั้งในเด็กที่อายุ 3 ปีและกลุ่มเด็กอายุ 8-9 ปี อย่างไรก็ตาม เนื่องจากกลุ่มตัวอย่างได้รับทั้งสีผสมอาหารและโซเดียมเบนโซเอตผสมกัน จึงยากที่จะระบุว่าอะไรเป็นสาเหตุของอาการซนและอยู่ไม่นิ่งของเด็ก

สรุปแล้วสีผสมอาหารเป็นอันตรายหรือไม่

ทั้งนี้อาจสรุปได้ว่า งานวิจัยได้แนะนำว่ามีความเชื่อมโยงระหว่างสีผสมอาหารกับอาการซน และอยู่ไม่นิ่งของเด็กอย่างมีนัยสำคัญ นอกเหนือจากนี้ยังมีงานวิจัยที่ชี้ว่า เด็กบางคนดูเหมือนจะมีปฏิกิริยาต่อสีผสมอาหารมากกว่าเด็กคนอื่น แต่อย่างไรก็ตาม ทั้งองค์กรอาหารและยาของสหรัฐฯ และองค์กร European Food Safety Authority หรือ EFSA ต่างก็กล่าวว่า ในปัจจุบันยังไม่มีหลักฐานที่เพียงพอที่จะสรุปว่าสีผสมอาหารไม่ปลอดภัย

ถ้าคุณพ่อคุณแม่กังวล ว่าการกินอาหารที่มีสีผสมอาหาร อาจส่งผลต่อพฤติกรรมของลูก ควรปรึกษาแพทย์  นอกจากนี้ควรมุ่งไปที่การกินอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ เช่น ผักและผลไม้ รวมถึงคุณพ่อคุณแม่ควรจำกัดปริมาณอาหารแปรรูป และอาหารที่มีน้ำตาลมาก เพื่อสุขภาพที่ดีของลูก

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัย หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด



ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Sopista Kongchon · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา