backup og meta

ตาขี้เกียจ โรคพบบ่อยในเด็ก กับสาเหตุและอาการที่ควรรู้

ตาขี้เกียจ โรคพบบ่อยในเด็ก กับสาเหตุและอาการที่ควรรู้

ตาขี้เกียจ (Amblyopia) เป็นโรคทางจักษุที่เกิดขึ้นเมื่อดวงตาลดการทำงานในการมองเห็นอย่างรุนแรง ในช่วงวัยทารกและวัยเด็ก แว่นตาหรือคอนเทคเลนส์อาจไม่สามารถแก้ไขอาการดังกล่าวได้ ในบางรายผู้ป่วยอาจได้รับผลกระทบทางสายตาเพียงข้างเดียว หรือการมองเห็นลดลงอาจเกิดขึ้นกับดวงตาทั้ง 2 ข้าง หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ทำการรักษา อาการตาขี้เกียจอาจก่อให้เกิดอาการตาบอดได้

[embed-health-tool-vaccination-tool]

สัญญาณโรค ตาขี้เกียจ เป็นอย่างไร

โรคตาขี้เกียจเป็นปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในทารกและเด็กวัยเจริญเติบโต ซึ่งกำลังมีพัฒนาการด้านการมองเห็น โดยอาการของโรคยากที่จะสังเกตเห็น เด็กที่มีอาการของโรคตาขี้เกียจอาจไม่รู้สึกว่ามีปัญหาการมองเห็น เพราะเคยชินกับการใช้งานสายตาในข้างที่ดีกว่า โดยไม่รู้สึกถึงว่าสายตาอีกข้างที่อ่อนแอกว่านั้นเป็นปัญหา

คุณพ่อคุณแม่อาจสังเกตเห็นปัญหา หากพบว่าเด็กหรี่ตาหรือเอียงคอ เพื่อทำให้มองเห็นได้ชัดเจนขึ้นอยู่บ่อยครั้ง หรือในเด็กหลายคนอาจมีปัญหาในการมองเห็นภาพสามมิติ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่อาจลองทำการทดสอบง่าย ๆ ด้วยการปิดตาข้างหนึ่งและเปิดตาข้างหนึ่งของเด็กทีละข้าง และลองถามเด็กว่า ดวงตาแต่ละข้างสามารถมองเห็นได้ชัดเจนดีหรือไม่ เพื่อดูว่าเด็กไม่มีปัญหาเมื่อปิดตาข้างใดข้างหนึ่ง หากพบว่าเด็กรู้สึกมองเห็นได้ไม่สะดวกด้วยตาข้างใดข้างหนึ่ง นั่นหมายความว่า ดวงตาข้างที่ไม่ได้ปิดตานั้นมีอาการของโรคตาขี้เกียจ

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นทดสอบอาการขั้นพื้นฐาน ไม่อาจทดแทนการตรวจสอบสายตาจากผู้เชี่ยวชาญได้ ในกรณีที่เด็กมีอาการ คุณพ่อคุณแม่ควรนัดหมายเพื่อเข้ารับการตรวจสายตาอย่างละเอียดจากผู้เชี่ยวชาญทันที

สาเหตุของโรคตาขี้เกียจ

โรคตาขี้เกียจอาจเกิดขึ้นเมื่อดวงตาข้างหนึ่งสามารถมองเห็นได้ชัดเจนกว่าดวงตาอีกข้างหนึ่ง ซึ่งสาเหตุอาจแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้

  •  เกิดจากตาเหล่ (Strabismic Amblyopia) อาจพบได้บ่อยและเป็นสาเหตุหลักของโรคตาขี้เกียจ โดยดวงตาไม่สามารถทำงานสอดประสานกันได้ดี ทำให้มองเห็นภาพซ้อนและอาจทำให้สมองละเลยภาพจากดวงตาข้างมีปัญหา
  • สายตาข้างใดข้างหนึ่งมีปัญหา (Refractive Amblyopia) บางครั้งดวงตาของผู้ที่มีอาการตาขี้เกียจนั้นก็ปกติดี แต่ในบางกรณี อาการตาขี้เกียจอาจเกิดจากการที่สายตามีความผิดปกติในดวงตาทั้ง 2 ข้าง สมองจะเลือกใช้ตาข้างที่มีความผิดปกติทางสายตาที่น้อยกว่า และละเลยภาพที่ไม่ชัดเจนจากสายตาอีกข้างหนึ่ง เมื่อเวลาผ่านไป ดวงตาข้างที่ไม่ได้ใช้งานอาจเป็นสาเหตุให้เกิดโรคตาขี้เกียจได้
  • เกิดจากตาถูกบดบังการมองเห็น (Deprivation Amblyopia) อาการนี้อาจเกิดจากสาเหตุที่มีบางอย่างมาบดบังแสงที่จะส่องเข้ามาสู่ดวงตา เช่น ตาต้อกระจกแต่กำเนิด (Congenital Cataract) การรักษาตาต้อกระจกที่เป็นมาตั้งแต่กำเนิดนั้นเป็นสิ่งสำคัญ และอาจช่วยให้เด็กสามารถมีพัฒนาการของการมองเห็นเกิดขึ้นได้ตามปกติ

[embed-health-tool-child-growth-chart]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Amblyopia (lazy eye). http://www.allaboutvision.com/conditions/amblyopia.htm. Accessed  February 28, 2017

What is amblyopia? http://www.webmd.com/eye-health/amblyopia-child-eyes#1. Accessed  February 28, 2017

Facts about amblyopia. https://nei.nih.gov/health/amblyopia/amblyopia_guide. Accessed  February 28, 2017

Amblyopia. http://kidshealth.org/en/parents/amblyopia.html#. Accessed February 28, 2017

Lazy eye (amblyopia). https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/lazy-eye/symptoms-causes/syc-20352391#:~:text=Lazy%20eye%20(amblyopia)%20is%20reduced,lazy%20eye%20affects%20both%20eyes. Accessed June 09, 2022

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/12/2022

เขียนโดย อนันตา นานา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย เนตรนภา ปะวะคัง

อัปเดตโดย: เนตรนภา ปะวะคัง


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีถนอมสายตา เมื่อต้องจ้องหน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานานๆ

6 โรคตา ที่ควรระวัง หากยับยั้งไม่ทัน อาจเสี่ยงต่อการตาบอด


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

เนตรนภา ปะวะคัง


เขียนโดย อนันตา นานา · แก้ไขล่าสุด 27/12/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา