อาการกรดไหลย้อนในเด็ก เกิดจากหูรูดของหลอดอาหารส่วนปลายทำงานผิดปกติ ทำให้น้ำย่อยภายในกระเพาะอาหารไหลย้อนกลับขึ้นมาทางหลอดอาหาร ส่งผลให้เด็กสะอึกหรืออาเจียนบ่อย ทั้งนี้ หากเกิดขึ้นในเด็กเล็ก อาการเหล่านี้มักหายไปได้เองหลังจากขวบปีแรก
[embed-health-tool-bmi]
สาเหตุ อาการกรดไหลย้อนในเด็ก
สาเหตุ อาการกรดไหลย้อนในเด็ก เกิดจากระบบย่อยอาหารของเด็กเล็กยังทำงานได้ไม่เต็มที่ ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ไม่ต้องเป็นกังวลจนเกินไปนัก โดยปกติ อาการกรดไหลย้อนในเด็ก มักหายไปได้เองหลังจากขวบปีแรก สำหรับเด็กโต กรดไหลย้อนอาจเกิดขึ้นได้จากระบบกล้ามเนื้อปิดเปิดระหว่างกระเพาะและหลอดอาหารมีแรงดันมาจากด้านล่างของกล้ามเนื้อที่เปิดปิดบ่อยเกินไป ทำให้กรดในกระเพาะอาหารดันขึ้นมาในหลอดอาหาร ส่งผลให้ลูกอาเจียนหรือคลื่นไส้บ่อยครั้ง หากปรับพฤติกรรมการรับประทานอาหารและการใช้ชีวิต อาจช่วยป้องกันอาการดังกล่าวได้
อาการกรดไหลย้อนในเด็ก
อาการกรดไหลย้อนในเด็ก อาจสังเกตได้จากลักษณะต่าง ๆ ดังนี้
- สำลักอาหาร หายใจเสียงดังฮืด
- อาเจียนบ่อย
- ไอเรื้อรัง
- เรอ
- มีกลิ่นปาก
- เบื่ออาหารหรือมีปัญหาการรับประทาน
- ร้องไห้ระหว่างมื้ออาหารหรือหลังรับประทานอาหาร
- แสบร้อนบริเวณทรวงอก
- มีแก๊ส รู้สึกแน่นในท้อง หรือปวดเสียดท้อง
การวินิจฉัย อาการกรดไหลย้อนในเด็ก
คุณหมออาจวินิจฉัย อาการกรดไหลย้อนในเด็ก ด้วยวิธีต่าง ๆ ดังนี้
- ตรวจทางเดินอาหาร ด้วยการเอกซเรย์และให้เด็กรับประทานของเหลว ซึ่งของเหลวที่ลงไปในกระเพาะทำให้คุณหมออาจทราบกระบวนการกลืนอาหาร ทางเดินอาหารว่าติดขัดส่วนใดหรือไม่
- ทดสอบความเป็นกรดในกระเพาะอาหาร คุณหมออาจสอดท่อที่มีความยืดหยุ่นผ่านทางจมูกลงไปในกระเพาะอาหารจนถึงกล้ามเนื้อหูรูดของหลอดอาหารเป็นเวลา 24 ชั่วโมง
- ส่องกล้อง คุณหมออาจตรวจดูหลอดอาหารโดยใช้กล้องขนาดเล็กส่องลงไป หรืออาจเก็บตัวอย่างชิ้นเนื้อในเยื่อบุหลอดอาหารเพื่อนำมาวิเคราะห์หาสาเหตุ
การรักษากรดไหลย้อนในเด็ก
คุณพ่อคุณแม่อาจให้ลูกรับประทานยาลดกรดในกระเพา เช่น ไซเมทิโคน (Simethicone) ยาแคลเซียมคาร์บอร์เนต อย่างไรก็ตาม ยาเหล่านี้ยังไม่ได้รับการรับรองว่าช่วยบรรเทาอาการกรดไหลย้อนในเด็กได้ แต่โดยทั่วไป ยาลดกรด หรือยาขับแก๊สนั้นปลอดภัย แต่หากรับประทานในปริมาณสูง อาจส่งผลข้างเคียง เช่น ท้องเสีย ร่างกายอ่อนเพลีย
วิธีป้องกัน อาการกรดไหลย้อนในเด็ก
คุณพ่อคุณแม่อาจปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเลี้ยงดูเพื่อป้องกัน อาการกรดไหลย้อนในเด็ก ดังนี้
สำหรับเด็กทารก
- ให้เด็กรับประทานอาหารที่ไม่นิ่มจนเกินไปนัก
- ยกส่วนหัวของเตียงเด็กหรือเปลให้สูงขึ้นขณะนอนหลับ
- อุ้มเด็กให้อยู่ในท่าลำตัวตั้งตรงประมาณสามสิบนาทีหลังป้อนอาหาร
- เพิ่มซีเรียลในน้ำนม (โปรดปรึกษากุมารแพทย์ก่อนใช้วิธีนี้)
- ปรับตารางการรับประทานอาหารใหม่
สำหรับเด็กโต
- ยกส่วนหัวของเตียงให้สูงขึ้นขณะนอนหลับ
- ให้เด็กอยู่ในท่าที่ลำตัวตั้งตรงหลังรับประทานอาหารอย่างน้อย 2 ชั่วโมง
- แบ่งมื้ออาหารออกเป็นมื้อย่อย ๆ ระหว่างวันแทนที่จะกินอาหารมื้อใหญ่ 3 มื้อ
- จำกัดอาหารและเครื่องดื่มที่อาจทำให้อาการกรดไหลย้อนในเด็กแย่ลง
- ส่งเสริมให้เด็กออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
- หลีกเลี่ยงการรับประทานผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ช็อคโกแลต เครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน น้ำอัดลม อาหารที่มีไขมันสูง อาหารรสเผ็ด อาหารที่ทำจากซอส กระเทียม หัวหอม เพราะอาจส่งผลให้กระเพาะสร้างกรดปริมาณมากจนเกิดอาการกรดไหลย้อนในเด็ก