backup og meta

ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย เป็นอย่างไร

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์ · พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย เป็นอย่างไร

    คุณพ่อคุณแม่ควรทราบถึง ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กในแต่ละวัย เพราะอาจใช้ในการประเมินการเจริญเติบโตของร่างกายที่เหมาะสม และอาจบ่งบอกถึงสุขภาพเบื้องต้นของเด็กได้ นอกจากนี้ อาจมีปัจจัยบางประการที่ควรปรับเปลี่ยน เพื่อช่วยส่งเสริมส่วนสูงของเด็กให้เหมาะสมตามวัย

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ของเด็กแต่ละวัย

    เด็กควรมีการเจริญเติบโตทางร่างกายที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสมตามวัย โดยเฉพาะ ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุ ที่ควรมีการเปลี่ยนแปลงอย่างเหมาะสม มีดังนี้

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กทารก

  • เด็กแรกเกิด เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 49.2 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 49.9 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 1-6 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 53.7-65.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 54.7-67.6 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 7-11 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 67.3-72.8 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 69.2-74.5 เซนติเมตร
  • ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กวัยหัดเดิน

    • เด็กอายุ 12-14 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 74-76.4 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 75.8-78.1 เซนติเมตร
    • เด็กอายุ 15-17 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 77.5-79.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 79.2-81.3 เซนติเมตร
    • เด็กอายุ 18-20 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 80.7-82.7 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 82.3-84.2 เซนติเมตร
    • เด็กอายุ 21-23 เดือน เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 83.7-85.5 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 85.1-86.9 เซนติเมตร

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กก่อนวัยเรียน

    • เด็กอายุ 2-2.5 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 85-90 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 87-91 เซนติเมตร
    • เด็กอายุ 3-3.5 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 94-98 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 95-99 เซนติเมตร
    • เด็กอายุ 4-4.5 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 101-105 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 103-106 เซนติเมตร

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กโต

  • เด็กอายุ 5 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 108 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 109 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 6 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 115 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 116 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 7 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 122 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 122 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 8 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 128 เซนติเมตร เด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 128 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 9-12 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 127-163 เซนติเมตร เด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 128-161 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 14-16 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 150-173 เซนติเมตร ส่วนเด็กผู้ชาย 150-185 เซนติเมตร
  • เด็กอายุ 18 ปี เด็กผู้หญิงควรมีส่วนสูงประมาณ 152-174 เซนติเมตร เด็กผู้ชายควรมีส่วนสูงประมาณ 165-187 เซนติเมตร
  • วิธีเพิ่มส่วนสูงตามเกณฑ์อายุให้เหมาะสม

    ส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กอาจมีการเปลี่ยนแปลงที่เกี่ยวข้องกับปัจจัยภายใน เช่น กรรมพันธุ์ ฮอร์โมน เพศ ซึ่งเป็นปัจจัยที่ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ แต่การปรับเปลี่ยนปัจจัยภายนอกร่างกาย เช่น อาหาร การออกกำลังกาย การนอน อาจช่วยเพิ่มส่วนสูงตามเกณฑ์อายุของเด็กได้ ดังนี้

    • การรับประทานอาหาร อาหารเป็นสิ่งสำคัญต่อการเจริญเติบโตทางร่างกายของเด็ก เนื่องจากเด็กจำเป็นต้องได้รับอาหารที่หลากหลายอย่างครบถ้วนทั้งโปรตีน คาร์โบไฮเดรต วิตามินและแร่ธาตุ เพื่อช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ การเจริญเติบโต และใช้เป็นพลังงานในการทำกิจกรรมแต่ละวัน
    • การออกกำลังกาย มีประโยชน์ในการช่วยเสริมสร้างกล้ามเนื้อ ความยืดหยุ่น และความแข็งแรงของกระดูก ซึ่งส่งผลดีต่อการพัฒนาส่วนสูงของเด็ก
    • การนอนหลับ ในระหว่างการนอนหลับร่างกายจะซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอ และปรับสมดุลฮอร์โมนให้เป็นปกติ ซึ่งส่งผลดีต่อการเจริญเติบโตของร่างกายและพัฒนาการทางสมองของเด็ก
    • การฝึกท่าทางที่ดี บุคลิกภาพสำคัญต่อความสูง เนื่องจากเมื่อเวลาผ่านไปหลังอาจค่อย ๆ งอตัวลงตามธรรมชาติ จนทำให้คล้ายว่าความสูงลดลง จึงควรฝึกบุคลิกภาพของเด็กอยู่เสมอ โดยให้นั่งหรือยืนคอตรงและหลังตรง
    • การรักษาปัญหาสุขภาพเรื้อรัง ปัญหาสุขภาพบางอย่าง เช่น โรคซิสติก ไฟโบรซิส (Cystic Fibrosis) โรคซิลิแอค (Celiac Disease) ทำให้การดูดซึมสารอาหารของร่างกายลดลง ส่งผลให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารสำหรับส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างเพียงพอ

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    แพทย์หญิงสุสิตา หวังจิรนิรันดร์

    พ่อแม่เลี้ยงลูก · โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร


    เขียนโดย ทัตพร อิสสรโชติ · แก้ไขล่าสุด 02/03/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา