backup og meta

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส มีประโยชน์อย่างไร เคล็ดลับการใส่ผ้าอ้อมสำเร็จรูป

แพมเพิส ผ้าอ้อมเด็ก หรือผ้าอ้อมสำเร็จรูป ใช้สวมใส่ให้ลูกเพื่อรองรับการขับถ่ายของทารก แพมเพิสนั้นใช้ได้ตั้งแต่แรกเกิด ควรเตรียมไปเพื่อให้ลูกใส่ก่อนออกจากโรงพยาบาล เพราะผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพิ่มความสะดวกสบายง่ายต่อการสวมใส่ แต่การใช้ผ้าอ้อมเด็ก ก็มีสิ่งสำคัญที่ต้องระมัดระวังเช่นกัน

[embed-health-tool-vaccination-tool]

ข้อดีของแพมเพิส

หน้าที่ของแพมเพิสหรือผ้าอ้อมสำเร็จรูปเพื่อซึมซับปัสสาวะและอุจจาระของทารกและเด็ก จึงช่วยให้คุณพ่อคุณแม่สะดวกสบาย เพียงใส่แพมเพิสให้กับทารก ลูกน้อยก็สามารถขับถ่ายได้สะดวก การซึมซับของแพมเพิสยังทำได้ดี คอยห่อตัวลูกให้ขับถ่ายของเสียออกจากร่างกาย ทำให้ทารกสบายตัว นอนหลับได้ดี การใช้แพมเพิสยังง่ายต่อการเปลี่ยน โดยสามารถนำแพมเพิสที่ใช้แล้วทิ้งขยะได้เลย จึงประหยัดเวลา ไม่ต้องซักบ่อย ๆ แบบผ้าอ้อมชนิดผ้า 

เคล็ดลับการใส่แพมเพิส

แพมเพิสสำหรับทารกมี 2 ประเภท วิธีเปลี่ยนแพมเพิสจึงแตกต่างกัน ดังนี้

เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบเทปกาว

  1. ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสควรดูแลทำความสะอาดทารก เช็ด หรือซับ ให้ตัวแห้งก่อนเปลี่ยนแพมเพิส
  2. เตรียมแพมเพิสแบบเทปกาวให้พร้อม กางออก หากมีขอบปกป้องการรั่วซึมให้ดึงตั้งขึ้น 
  3. จับทารกให้อยู่ในท่านอนหงาย นำแพมเพิสสอดเข้าไปใต้ก้นลูก โดยยกขาทั้ง 2 ข้างขึ้นเล็กน้อย
  4. ดึงตัวแพมเพิสขึ้นมาใกล้กับหน้าท้อง ให้ขอบของแพมเพิสต่ำกว่าสะดือเล็กน้อย จากนั้นนำแถบเทปที่อยู่ด้านหลังดึงมาติดให้กระชับกับด้านหน้า โดยสามารถปรับแถบกาวตามความเหมาะสม เพื่อไม่ให้เสียสีกับสะดือทารก โดยเฉพาะทารกแรกเกิดที่สะดือยังไม่หลุด
  5. ตรวจความเรียบร้อย ลองใช้นิ้วสอดระหว่างผ้าอ้อมกับตัวลูก ควรพอดีตัว ไม่หลวมเกินจนหลุด และไม่แน่นจนเสียดสีกับผิวของทารก สำหรับแพมเพิสแบบเทปกาวต้องคอยสังเกตไม่ให้แถบของเทปกาวสัมผัสกับผิวหนังลูก

เคล็ดลับการใส่แพมเพิสแบบกางเกง

  1. ทารกที่น้ำหนักเกิน 5 กิโลกรัม สามารถใส่แพมเพิสแบบกางเกงได้ ซึ่งแพมเพิสชนิดนี้จะเหมาะกับเด็ก 6 เดือนขึ้นไป เพื่อให้ง่ายต่อการเคลื่อนไหว
  2. ก่อนเปลี่ยนแพมเพิสแบบกางเกง ควรดูแลทำความสะอาดให้เรียบร้อย เช็ดตัวให้แห้ง 
  3. สวมแพมเพิสแบบสวมกางเกง โดยใส่ขาของทารกทีละข้าง ถ้าลูกยังไม่สามารถตั้งไข่ได้ให้นอนหงาย แล้วสวมแพมเพิสแบบกางเกง โดยค่อย ๆ ยกขาแล้วสวมแพมเพิสเข้าไป แต่หากลูกยืนได้แล้วให้เกาะไหล่ แล้วค่อย ๆ สวมใส่แพมเพิสแบบกางเกงทีละข้าง
  4. แพมเพิสแบบกางเกงควรสวมใส่อย่างพอดี ดึงขอบเอวให้ถึงบริเวณสะดือของลูก ขอบเอวและขอบขาของแพมเพิสแบบกางเกงควรพอดีกับร่างกายของทารก ไม่หลวม ไม่คับเกินไป ขอบขาต้องไม่งอพับเข้าไปด้านใน 

ข้อควรระวังเมื่อใส่แพมเพิส

การเลือกใช้แพมเพิสควรคำนึงถึงความปลอดภัย ความสะดวก ความเหมาะสม และความคุ้มค่าของผลิตภัณฑ์ เช่น

  • เลือกวัสดุที่มีการซึมซับได้ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 
  • แพมเพิสควรเหมาะสมกับอายุและรูปร่างของลูก ใส่แล้วสบายไม่อึดอัด 
  • หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์ผ้าอ้อมเด็กที่ใช้สารที่อาจทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคืองได้ง่าย เช่น น้ำหอม สี หรือกาว 
  • ควรใส่ผ้าอ้อมเด็กตามระยะเวลาการใช้งานที่กำหนดไว้บนฉลาก และใช้ครั้งเดียวทิ้ง 
  • ก่อนใส่แพมเพิสชิ้นใหม่ ควรทำความสะอาดผิวหนังด้วยน้ำ และเช็ดผิวหนังให้แห้ง
  • ระวังเรื่องการอับชื้นซึ่งอาจเป็นสาเหตุของการเกิดผื่นแพ้ที่ผิวหนังได้ 

ผื่นผ้าอ้อมในเด็ก สิ่งที่ต้องระวังเมื่อใส่แพมเพิส

ผื่นผ้าอ้อมในเด็ก (Nappy Rash) เป็นผื่นจากการระคายเคืองจากการใส่ผ้าอ้อม เกิดจากความอับชื้นจากเหงื่อ ปัสสาวะ หรืออุจจาระ รวมถึงผิวหนังเสียดสีกับผ้าอ้อมหรือแพมเพิส และการติดเชื้อราแคนดิดา อัลบิแคนส์ (Candida Albicans) โดยมีลักษณะอาการ ดังนี้

  1. เกิดผื่นแดงนูนบริเวณที่มีการเสียดสีกับแพมเพิส ผื่นอาจกระจายไปยังท้องและขา
  2. พบเป็นรอยถลอก มีสะเก็ดบริเวณที่เป็นผื่นผ้าอ้อม
  3. ลักษณะอาจเป็นตุ่มน้ำ หรือตุ่มหนองบริเวณที่เป็น

การป้องกันผื่นผ้าอ้อมในเด็ก ควรเปลี่ยนแพมเพิสบ่อย ๆ ป้องกันความอับชื้น หมั่นทำความสะอาดอวัยวะเพศ ก้น และบริเวณรอบให้สะอาด เช็คและซับให้แห้ง ก่อนใส่แพมเพิส และทายาเคลือบเพื่อป้องกันภาวะผิวแห้ง เช่น ทาปิโตรเลียม เจลลี่ (Petroleum Jelly) ก่อนใส่แพมเพิส

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

https://oryor.com/media/infoGraphic/media_printing/1868

https://www.rama.mahidol.ac.th/ped/th/infographic/06jan2021-1000 

https://content.thaibf.com/ 

https://pr.moph.go.th/print.php?url=pr/print/2/02/122503/

FDA Thai 

เวอร์ชันปัจจุบัน

29/10/2024

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ผื่นแดงขึ้นตามตัว ผื่นแบบนี้เป็นโรคอะไร

ผื่นผ้าอ้อม เกิดขึ้นได้อย่างไร รักษาอย่างไรจึงจะหาย


ตรวจสอบข้อมูลอย่างถี่ถ้วนโดย

พญ.ไอริณ จริยะโยธิน

อายุรศาสตร์ · แพทย์ประจำแอพลิเคชั่น BeDee


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 29/10/2024

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา