backup og meta

พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 ของลูกน้อย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 ของลูกน้อย

    พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 หรือประมาณ เด็ก 5 เดือน ในช่วงนี้ลูกอาจสามารถเริ่มลุกขึ้นนั่งได้ด้วยตัวเอง สามารถควบคุมศีรษะได้ดีขึ้น รับรู้ทิศทางของเสียงและสามารถหันตามเสียงเรียกได้แล้ว ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรพยายามพูดคุยกับลูกเพื่อช่วยเพิ่มพัฒนาการด้านการสื่อสารของลูก

    การเจริญเติบโตและพฤติกรรม

    ลูกน้อยจะเติบโตอย่างไร

    ในช่วงวัย 21 สัปดาห์นี้ ลูกน้อยอาจจะ…

    • ควบคุมศีรษะของตนเองได้ เมื่อนั่งตัวตรง เด็กจะเริ่มใส่ใจกับข้าวของชิ้นเล็ก  ๆ (จึงควรเก็บสิ่งของดังกล่าวให้ห่างจากเด็ก)
    • เริ่มร้องไห้เมื่อเดินออกจากห้อง และดีใจมากที่เดินกลับมา
    • หัวเราะเมื่อทำท่าทางตลก ๆ และพยายามทำอะไรให้หัวเราะด้วย
    • เอื้อมหยิบของที่อยู่รอบ ๆ ตัวได้
    • จู่ ๆ ก็หัวเราะขึ้นมา
    • หัวเราะเวลาที่เห็นหัวเราะ
    • ควบคุมศีรษะให้อยู่ระดับเดียวกับร่างกายเวลานั่ง

    ควรดูแลลูกน้อยอย่างไร

    ตอนนี้เด็กสามารถรู้ทิศทาง หรือที่มาของเสียงได้แล้ว และจะรีบหันไปดูทันที ดังนั้นวิธีดึงดูดความสนใจลูกน้อยที่ง่ายที่สุดก็คือ เสียงกรุ๊งกริ๊งของพวงกุญแจ หรือใช้กระดิ่งลมก็ได้

    นอกจากนี้ ถ้าต้องการเรียกความสนใจลูกน้อย ก็ใช้วิธีพูดคุยกับลูกน้อย เด็กวัยนี้ไม่ควรให้เรียนรู้ภาษาจากโทรทัศน์ หรือวิทยุ ฉะนั้นก็ปิดโทรทัศน์หรือวิทยุ และพยายามใช้บทสนทนาจริง ๆ เพื่อช่วยให้เด็กพัฒนาทักษะทางด้านภาษาและคำพูด

    สุขภาพและความปลอดภัย

    ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร

    ในสัปดาห์นี้อาจไม่ต้องพาลูกน้อยไปตรวจร่างกายตามปกติ ลูกน้อยจึงไม่โดนฉีดยา แต่แนะนำให้จดข้อสงสัยไว้ถามหมอในการไปพบครั้งต่อไป

    ถ้าสังเกตเห็นความผิดปกติเกี่ยวกับการนอน หรือการกินอาหารของลูกน้อย ก็ควรพูดคุยกับหมอทันที ปัญหาเหล่านี้มักไม่มีความร้ายแรง และสามารถแก้ไขได้ด้วยตัวเอง แต่ปัญหายังไม่ยอมหายไป ก็บ่งบอกว่ามีความรุนแรงแล้ว จึงควรทำการตรวจสอบกับหมอไว้ก่อนจะเป็นการดีที่สุด จะได้ไม่ต้องมานั่งเสียใจทีหลัง

    สิ่งที่ควรรู้

    ไข้หวัด

    ลูกอาจเป็นไข้หวัดในช่วงปีแรก มีเชื้อไวรัสนับไม่ถ้วนที่อาจทำให้เกิดอาการไข้หวัดขึ้นมาได้ ซึ่งนั่นเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ แต่พอจะประมาณการได้ว่าเด็กจะเป็นไข้หวัดปีละ 8 ครั้ง

    ไวรัสสามารถแพร่กระจายไปในอากาศ และติดอยู่บนวัตถุอย่างเช่น ลูกบิดประตูหรือของเล่น เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันของเด็กยังไม่สมบูรณ์ จึงทำให้เด็กเป็นหวัดได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้น เด็กในวัยนี้มักจะชอบยื่นมือเข้าไปใกล้ดวงตาหรือปาก ซึ่งจะทำเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายได้ง่ายขึ้น ถ้าลูกน้อยคลุกคลีกับเด็กหรือพี่น้องคนอื่น ๆ ก็ยิ่งมีความเสี่ยงที่จะติดเชื้อหวัดได้มากขึ้น อาการที่พบบ่อยก็ได้แก่ น้ำมูกไหล น้ำตาไหล จมูกบวม ไอ ร้องไห้ มีไข้อ่อน ๆ ซึ่งอาการเหล่านี้มักจะเกิดขึ้นประมาณ 1 สัปดาห์

    สามารถเครื่องดูดน้ำมูก เวลาที่ลูกน้อยคัดจมูก และใช้ยาพ่นเพื่อขยายหลอดลม หรือใช้เครื่องเพื่อความชื้นในอาการในห้องนอนของลูก ซึ่งจะช่วยให้น้ำมูกลดลง ลูกน้อยจึงหายใจได้สะดวกขึ้น จงจำเอาไว้ว่าเด็กชอบหายใจด้วยจมูกมากกว่าปาก ฉะนั้นอาการคัดจมูกจึงอาจทำให้ลูกรู้สึกอึดอัด

    ถ้าเป็นไปได้ ก็ใช้เบาะหนุนศีรษะให้สูงขึ้นซัก 2-3 เซนติเมตร เพื่อลดการอุดตันในลำคอ ไม่ควรใช้หมอนในการยกศีรษะเด็กขึ้น ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้น ก็ให้ลูกน้อยนอนหลับในท่านั่งเหมือนตอนนั่งรถ โดยปรับให้หลังเอนประมาณ 45 องศา

    อย่าให้ลูกน้อยใช้ยาใด ๆ โดยไม่ปรึกษาหมอก่อน โดยทั่วไปแล้ว เด็กอายุที่ต่ำกว่า 6 ขวบไม่ควรใช้ยาเหล่านี้ เนื่องจากอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ ยาปฏิชีวนะจะใช้ไม่ได้ผลกับไข้หวัดที่เกิดจากเชื้อไวรัส ถ้าลูกน้อยมีไข้คุณหมอก็อาจแนะนำให้ใช้ยาลดไข้อย่างยาพาราเซตามอล

    ควรพาลูกน้อยไปพบหมอทันที ถ้ามีอาการต่อไปนี้

    • มีไข้สูงกว่า 38 องศาเซลเซียส
    • หายใจแรงและเร็วกว่า 60 ครั้งต่อนาที มีอาการไอรุนแรง หายใจมีเสียง หรือหายใจไม่ออก
    • ตามีอาการผิดปกติ อาการเหล่านี้อาจเป็นสัญญาณของโรคตาแดง หรือการติดเชื้อในหู
    • มีอาการกระตุกอย่างต่อเนื่อง ร้องไห้เมื่อป้อนอาหารหรือจับตัวให้เด็กนอน นี่อาจเป็นสัญญาณว่าเด็กอาจติดเชื้อในหู
    • หากลูกของป่วยหนักเป็นเวลา 5-7 วัน หรือมีอาการอย่างต่อเนื่องมามากกว่าสองสัปดาห์

    ฟันขึ้น

    โดยเฉลี่ยแล้วเด็กจะเริ่มฟันขึ้นในประมาณเดือนที่  7  ถึงแม้ว่าฟันซี่แรกอาจจะงอกขึ้นมาก่อนหน้านี้ (ในเดือนที่ 3) หรือหลังจากนี้ (ในเดือนที่ 12)  ฟันขึ้นมักจะเกิดขึ้นตามปัจจัยทางพันธุกรรม ฉะนั้นถ้าคุณพ่อคุณคุณแม่ของเด็กมีฟันงอกเร็ว ลูกน้อยก็อาจจะมีฟันงอกเร็วด้วย แต่อาการที่จะมีฟันขึ้นนั้นมักจะเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 2-3 เดือนที่ผ่านมา ซี่งอาการเหล่านี้อาจแตกต่างกันไปในเด็กแต่ละคน เมื่อเด็กกำลังจะมีฟันขึ้นนั้นก็มักจะมีอาการต่อไปนี้หนึ่งอย่างหรือทั้งหมดเลยก็ได้

    • น้ำลายไหล
    • มีผื่นบริเวณคางและใบหน้า
    • มีอาการไอเล็กน้อย
    • ชอบกัด
    • มีอาการเจ็บ
    • ไม่สบายตัว
    • เบื่ออาหาร หรือเครื่องดื่ม
    • อุจจาระร่วง
    • มีไข้อ่อนๆ
    • มีเลือดบริเวณเหงือก
    • มีพฤติกรรมดึงหูหรือถูบริเวณแก้ม

    มีเคล็ดลับแบบชาวบ้านบางข้อที่ยังไม่ได้รับการยืนยัน แต่สามารถเชื่อได้ว่าช่วยลดอาการที่ฟันกำลังงอกในเด็กได้ นั่นก็คือ…

    • ให้เด็กเคี้ยวอาหาร
    • ให้เด็กดื่มอะไรเย็นๆ
    • ให้เด็กกินอาหารเย็นๆ
    • หาวิธีลดความเจ็บปวดให้เด็ก

    สิ่งที่ต้องเป็นกังวลเกี่ยวกับ พัฒนาการเด็ก สัปดาห์ที่ 21 

    วิธีทำให้เด็กคุ้ยเคยกับอาหารแข็ง

    อาจจะต้องใส่ใจในเรื่องเวลา การกินอาหาร และเครื่องไม้เครื่องมือสำหรับมื้ออาหารในอนาคต

    • เวลาที่เหมาะสม : ถ้าให้ลูกกินนมคุณแม่ ก็ควรเตรียมทุกสิ่งทุกอย่างให้พร้อมเวลาที่นมคุณแม่ใกล้จะหมด (ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีน้ำนมน้อยในช่วงบ่ายหรือช่วงเย็น) ในทางกลับกัน ถ้าลูกน้อยเกิดหิวขึ้นมาในช่วงเช้า ก็สามารถป้อนอาหารแข็งได้ โดยเริ่มจากวันละ 1 มื้อ แล้วเพิ่มไปกับอาหารเช้าและอาหารเย็นในเดือนถัดไป
    • สร้างความสนุกสนาน : หากเริ่มเตรียมอาหารให้ลูกน้อยในช่วง 5 โมงเย็น แต่ลูกไม่หิว ไม่จำเป็นต้องฝืนให้ลูกรับประทานตามนั้น อย่าไปบังคับให้ลูกกินอาหารในช่วงที่ลูกเหนื่อยหรือมีอาการไม่พอใจ ควรให้ลูกกินในช่วงที่ตื่นและมีความสุข และอย่าให้ลูกกินมากจนเกินไป ควรเตรียมตัวไว้แต่เนิ่น ๆ เพื่อเสริมสร้างนิสัยที่ดีต่อสุขภาพเมื่อถึงเวลาหย่านม
    • อย่าให้ลูกกินมากจนเกินไป : ควรเริ่มต้นด้วยอาหารเรียกน้ำย่อย หรือนมในปริมาณน้อย ๆ วิธีนี้จะทำให้ลูกไม่รู้สึกอิ่มจนเกินไป และทำให้ลูกอยากจะกินอาหารจานต่อไป
    • เตรียมพบกับการป้อนอาหารที่ยาวนาน : อย่ารีบร้อนปรุงอาหารเพราะกำลังยุ่ง การป้อนอาหารมีกระบวนการที่ยาวนาน ฉะนั้นต้องแน่ใจว่ามีเวลาพอจะป้อนอาหารให้ลูกได้
    • แสดงความช่วยเหลือ : ถ้าให้เวลาลูกในการกินอาหาร ลูกก็อาจกินได้หมดอย่างรวดเร็ว ก่อนป้อนอาหารเข้าปาก ก็ลองวางอาหารไว้บนโต๊ะหรือถาดอาหาร เพื่อให้ลูกมีโอกาสมองดู หรือแม้แต่ได้ลองชิมดูก่อน
    • ดึงดูดความสนใจ : อาหารมื้อแรกอาจไม่ใช่อาหารที่จริงจังอะไร แต่เป็นอาหารที่ช่วยให้เด็กที่เพิ่งหย่านมได้สร้างความคุ้นเคย ควรแตะอาหารบริเวณริมฝีปาก เพื่อให้ลูกน้อยมีเวลาในการลิ้มรสอาหาร หากลูกน้อยถูกใจในรสอาหาร ลูกอาจเปิดปากกว้างขึ้น เพื่อรออาหารช้อนต่อไป จากนั้นก็สามารถป้อนให้ลึกขึ้น เพื่อลูกจะได้กลืนอาหารอย่างงายดาย แต่ถ้าป้อนลึกเกินไปอาจทำให้ลูกสำลักได้นะ
    • รู้ว่าควรจะหยุดเมื่อไร : ไม่ควรบังคับให้ลูกกินอาหารต่อไป เมื่อลูกหมดความสนใจแล้ว อาการที่บ่งบอกว่าเด็กไม่อยากทานต่อแล้วก็ได้แก่ร้องไห้ หันหน้าหนี ปิดปาก หรือโยนอาหารทิ้ง ซึ่งเด็กแต่ละคนก็จะแสดงอาการออกมาไม่เหมือนกัน
    • อาหารหย่านม : หลายคนเห็นพ้องต้องกันว่าอาหารเหลว ที่เหมาะกับทารกแรกเกิดมากที่สุดก็คือนมคุณแม่ แต่อาหารหลังจากหย่านม ควรเป็นอาหารประเภทไหนกันล่ะ สามารถป้อนธัญพืช ผัก หรือผลไม้แก่ทารกได้ แต่ทางที่ดีควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ เพื่อค้นหาอาหารที่เหมาะกับลูกของมากที่สุด

    เวลาที่ป้อนอาหารใหม่ให้ เด็กส่วนใหญ่อาจตอบสนองโดยการปิดปากไม่ว่าลูกจะชอบ หรือไม่ชอบก็ตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับอาหารรสจัด ฉะนั้นจึงควรสังเกตการโต้ตอบของลูกน้อย ถ้าอยากจะป้อนอาหารให้เป็นครั้งที่สอง

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย ออมสิน แสนล้อม · แก้ไขล่าสุด 30/08/2022

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา