backup og meta

หัวนมบอด เป็นอย่างไร ให้นมบุตรได้หรือไม่ และวิธีการรักษา

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 03/08/2023

    หัวนมบอด เป็นอย่างไร ให้นมบุตรได้หรือไม่ และวิธีการรักษา

    หัวนมบอด (Inverted Nipple) คือหัวนมที่มีลักษณะบุ๋มลงไป ทำให้ดูคล้ายว่าไม่มีหัวนม เป็นความผิดปกติแต่กำเนิดซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการให้นมบุตร หรือหากรักษาความสะอาดไม่ดีก็อาจเพิ่มความเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ ดังนั้น จึงควรศึกษาลักษณะของหัวนมบอดรูปแบบต่าง ๆ และวิธีการดูแลรักษาอย่างถูกต้อง

    หัวนมบอด คืออะไร

    หัวนมบอดมีลักษณะของหัวนมที่ยุบ หัวนมบุ๋มลงไป ไม่ขึ้นมาจากฐานหัวนม ดูคล้ายกับว่าไม่มีหัวนม ลักษณะของหัวนมบอดเช่นนี้เป็นความผิดปกติแต่กำเนิด เกิดจากการหดรั้งของท่อน้ำนมข้างใต้หัวนม ซึ่งแบ่งตัวไม่ทันการเจริญเพิ่มขนาดของเต้านม เกิดจากท่อน้ำนมสั้น หรือมีพังผืดดึงรั้งเอาไว้ ทำให้หัวนมโผล่ออกมาเล็กน้อย หรือโผล่ออกมาแล้วก็หดกลับคืน โดยแบ่งลักษณะของหัวนมบอดได้ 3 แบบ 

    ลักษณะของหัวนมบอด สามารถแบ่งได้ 3 แบบ

    1. หัวนมบอดขั้นแรก หรือหัวนมบอดระดับรุนแรงน้อย : ลักษณะของหัวนมบอดขั้นแรก เป็นหัวนมบอดแบบไม่ถาวร หัวนมเรียบหรือยุบตัวเข้าไปบางส่วน เมื่อหัวนมยุบลงไปก็สามารถยื่นออกมาได้เองในบางครั้ง เช่น ช่วงที่อากาศหนาวเย็น ท่อน้ำนมไม่มีการรั้งตัว หรือด้วยการใช้มือดึงออกมา และยังสามารถยื่นออกมาเมื่อได้รับการกระตุ้น เช่น เมื่อถูกสัมผัสด้วยนิ้วมือหรือมีการดูด วิธีแก้ไขหัวนมบอดขั้นแรก สามารถทำได้ด้วยตัวเอง โดยหมั่นดึงหัวนมให้ยื่นออกมา หรือใช้อุปกรณ์แก้ไขหัวนมบอดช่วยดึงขึ้นมา ซึ่งลักษณะของหัวนมบอดขั้นแรกนั้น สามารถให้นมบุตรได้ 
    2. หัวนมบอดขั้นกลาง หรือหัวนมบอดระดับรุนแรงปานกลาง : ลักษณะหัวนมบอดขั้นนี้ หัวนมจะบุ๋มลงไปหรือยุบตัวเข้าไป ชนิดที่ไม่ยื่นออกมาเลย แม้ว่าจะถูกกระตุ้น รู้สึกหนาวเย็น หรือเกิดอารมณ์ทางเพศก็ไม่ยื่นออกมา ทำการดึงหัวนมออกมาได้ยาก หากดึงออกมาได้แล้วก็สามารถคงตัวอยู่ได้ชั่วระยะเวลาหนึ่งเท่านั้น ไม่สามารถหายได้เอง ต้องใช้อุปกรณ์แก้ไขหัวนมบอดโดยเฉพาะมาช่วย สำหรับการให้นมบุตร ลักษณะหัวนมบอดขั้นกลางในบางรายสามารถให้นมบุตรได้ แต่บางกรณีที่ท่อน้ำนมรัดตัวอาจให้นมบุตรไม่ได้
    3. หัวนมบอดขั้นรุนแรง ลักษณะหัวนมบุ๋มหรือยุบตัวลงไปถาวร : ลักษณะหัวนมบอดรุนแรงจะไม่สามารถดึงหรือยื่นออกมาได้เลย หัวนมยุบตัวเข้าไปทั้งหมด พบว่าท่อน้ำนมรั้งตัวและคดอยู่ข้างใน ลักษณะหัวนมแบบนี้อาจมีความเสี่ยงในการติดเชื้อข้างในรูหัวนม เกิดเป็นอาการคันได้ หากทำความสะอาดไม่ดีพอ และลักษณะหัวนมแบบนี้ไม่สามารถให้นมบุตรได้ ควรปรึกษาศัลยแพทย์เพื่อรับการรักษา

    วิธีแก้ไขหัวนมบอด

    แพทย์จะพิจารณาแก้ไขหัวนมบอดและรักษาอย่างเหมาะสมกับระดับความรุนแรง อาจทำการผ่าตัดตกแต่งด้วยการกรีดตัดส่วนท่อน้ำนมที่หดรั้งให้คลายตัว แก้ไขให้หัวนมปกติ เด้งคืนตัวขึ้นมาตามธรรมชาติ

    แม่ให้นมบุตรมีหัวนมบอด ควรทำอย่างไร

    คุณแม่สามารถประเมินลักษณะของหัวนม โดยใช้เทคนิค Waller’s test โดยใช้นิ้วหัวแม่มือและนิ้วชี้จับที่โคนหัวนมกดนิ้วทั้งสองข้างลงเบา ๆ และบีบนิ้วทั้งสองข้างเข้าหากัน ถ้าพบว่าจับหัวนมได้ติดแสดงว่า หัวนมปกติ แต่ถ้าจับหัวนมไม่ติดลักษณะหัวนมยื่นเล็กน้อย มีขนาดเล็กและสั้นแสดงว่าหัวนมสั้น หัวนมบอด โดยลักษณะหัวนมจะแบนระดับเดียวกับลานนม ไม่มีส่วนของหัวนมทารกจะอมหัวนมได้ยาก ซึ่งหัวนมบอดหรือบุ๋มมีความยาวน้อยกว่า 1 มม.

    ในกรณีแม่ให้นมบุตรสามารถแก้ไขหัวนมบอดได้ หากไม่อยู่ในระดับรุนแรง โดยอาจใช้ปทุมแก้วเพื่อแก้ไขปัญหาหัวนมสั้น หัวนมแบน และหัวนมบอด โดยใส่ปทุมแก้ว (Breast shell) โดยใส่ครอบหัวนมทั้งสองข้างในเวลากลางวันทุกวัน ช่วยนวดลานหัวนมให้นุ่ม เตรียมตัวได้ตั้งแต่ตั้งครรภ์ ใช้ปทุมแก้วใส่ไว้ใต้เสื้อ หัวนมจะโผล่ขึ้นมา ซึ่งปทุมแก้วจะใช้ในการแก้ไขลานหัวนมตึงแข็ง เมื่อลานหัวนมนุ่มดีแล้วควรหยุดใช้ เพื่อป้องกันเต้านมนุ่มเหลวอาจเสียรูปทรงได้

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

    พลอย วงษ์วิไล


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 03/08/2023

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา