เด็กวัย 21 เดือน หรือประมาณ 1 ปี กับอีก 9 เดือน เป็นช่วงวัยที่เริ่มซุกซน อยู่ไม่สุข และมักจะชอบวิ่งไปมาหรือปีนบันไดเล่น หรือเด็กบางคนก็อาจจะชอบนั่งเงียบ ๆ และสังเกตรอบตัวมากกว่า ซึ่งล้วนถือเป็นเรื่องปกติ ทั้งนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจ พัฒนาการเด็ก 21 เดือน และดูแลเอาใจใส่เด็กอย่างใกล้ชิด เพื่อให้เด็กมีสุขภาพที่แข็งแรงและมีพัฒนาการที่สมวัย
[embed-health-tool-vaccination-tool]
พัฒนาการเด็ก 21 เดือน ด้านการเจริญเติบโตและพฤติกรรม
ลูกน้อยควรจะต้องทำอะไรได้บ้าง
ตอนนี้ลูกน้อยมีอายุได้ 21 เดือนแล้ว เด็กในวัยนี้มักจะอยู่ไม่นิ่งและเริ่มหาวิธีวิ่งแล้ว ซึ่งการที่เด็กอยู่ไม่นิ่งนี้ อาจทำให้รู้สึกเหมือนกำลังจับปูใส่กระด้งอยู่ก็ได้ บางครั้งก็อาจพยายามเดินถอยหลัง หรือปีนบันไดเล่น ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดีนะ เพราะนั่นถือเป็นการออกกำลังกายอย่างหนึ่ง ที่ทำให้เขาได้เสริมสร้างกล้ามเนื้อ ช่วยฝึกตาและมือให้ทำงานประสานกัน นอกจากนี้ยังฝึกการทรงตัวอีกด้วย
แต่หากคุณแม่พบว่าลูกน้อยนั่งเงียบผิดปกติ ไม่ค่อยได้ขยับตัวหรือทำตัวซุกซนอะไรเลย ก็ไม่ต้องเป็นกังวลอะไร เพราะลูกน้อยก็จะใช้เวลาถึง 20% ของวันในการนั่งสังเกต และเรียนรู้สิ่งที่อยู่รอบตัวเขา แต่ถ้าลูกน้อยไม่ยอมเคลื่อนไหวอะไรเลย ก็ควรรีบปรึกษาแพทย์
นอกจากนี้ ลูกน้อยอาจจะสามารถต่อตัวต่อเป็นตึกสูงๆ ได้ หรือการขีดเขียนบนกระดาษ หรือบนกำแพง ซึ่งพฤติกรรมเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า เขามีพัฒนาการทางด้านการเคลื่อนไหว
สุขภาพและความปลอดภัยของลูก 21 เดือน
จะเกิดอะไรกับลูกน้อยเวลาไปพบคุณหมอ
ถ้าลูกน้อยนอนกรน ทำเสียงเหมือนกรน หรือหายใจทางปาก ควรรีบปรึกษาคุณหมอ ถ้าลูกมีปัญหาในการนอนหลับ เนื่องจากปัญหาต่อมทอนซิลหรือคอบวม แพทย์อาจจะแนะนำให้ทำการตัดต่อมทอนซิลออก ซึ่งเป็นวิธีง่ายๆ ในการแก้ปัญหาการนอนของลูกน้อย
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
วิธีที่ปลอดภัยที่สุดและได้ผลมากที่สุดในการป้อนยา ให้เด็กที่กินยายากนั้น จำเป็นต้องใช้เทคนิคนิดหน่อย ซึ่งถ้าปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้ ก็จะช่วยให้ลูกน้อยกินยาได้ง่ายขึ้น ถึงแม้เขาจะไม่ชอบรสชาติ กลิ่น หรือหน้าตาของยานั้นๆ เลยก็ตาม
- เติมน้ำตาล หรือน้ำผลไม้ลงในยาซักเล็กน้อย
- ผสมยาลงในถ้วยนม หรือน้ำผลไม้
- ผสมยาลงในโยเกิร์ต
- แกล้งบอกว่ายานั้นคือลูกกวาด
- ใช้หลอดฉีดยา หรือที่หยดยาเป็นเครื่องมือในการป้อนยา
- ขอให้คุณหมอเปลี่ยนยา
หากลูกน้อยยังปฏิเสธการกินยา เพราะรสชาติของยา อาจปรึกษาเภสัชกร นอกจากนี้ก็อาจขอให้แพทย์สั่งยาชนิดเม็ด ที่สามารถบดให้ละเอียด แล้วผสมไปกับโยเกิร์ดหรือแอปเปิลซอสให้ลูกกินได้
สิ่งที่ต้องกังวล
สิ่งที่อาจเป็นกังวลในตอนนี้ก็คือ อาการนอนผวาตอนกลางคืน อาการนอนผวานั้นจะแตกต่างจากการฝันร้าย ซึ่งในช่วงที่เกิดอาการนอนผวานั้น ดวงตาของลูกน้อยอาจจะเปิดกว้าง และอาจเคลื่อนไหวไปรอบๆ นอกจากนี้ก็มักมีอาการแกว่งแขน ร้องไห้ และส่งเสียงกรีดร้องร่วมด้วย อาการฝันผวานี้เป็นอาการผิดปกติ เกิดจากความกลัวที่ฝังใจเด็กอยู่ ถ้าเด็กมีอาการนี้ ควรปรึกษาคุณหมอ
หรือหากพบว่าพัฒนาการของลูก ไม่เป็นไปตามพัฒนาการเด็ก 21 เดือน โดยทั่วไป ควรปรึกษาคุณหมอ เพื่อหาสาเหตุและวิธีแก้ไขที่เหมาะสมที่สุด
[embed-health-tool-child-growth-chart]