ลูกน้อยวัย 29 เดือน หรือประมาณ 2 ขวบกว่า ๆ เป็นช่วงวัยที่มีพัฒนาการและการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เด็กบางคนอาจยังไม่ได้เรียนรู้เกี่ยวกับการแบ่งปัน จึงยังคงมีความรู้สึกหวงของและแย่งชิงของเล่นอยู่เสมอ อีกทั้งเด็กบางคนก็อาจมีอาการดื้อและไม่เชื่อฟัง คุณพ่อคุณแม่ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับพัฒนาการที่เหมาะสมสำหรับลูกน้อยวัย 29 เดือน เพื่อให้สามารถดูแลลูกน้อยได้อย่างเหมาะสมกับวัย
[embed-health-tool-vaccination-tool]
การเจริญเติบโตและพฤติกรรมของ ลูกน้อยวัย 29 เดือน
การต่อสู้เพื่อแย่งชิงของเล่น มักจะเกิดขึ้นเมื่อเด็กในวัยนี้ เมื่อเด็ก 2 คนเล่นด้วยกัน การหวงของเล่นหรือการแบ่งปันของเล่น เป็นทักษะที่ยังไม่เกิดขึ้นตามธรรมชาติของเด็กในวัยนี้
พัฒนาการเด่น ๆ ของเด็กในวัยนี้คือการทำอะไรซ้ำ ๆ เช่น ลูกน้อยอาจต้องการกินอะไรซ้ำแล้วซ้ำอีก สวมเสื้อผ้าแบบเดิม ทำอะไรแบบเดียวกัน นั่นแสดงว่าเขากำลังพยายามทำความเข้าใจกับโลกใบนี้ และรักษาบางสิ่งบางอย่างไม่ให้เกิดการเปลี่ยนแปลง นั่นเป็นวิธีที่เขาใช้ฝึกการควบคุมทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิต หรือพูดง่าย ๆ ก็คือ เด็กกำลังทำอะไรเพื่อให้ตนเองรู้สึกสบายใจ
เด็กในช่วงวัยนี้ จะมีการพัฒนาวิธีการคิดที่เรียกว่า การแสดงเชิงพื้นที่หรือการคิดเชิงสัญลักษณ์ ซึ่งก็หมายความว่าเด็กสามารถมองเห็นสิ่งต่าง ๆ ภายในใจตนเองได้ เมื่อเด็กมีประสบการณ์หรือมีความเคยชิน ก็จะทำให้เกิดความเชื่อมโยงกับสมอง และสามารถมองเห็นภาพนั้นได้ชัดเจนขึ้น เช่น ตุ๊กตาหมีที่หายไปมีรูปร่างหน้าตายังไง จะไปบ้านคุณยายได้ยังไง อาหารที่กินไปเมื่อวานนี้เป็นยังไง
ลูกน้อยควรเตรียมตัวอย่างไร
เด็กในวัยนี้อาจมีการทะเลาะกัน หรือไม่เข้าใจกัน เพื่อหลีกเลี่ยงการทะเลาะเบาะแว้งระหว่างเด็ก ควรปฎิบัติตามคำแนะนำต่อไปนี้
- พ่อแม่ควรเป็นแบบอย่างของการแบ่งปันและการให้ อาจใช้คำว่า แบ่ง เช่น แม่จะแบ่งคุ้กกี้ให้ลูกกินเอาไหม
- เบี่ยงเบนความสนใจจากวัตถุที่อาจจะเป็นอันตราย แล้วหันเหความสนใจไปที่อย่างอื่น เช่น รถคันนี้ต้องการพักผ่อนแล้ว อยากลองเล่นเป่าฟองสบู่ดูไหม
- ให้ลูกได้เห็นแบบอย่างของการแบ่งปันจากผู้อื่น เช่น ชี้ให้ลูกดูเมื่อเห็นผู้อื่นกำลังแบ่งปันสิ่งของให้แก่กัน
- ซ่อนของเล่นชิ้นโปรดของลูกน้อยเอาไว้ เวลาที่มีเด็กคนอื่นมาเล่นด้วย เพราะตามธรรมชาติของเด็กแล้ว มักจะไม่ยอมให้ใครมาแตะต้องของที่ตัวเองชอบ ป้องกันไม่ให้เกิดการแย่งของเล่นจนทะเลาะกัน
- จัดกิจกรรมให้เด็ก ๆ ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน ซึ่งเด็กแต่ละคนก็จะเลือกทำกันไปตามสไตล์ของตัวเอง เช่น กิจกรรมปั้นดินน้ำมันหรือวาดรูป
- กล่าวชื่นชมลูกน้อย เมื่อเขาแบ่งปันสิ่งของให้กับผู้อื่น เป็นการเสริมสร้างกำลังใจ
สุขภาพและความปลอดภัย
พฤติกรรมการดูดนิ้วมือของลูกน้อย
เด็กดูดนิ้วหัวแม่มือตัวเองเพราะกำลังปลอบโยนตัวเองให้รู้สึกสงบ ลูกก่อนวัยเรียนอาจฝึกการทำอะไรแบบนี้มาตั้งแต่ยังอยู่ในครรภ์ และทำได้เป็นอย่างดีในวัยทารก ตอนนี้เด็กจะดูดนิ้วมือเวลาที่รู้สึกเหนื่อย กลัว เบื่อ ป่วย หรือพยายามปรับตัวกับสิ่งที่ท้าทายต่าง ๆ เช่น การเข้าไปอยู่ในการดูแลของศูนย์รับเลี้ยงเด็ก การเข้าเรียนเตรียมอนุบาล หรือแม้แต่ใช้การดูดนิ้วมือเพื่อช่วยให้เขารู้สึกง่วงในเวลานอน และทำให้เขากลับไปนอนต่อได้เวลาที่เขาตื่นขึ้นมากลางดึก
ควรปรึกษาคุณหมออย่างไร
คุณพ่อคุณแม่ควรพาลูกน้อยไปตรวจสุขภาพฟันเป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่าฟันของเขาแข็งแรงและสะอาด หากลูกน้อยมีกลิ่นปาก ควรพาไปพบคุณหมอเพื่อตรวจหาสาเหตุ
สิ่งที่ต้องกังวล
สำหรับเด็กในช่วงวัยนี้ คุณพ่อคุณแม่ควรมีการใส่ใจในเรื่องของสุขภาพช่องปากและสุขภาพฟัน และควรระมัดระวังเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
- ถ้าลูกน้อยหายใจทางปาก อาจทำให้แบคทีเรียมีแนวโน้มจะเจริญเติบโตโดยไม่มีการรบกวน
- มีวัตถุแปลกปลอม เช่น เม็ดถั่ว ของเล่นชิ้นเล็ก ๆ วัตถุอื่น ๆ ที่เด็กนำใส่จมูกจนทำให้เป็นสาเหตุของกลิ่นปาก ซึ่งถือเป็นเรื่องปกติของเด็กทารกและเด็กในวัยหัดเดิน ที่มักหยิบจับอะไรเข้าปากอยู่เสมอ
- มีสุขอนามัยที่ไม่ดี ในช่องปากจะมีแบคทีเรียอาศัยอยู่ และจะทำปฎิกิริยากกับเศษอาหารที่อยู่ตามซอกฟัน บริเวณเหงือก ลิ้น หรือต่อมทอนซิล ซึ่งอาจเป็นสาเหตุของกลิ่นปากได้
- การรับประทานอาหารที่มีกลิ่นฉุน ถ้าลูกน้อยชอบรับประทานกระเทียมหรือหัวหอม อาจส่งผลให้ลมหายใจของเด็กมีกลิ่นได้ชั่วคราว
- อาการเจ็บป่วย เช่น อาการติดเชื้อไซนัสอักเสบ ต่อมทอนซิลอักเสบ หรือแม้กระทั่งโรคภูมิแพ้ตามฤดูกาล อาจเป็นสาเหตุของกลิ่นปาก และเด็กบางคนที่มีอาการของโรคกรดไหลย้อนก็อาจมีลมหายใจที่ส่งกลิ่นได้
- หากลูกไม่ยอมแปรงฟัน คุณพ่อคุณแม่อาจจะต้องหาวิธีในการสร้างแรงจูงใจให้เด็กอยากแปรงฟัน อาจจะเป็นการให้รางวัล หรือกล่าวชมเชย
- ให้ลูกได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ และไม่เสี่ยงต่อการเกิดฟันผุ
- ระวังไม่ให้ลูกรับประทานขนมหวาน ลูกอม หรือขนบขบเคี้ยวมากจนเกินไป