backup og meta

ประโยชน์ของการสมาธิในเด็กวัยเรียน และวิธีฝึกสมาธิในเด็ก

ประโยชน์ของการสมาธิในเด็กวัยเรียน และวิธีฝึกสมาธิในเด็ก

ประโยชน์ของการสมาธิในเด็กวัยเรียน อาจมีทั้งช่วยในเรื่องของพฤติกรรมและการเรียนรู้ของเด็ก ทำให้เด็กมีสมาธิมากขึ้น สามารถเรียนรู้ในชั้นเรียนได้ดียิ่งขึ้น และอาจช่วยให้มีความจำที่ดียิ่งขึ้น นอกจากนี้ ยังอาจช่วยลดความเครียด ลดความวิตกกังวล ช่วยให้นอนหลับได้ดีขึ้น ซึ่งอาจส่งผลดีต่อสุขภาพของเด็ก ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรฝึกให้ลูกทำสมาธิ เพื่อช่วยให้เด็กมีพัฒนาการที่ดีทั้งสุขภาพร่างกายและการเรียน

การสมาธิในเด็กวัยเรียน

การทำสมาธิ ช่วยให้ร่างกายและจิตใจได้พักผ่อน นอกจากนั้นยังช่วยทำให้ร่างกาย สามารถป้องกัน และรักษาโรคได้ด้วย จากการศึกษาในสถานศึกษา การทำสมาธิ ยังทำให้เด็ก มีความสนใจในห้องเรียนยิ่งขึ้น และปรับพฤติกรรมของเด็กให้ดีขึ้นตามลำดับด้วย

อ้างอิงจากผลงานวิจัย ยังแสดงให้เห็น ถึงประโยชน์ของการฝึกสมาธิ ที่มีประโยชน์ต่อ โรคสมาธิสั้น (ADHD) ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า ผลการเรียน การนอนหลับ ปัญหาพฤติกรรม และความผิดปกติในการรับประทานอาหาร

โดยทดลองกับ เด็กมัธยม อย่างน้อยจำนวน 300 ราย ด้วยการใช้การเรียน การสอน แบบใช้สมาธิเข้ามาร่วมด้วย ผลปรากฏว่า การทำงานทางด้านจิตใจดีขึ้น นอกจากนั้น สมาธิยังมีประโยชน์ ต่อระบบประสาท ในเรื่องของการช่วยลดฮอร์โมนความเครียดของเด็ก

ประโยชน์ของการสมาธิในเด็กวัยเรียน

การฝึกสมาธิ มีประโยชน์ทั้งต่อสุขภาพจิต และสุขภาพกาย ดังนี้

  • ลดความวิตกกังวล
  • ลดภาวะซึมเศร้า
  • เพิ่มทักษะการเผชิญปัญหา
  • ลดความหงุดหงิดและความเครียด
  • ปรับปรุงความสามารถในการเรียนรู้
  • ปรับปรุงความสามารถในการจำ
  • เพิ่มความสุขให้แก่จิตใจ
  • เพิ่มความมั่นคงทางอารมณ์
  • เพิ่มความสามารถในการจัดการปัญหาได้อย่างมีประสิทธิภาพ
  • ทำให้รู้สึกนับถือตัวเองมากขึ้น
  • ระบบการหายใจดีขึ้น
  • อัตราการเต้นของหัวใจลดลง
  • ช่วยในเรื่องของการไหลเวียนของเลือด
  • ปรับปรุงการทำงานของภูมิคุ้มกันในร่างกาย
  • ลดการตอบสนองความเครียดทางกายภาพ
  • นอนหลับดีขึ้น
  • ช่วยให้จัดการกับอาการทางกาย เช่น ความเจ็บปวด ได้ดีขึ้น

วิธีการฝึกสมาธิในเด็กวัยเรียน

จากการศึกษา โดยศูนย์วิจัยสุขภาพจิตแห่งมหาวิทยาลัยวิสคอนซิน (CIHM) การฝึกสมาธิ คือการให้ความสำคัญกับความคิด ความรู้สึก และสิ่งแวดล้อม อย่างระมัดระวัง ซึ่งวิธีการฝึกสมาธิมีดังนี้

  • เริ่มต้นด้วยการให้เด็ก ฝึกหายใจ เมื่อเด็กรู้สึกเครียด หรืออารมณ์เสีย พยายามบอกให้ลองหายใจเข้าลึกๆ เพียงไม่กี่ครั้ง โดยปกติแล้ว สถานการณ์ที่ท้าทาย มักทำให้เกิดอาการทางกายภาพ เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น อัตราการเต้นของหัวใจถี่กว่าปกติ และเหงื่อออก ดังนั้น การหายใจเข้าลึก ๆ อาจจะช่วยหลีกเลี่ยง การตื่นตระหนก และลดปฏิกิริยาที่หุนหันพลันแล่นได้อีกด้วย นอกจากนั้น การฝึกหายใจ เป็นประจำทำทุกวัน ยังช่วยทำให้ความคิดพัฒนาเป็นไปในเชิงบวกมากขึ้น
  • พยายามหยุดและคิด หากเด็กกำลังเจอสถานการณ์ที่ยุ่งยากหรือเผชิญหน้ากับคำถามที่ยาก แล้วไม่สามารถหาคำตอบได้ทันที ลองบอกให้เด็กลองหยุดและคิดก่อนตอบเสมอ โดยการหยุดและคิดก่อนตอบนั้น จะช่วยให้เด็กๆ มั่นใจว่าได้คิดคำตอบ อย่างรอบคอบแล้ว โดยการการฝึกฝนเช่นนี้ มีประโยชน์สำหรับการสนทนา โต้ตอบและการตอบกลับอีเมลอีกด้วย
  • หาเครื่องดื่มมาจิบ การกระทำเช่นนี้เป็นการเบี่ยงเบนความสนใจของเด็ก ให้ห่างจากอารมณ์ที่กำลังเกิดขึ้นในขณะนั้น นอกจากนั้น ยังช่วยทำให้ร่างกายผ่อนคลาย สามารถใช้ชีวิตประจำวันต่อได้ด้วยความคิดเชิงบวกมากขึ้น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Just Breathe: The Importance of Meditation Breaks for Kids. https://www.healthychildren.org/English/healthy-living/emotional-wellness/Pages/Just-Breathe-The-Importance-of-Meditation-Breaks-for-Kids.aspx. Accessed on September 10 2019.

Meditation: In Depth. https://www.nccih.nih.gov/health/meditation-in-depth. Accessed February 21, 2022.

Meditation: A simple, fast way to reduce stress. https://www.mayoclinic.org/tests-procedures/meditation/in-depth/meditation/art-20045858. Accessed February 21, 2022.

10 health benefits of meditation. https://health.ucdavis.edu/news/headlines/10-health-benefits-of-meditation/2019/06. Accessed February 21, 2022.

Mindfulness-Oriented Meditation for Primary School Children: Effects on Attention and Psychological Well-Being. https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4894866/. Accessed February 21, 2022.

เวอร์ชันปัจจุบัน

21/02/2022

เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย พลอย วงษ์วิไล

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ลูกสมาธิสั้น สัญญาณเตือน และวิธีรับมือ

นั่งสมาธิ มีส่วนช่วยทำให้ สุขภาพหัวใจ ของเราดีขึ้นได้อย่างไร


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

พลอย วงษ์วิไล


เขียนโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย · แก้ไขล่าสุด 21/02/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา