กาแฟ คือ เครื่องดื่มที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะในผู้ใหญ่วัยทำงาน เนื่องจากมีสารคาเฟอีนที่ช่วยทำให้ร่างกายตื่นตัว อย่างไรก็ตาม คาเฟอีนอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพของลูกได้ ดังนั้น คุณพ่อคุณแม่จึงควรศึกษาผลกระทบต่อสุขภาพที่อาจเกิดขึ้นหากให้ ลูกกินกาแฟ เพื่อป้องกันปัญหาสุขภาพของลูกที่อาจเกิดขึ้นในภายหลัง
[embed-health-tool-vaccination-tool]
ลูกกินกาแฟ ส่งผลอย่างไรต่อสุขภาพ
นอนไม่หลับ
เด็กที่มีอายุตั้งแต่ 5 ถึง 12 ปี จำเป็นต้องนอนหลับอย่างน้อย 11 ชั่วโมง ส่วนในช่วงวัยรุ่น ควรนอนหลับอย่างน้อย 10 ชั่วโมงต่อวัน แต่เด็กส่วนน้อยในปัจจุบันสามารถนอนหลับได้อย่างเพียงพอ เนื่องจาตารางเวลาที่แน่นไปด้วยกิจกรรมต่างๆ ที่ได้รับการจัดการโดยคุณพ่อคุณแม่ ทำให้เด็กส่วนใหญ่ในปัจจุบันเกิดภาวะนอนหลับไม่เพียงพอ และทำให้เกิดเด็กหันไปดื่มกาแฟเพื่อเพิ่มพลังงานจากการนอนไม่พอ ด้วยวงจรการนอนหลับที่ไม่เพียงพอและการต้องพึ่งพาการดื่มกาแฟนี่เอง ที่เป็นตัวการสำคัญในการทำลายนาฬิกาชีวิตและทำให้เด็กนอนหลับได้ยากขึ้น นอกจากนี้ ยังมีหลักฐานที่ระบุด้วยว่าหากเด็กที่มีอาการวิตกกังวล ผลจากคาเฟอีนจะทำให้อาการรุนแรงขึ้นด้วย
ปัสสาวะบ่อย
กาแฟออกฤทธิ์คล้ายเป็นยาขับปัสสาวะ กระตุ้นการผลิตปัสสาวะ นอกจากนี้ ยังพบรายงานจากงานวิจัยบางแห่งที่ระบุถึงการสูญเสีย แคลเซียม จากร่างกายออกทางปัสสาวะหลังการดื่มกาแฟอีกด้วย โดยปริมาณคาเฟอีน 100 มิลลิกรัมที่ได้รับเข้าสู่ร่างกาย จะทำให้แคลเซียมถูกขับออก 6 มิลลิกรัม ซึ่งสำหรับเด็กนั้น แคลเซียมจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของกระดูก หากได้รับไม่เพียงพอก็อาจมีผลกระทบต่อความแข็งแรงของกระดูกได้
สมาธิสั้น
กาแฟ ส่งผลให้เด็กตื่นตัวตลอดเวลา มากกว่าอาการตื่นตัวกาแฟยังทำให้เด็กมีสมาธิสั้น ในขณะที่ผู้ใหญ่ได้ประโยชน์จากสารกระตุ้นในกาแฟที่เพิ่มพลังงานและการตื่นตัว หรือที่เราเรียกกันว่า คาเฟอีน แต่สำหรับเด็นนั้นการได้รับ คาเฟอีน อาจมากเกินไปยาวนานหลายชั่วโมง อาจส่งผลเสียต่อการทำกิจกรรม การวิ่งเล่น ความสัมพันธ์ระหว่างเด็กกับเพื่อน การเรียนและผลการเรียนได้
ความอยากอาหารน้อยลงและรับประทานอาหารน้อยลง
สมองของเด็กมีแนวโน้มเปราะบางต่อผลกระทบของคาเฟอีนมากกว่าสมองของผู้ใหญ่ คาเฟอีนจะส่งผลต่อระบบประสาทในฐานะสารกระตุ้น ดังนั้น อาจส่งผลต่อความอยากอาหารของเด็ก ๆ ด้วย หากคาเฟอีนขัดขวางความอยากอาหาร ก็อาจทำให้เกิดปัญหาการเจริญเติบโตได้ นอกจากนี้ หากดื่มกาแฟก่อนการรับประทานอาหารมื้อหลัก อาจส่งผลให้รับประทานอาหารได้น้อยลง โดยพลังงานและสารอาหารที่จะได้รับก็น้อยลงตามไปด้วย
ปวดหัวและความดันโลหิตสูง
ตามที่ทราบกันดีว่า กาแฟมีส่วนผสมของคาเฟอีน ซึ่งเป็นสารกระตุ้นที่ส่งผลต่อผู้ใหญ่และเด็ก ปริมาณคาเฟอีนในระดับต่ำ สามารถช่วยเพิ่มความตื่นตัวและสมาธิที่จดจ่อมากขึ้น แต่ปริมาณมากเกินไปทำให้เกิดอาการสั่น ตื่นเต้น ปวดศีรษะ และเพิ่มความดันโลหิตสูง
ปริมาณกาแฟที่เด็กสามารถดื่มได้คือเท่าไหร่
แม้ว่าไม่มีข้อจำกัดเกี่ยวกับการให้เด็กดื่มกาแฟ แต่ควรพิจารณาถึงความเหมาะสมที่จะให้เด็กดื่มกาแฟ โดยพิจารณาจากผลเสียที่กล่าวมาข้างต้น รวมทั้งความสามารถในการทนต่อคาเฟอีน ซึ่งแตกต่างกันไปในแต่ละคน คำแนะนำเพื่อไม่ให้เกิดผลเสียคือ ปริมาณคาเฟอีน 200-300 มิลลิกรัม/วัน หรือประมาณ 1-3 แก้ว และสำหรับเด็กที่อยู่ในช่วงเจริญวัย ควรจำกัดปริมาณเหลือเพียงครึ่งหนึ่งของผู้ใหญ่เพื่อความปลอดภัย