backup og meta

เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน กับสิ่งที่คุณพ่อคุณแม่ควรรู้

เด็กแรกเกิด ต้องการการดูแลและใส่ใจจากคุณพ่อคุณแม่มือใหม่เกือบตลอด 24 ชั่วโมง แม้เด็กแรกเกิดจะยังเคลื่อนไหวได้ไม่มากนัก แต่พวกเขาก็มีกิจวัตรประจำวันที่ต้องทำเช่นเดียวกับคนวัยอื่น ๆ และอาจต้องการการดูแลที่มากเป็นพิเศษกว่าวัยอื่น ๆ คุณพ่อคุณแม่มือใหม่รู้หรือไม่ว่า แท้จริงแล้วเด็กแรกเกิดทำอะไรบ้างใน 1 วัน

เด็กแรกเกิด ทำอะไรบ้างใน 1 วัน

การกิน

เด็กแรกเกิดส่วนใหญ่ต้องการกินอาหารทุก ๆ 1 ชั่วโมงครึ่ง-3 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการให้นมของคุณแม่ด้วย โดยเด็กแรกเกิดจะมีวิธีสื่อสารเวลาที่หิว เช่น ทำท่าดูดมือหรือดูดนิ้ว หรืออ้าปากเมื่อถูกสัมผัสที่แก้ม ส่วนการร้องไห้มักจะเกิดขึ้นเวลาที่หิวมาก

นอกจากนี้ หลังกินนมคุณแม่ควรทำให้ลูกเรอ และถ้าเด็กแรกเกิดนอนหลับไปขณะกินนม หรือเบือนหน้าหนีจากเต้านม อาจเป็นสัญญาณว่าอิ่มแล้ว หรือถ้าเด็กแรกเกิดร้องไห้อาจหมายความว่า อยากกินอีก

การอุจจาระและการเปลี่ยนผ้าอ้อม

เด็กแรกเกิดอาจปัสสาวะมากกว่า 6 ครั้ง หรืออุจจาระมากกว่า 4 ครั้ง/วัน ทำให้ต้องเปลี่ยนผ้าอ้อมหลายครั้ง และในช่วงสัปดาห์แรก อุจจาระของเด็กแรกเกิดอาจดูหนาและมีสีดำหรือสีเขียวเข้ม เรียกว่า ขี้เทา ( Meconium) หรืออุจจาระของทารกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ ซึ่งหลังจากขับถ่ายขี้เทาแล้ว อุจจาระของเด็กแรกเกิดก็จะกลายเป็นลักษณะอ่อนนุ่ม และเป็นมูก

นอกจากนี้ ถ้าคุณแม่ให้นม เด็กแรกเกิดอาจมีอุจจาระสีเหลืองอ่อน และเป็นก้อนเล็ก ๆ ส่วนถ้าเด็กแรกเกิดกินนมผง อุจจาระอาจมีเนื้อแน่น และมีสีเหลืองหรือสีน้ำตาลอ่อน แล้วหลังจากนั้นไม่กี่สัปดาห์ก็อาจขับถ่ายน้อยลง

การร้องไห้

การร้องไห้เป็นวิธีการสื่อสารของเด็กแรกเกิด ซึ่งคุณพ่อคุณแม่ควรสังเกตว่าการร้องไห้นั้นหมายถึงอะไร เช่น 2 ชั่วโมงผ่านไป หลังจากกินนมแล้วร้องไห้ นั่นอาจหมายความว่าเด็กแรกเกิดรู้สึกหิว นอกจากนี้ เด็กแรกเกิดอาจจะร้องไห้เพราะอยากนอน หรือเพราะผ้าอ้อมเปียกจนทำให้รู้สึกอึดอัด

การนอนหลับ

เด็กแรกเกิดมักจะรู้สึกเหนื่อย หลังจากตื่นนอนได้ 1-2 ชั่วโมง และในช่วงสัปดาห์แรก ๆ เด็กแรกเกิดจะนอนหลับประมาณ 16 ชั่วโมง/วัน และเด็กแรกเกิดหลายคนจะหลับขณะที่กำลังกินนมแม่ และสำหรับสัญญาณที่บอกว่าทารกง่วงนอน ได้แก่ หาว ตาปรือ ขยี้ตา

คุณพ่อคุณแม่ควรจัดท่าทางให้เด็กแรกเกิดนอนหงายอยู่เสมอ และควรมีเพียงผ้าห่มบาง ๆ ไม่ควรเอาอะไรไปทับตัวเพราะอาจทำให้หายใจไม่สะดวก เช่น ตุ๊กตา หมอน เด็กแรกเกิดอายุมากกว่า 1 เดือนมักเริ่มนอนหลับเป็นเวลา และหลับนานขึ้น

การเล่น

ในช่วงที่เด็กแรกเกิดตื่นนอน นอกจากการกินนมแล้ว พวกเขายังเริ่มเรียนรู้สิ่งต่างๆ จากคนใกล้ตัวทั้งจากน้ำเสียง สีหน้า และจากการสัมผัส คุณพ่อคุณแม่จึงอาจต้องร้องเพลง อ่านหนังสือ ยิ้มหัวเราะ หรือพูดคุยกับลูก เพื่อให้เขาได้เรียนรู้ นอกจากนี้ เด็กวัยนี้ยังไม่ต้องการของเล่น พวกเขาสามารถเล่นกับคุณพ่อคุณแม่ได้เพียงแค่พ่อแม่ทำท่าทางต่างๆ โดยไม่ต้องมีอุปกรณ์

แม้เด็กแรกเกิดจะมีกิจวัตรประจำวันไม่มากนัก แต่คุณพ่อคุณแม่ควรหัดสังเกตท่าทาง หรือสัญญาณของลูกน้อย เพื่อเรียนรู้ว่าท่าทางแบบไหนคือการสื่อสารถึงความต้องการในเรื่องอะไร เพื่อให้ลูกน้อยได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด รวมทั้งอาจเริ่มฝึกการกิน การนอน ให้เป็นเวลาเพื่อจะได้สะดวกและทำคุณพ่อคุณแม่สามารถจัดการสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำได้อย่างเป็นระเบียบและมีวินัยมากขึ้น

[embed-health-tool-vaccination-tool]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

A Day in the Life of Your Newborn. https://www.webmd.com/parenting/baby/newborn-day-in-the-life#1. Accessed November, 4, 2021.

Newborn care: 10 tips for stressed-out parents. https://www.mayoclinic.org/healthy-lifestyle/infant-and-toddler-health/in-depth/newborn/art-20045498.  Accessed November, 4, 2021.

A day in the life of a newborn. https://www.pregnancybirthbaby.org.au/a-day-in-the-life-of-a-newborn. Accessed November, 4, 2021.

Your newborn’s first week: what to expect. https://raisingchildren.net.au/pregnancy/labour-birth/first-week-of-life/newborns-first-week. Accessed November, 4, 2021.

Your baby’s daily routine. https://www.babycentre.co.uk/c1051912/your-babys-daily-routine. Accessed November, 4, 2021.

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

13/03/2022

เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

วิธีอาบน้ำทารก และการดูแลร่างกายส่วนต่าง ๆ

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับเด็กแรกเกิด ที่คุณพ่อคุณแม่รู้แล้วจะอึ้ง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


เขียนโดย ทีม Hello คุณหมอ · แก้ไขล่าสุด 13/03/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา