backup og meta

คลอธาลิโดน (Chorthalidone)

คลอธาลิโดน (Chorthalidone)

ยา คลอธาลิโดน (Chorthalidone) ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง และอาจใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาภาวะคั่งน้ำ ที่เกิดจากสภาวะบางอย่าง เช่น หัวใจวาย

ข้อบ่งใช้

ยา คลอธาลิโดน ใช้สำหรับ

ยา คลอธาลิโดน (Chorthalidone) ใช้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง และอาจใช้ร่วมกับยาอื่นเพื่อรักษาภาวะคั่งน้ำ ที่เกิดจากสภาวะบางอย่าง เช่น หัวใจวาย ปัญหาเกี่ยวกับตับหรือไต หรือยาอื่น ๆ  เช่น คอร์ติโคสเตียรอยด์ (Corticosteroids) เอสโตรเจน (Estrogens) นอกจากนี้ยังอาจใช้สำหรับอาการอื่น ๆ ตามที่แพทย์กำหนด

ยาคลอธาลิโดนเป็นยาขับปัสสาวะ ที่เหมือนกับยากลุ่มไทอะไซด์ (Thiazide-like diuretic) ซึ่งทำงานโดยการเพิ่มการขจัดโซเดียม (Sodium) และโพแทสเซียม (Potassium) ในปัสสาวะ ส่งผลให้ขับน้ำได้มากขึ้น

วิธีใช้ ยาคลอธาลิโดน

รับประทานยาคลอธาลิโดนตามที่แพทย์กำหนด ควรอ่านฉลากยาเพื่อให้ทราบคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง

รับประทานยาคลอธาลิโดนพร้อมกับอาหาร ควรรับประทานในตอนเช้า

ยาคลอธาลิโดนจะเพิ่มปริมาณของปัสสาวะ หากคุณรับประทานยาคลอธาลิโดนวันละ 1 ครั้ง ควรรับประทานในตอนเช้า เพื่อป้องกันการส่งผลกระทบกับการนอน

การเก็บรักษา ยาคลอธาลิโดน

ยาคลอธาลิโดนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาคลอธาลิโดนบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาคลอเฟนิรามีนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ ยาคลอธาลิโดน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบถ้าหาก

  • คุณกำลังตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หากอยู่ในช่วงที่คุณกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพรหรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้ยาหรือส่วนผสมอื่น หรือยาอื่น
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีภาวะทางการแพทย์อื่นๆ
  • หากคุณเป็นโรคเกาต์ โรคตับ ระดับของโพแทสเซียมในเลือดต่ำ โรคไต หรือโรคลูปัส (lupus)
  • หากคุณมีประวัติการเป็นโรคภูมิแพ้หรือโรคหืด

ยาคลอธาลิโดนอาจทำให้เกิดอาการมึนงง วิงเวียนศีรษะ หรือหมดสติ อาการเหล่านี้อาจเพิ่มขึ้นได้ หากคุณดื่มสุรา เจออากาศร้อน ออกกำลังกาย หรือเป็นไข้ เพื่อป้องกันอาการเหล่านี้ ควรลุกนั่งหรือยืนช้า โดยเฉพาะในตอนเช้า หากสังเกตเห็นสัญญาณแรกของอาการเหล่านี้ควรนั่งลงหรือล้มตัวลงนอนในทันที

ควรใช้ยาคลอธาลิโดนอย่างระมัดระวัง อย่าขับรถหรือทำกิจกรรมที่อาจเป็นอันตราย จนกว่าคุณจะทราบว่า คุณมีปฏิกิริยาต่อยาอย่างไร

ยาคลอธาลิโดนอาจทำให้ไวต่อแสงแดดมากขึ้น ควรหลีกเลี่ยงแสงแดด ทาครีมกันแดดและสวมเสื้อผ้าป้องกันทุกครั้งเมื่อต้องออกไปข้างนอกเป็นเวลานาน

ผู้ป่วยที่รับประทานยานี้เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง มักจะรู้สึกเหนื่อยล้า อ่อนเพลีย ในช่วงหลายสัปดาห์หลังจากเริ่มการรักษา ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าคุณจะรู้สึกเป็นปกติดี แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการใหม่ ๆ

แพทย์อาจสั่งอาหารเสริมโพแทสเซียมให้ คุณควรรับประทานตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด อย่ารับประทานอาหารเสริมโพแทสเซียมเอง หรือเปลี่ยนมารับประทานอาหารที่มีโพแทสเซียมมากขึ้นโดยไม่ปรึกษากับแพทย์

อาจต้องมีการทดสอบในห้องทดลอง รวมไปถึงการตรวจสมรรถภาพตับ การตรวจสมรรถภาพไต และการตรวจอิเล็คโทรไลท์ (Electrolytes) ขณะที่คุณกำลังใช้ยาคลอธาลิโดน การทดสอบเหล่านี้ทำเพื่อเฝ้าสังเกตสภาวะและตรวจสอบผลข้างเคียงของยา ควรมาตามนัดของแพทย์ทุกครั้ง

ควรใช้ยาคลอธาลิโดนกับผู้ป่วยเด็กอย่างระมัดระวัง ยังไม่มีการยืนยันความปลอดภัย และประสิทธิภาพของยากับผู้ป่วยเด็ก

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่เพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาคลอธาลิโดนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ ยาคลอธาลิโดน

ยาทุกชนิดนั้นอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ก็มีคนจำนวนมากที่อาจจะไม่มีผลข้างเคียง หรืออาจมีผลข้างเคียงน้อย ควรติดต่อแพทย์ หากผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปเหล่านี้ไม่ยอมหายไป หรือส่งผลกระทบกับการใช้ชีวิตประจำวัน

  • ท้องผูก
  • มึนงง
  • ปวดศีรษะ
  • วิงเวียนศีรษะโดยเฉพาะขณะลุกนั่งหรือยืนขึ้น

รับการรักษาพยาบาลในทันที หากคุณมีผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • อาการแพ้ที่รุนแรง ได้แก่ ผดผื่น ลมพิษ คัน หายใจติดขัด แน่นหน้าอก บวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น
  • ง่วงซึม
  • ปากแห้ง
  • หย่อนสมรรถภาพทางเพศ
  • ตับอ่อนอักเสบ
  • ปวดกล้ามเนื้อหรือเป็นตะคริว
  • คลื่นไส้ อาเจียน
  • หัวใจเต้นเร็ว หรือผิดปกติ
  • ผดผื่น หรืออาการคัน
  • กระสับกระส่าย
  • กระหายน้ำผิดปกติ
  • รู้สึกเหนื่อยล้าหรืออ่อนแรงผิดปกติ
  • ผิวเหลือง หรือตาเหลือง

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาคลอธาลิโดนอาจเกิดอันตรกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบว่าคุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่มหรือ หยุดใช้ยา รวมถึงเปลี่ยนขนาดยาโดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ยาที่อาจมีปฏิกิริยากับยาคลอธาลิโดน ได้แก่ ไดอะซอกไซด์ (diazoxide) ดิจิทาลิสไกลโคไซด์ (digitalis glycosides) เช่น ไดจอกซิน (digoxin) คีแทนซีริน (ketanserin) ลิเทียม (lithium) เนื่องจากประสิทธิภาพและความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง อาจเพิ่มขึ้นเพราะยาคลอธาลิโดน

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาคลอธาลิโดนอาจมีปฏิกิริยากับอาหาร หรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาคลอธาลิโดนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่ได้มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเสมอ เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาคลอธาลิโดนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะความดันโลหิตสูง (Hypertension)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 25 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • การปรับขนาดยา : หากการตอบสนองไม่เพียงพอ ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 50 มก. รับประทานวันละครั้ง หากการตอบสนองยังคงไม่เพียงพอ ให้เพิ่มขนาดยาเป็น 100 มก. รับประทานวันละครั้ง หรืออาจใช้ยาลดความดันโลหิตอย่างที่สอง (การรักษาขั้นที่ 2)
  • ขนาดยาปกติ : 25 ถึง 100 มก. รับประทานวันละครั้ง
  • ขนาดยาสูงสุด : 100 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะบวมน้ำ (Edema)

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 50 ถึง 100 มก. รับประทานวันละครั้ง หรือ 100 มก. รับประทานวันเว้นวัน ผู้ป่วยบางรายอาจต้องรับประทาน 150 ถึง 200 มก. ในช่วงเวลาเหล่านี้
  • ขนาดยาสูงสุด : 200 มก. รับประทานวันละครั้ง

ขนาดยาคลอธาลิโดนสำหรับเด็ก

ยังไม่มีการพิสูจน์ความความปลอดภัยและประสิทธิภาพของขนาดยานี้สำหรับผู้ป่วยเด็ก ยานี้อาจเป็นอันตรายต่อเด็กได้ ดังนั้น จึงควรทำความเข้าใจกับความปลอดภัยของยาก่อนการใช้ยา สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมโปรดติดต่อแพทย์หรือเภสัชกร

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ด 50 มก., 25 มก., 100 มก., 15 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือการใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยาเป็นสองเท่า

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Chlorthalidone. https://www.drugs.com/cdi/chlorthalidone.html. Accessed August 7, 2017

Chlorthalidone. http://www.healthline.com/health/chlorthalidone-oral-tablet. Accessed August 7, 2017

Chlorthalidone. https://www.drugbank.ca/drugs/DB00310. Accessed August 7, 2017

Chlorthalidone. https://www.rxlist.com/consumer_chlorthalidone_thalitone/drugs-condition.htm. Accessed August 7, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/08/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Nattrakamol Chotevichean


บทความที่เกี่ยวข้อง

เทคนิคการ ควบคุมความดันโลหิตสูง โดยไม่ต้องพึ่งยา

โรคตับและอาการคัน เกี่ยวข้องกันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/08/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา