backup og meta

ทามอคซิเฟน (Tamoxifen)

ข้อบ่งใช้

ยาทามอคซิเฟนใช้สำหรับ

ยาทามอคซิเฟน (Tamoxifen) เป็นยาที่ใช้รักษามะเร็งเต้านม ที่ลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย (metastatic breast cancer) เพื่อรักษามะเร็งเต้านมในผู้ป่วยบางประเภท หลังเข้ารับการผ่าตัด และการรักษาด้วยรังสีบำบัด และเพื่อลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม ในผู้ป่วยที่มีความเสี่ยงสูง

ยาตัวนี้จะไปขัดขวางการเติบโตของมะเร็งเต้านม ตัวยาจะทำงานโดยไปขัดขวางผลกระทบของเอสโตรเจนในเนื้อเยื่อหน้าอก

วิธีการใช้ยาทามอคซิเฟน

อ่านคู่มือทางการแพทย์ที่ได้รับมาจากเภสัชกรของคุณ ก่อนที่คุณจะเริ่มใช้ยาทามอคซิเฟน และในแต่ละครั้งที่คุณไปรับยาชุดใหม่ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ ปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณ

รับประทานเพียงยาอย่างเดียว หรือพร้อมกับอาหาร 1-2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 ปี หรือตามที่หมอของคุณสั่ง ขนาดยาต่อวันที่รับประทานมากกว่า 20 มิลลิกรัม มักจะแบ่งครึ่ง และรับประทาน 2 ครั้งต่อวัน ในช่วงเช้าและช่วงเย็น หรือตามที่หมอของคุณสั่ง หากคุณใช้ในรูปแบบยาน้ำ วัดขนาดยาโดยใช้เครื่องมือ/ช้อนวัดอย่างระมัดระวัง อย่าใช้ช้อนกินอาหาร เนื่องจากคุณอาจไม่ได้ระดับของขนาดยาที่ถูกต้อง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอาการทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษาของคุณ

ใช้ยาตัวนี้เป็นประจำ เพื่อให้ได้รับประโยชน์สูงสุด การใช้ยาเวลาเดิมในทุกๆวัน จะช่วยให้คุณจำได้ง่ายขึ้น

หากคุณเป็นมะเร็งเต้านมที่อาการลุกลามไปยังส่วนอื่นของร่างกาย คุณอาจประสบกับอาการปวดกระดูก/มะเร็ง และ/หรือ โรคประทุขึ้นมาในขณะที่คุณเริ่มรับประทานยาทามอคซิเฟน ในบางกรณี สิ่งนี้อาจเป็นสัญญาณที่ดีของการตอบสนองต่อการรักษา อาการต่างๆ ได้แก่ เจ็บกระดูกมากขึ้น เนื้องอกมีขนาดใหญ่ขึ้น หรือมีเนื้องอกชิ้นใหม่เกิดขึ้น อาการเหล่านี้ มักจะหายไปได้เองอย่างรวดเร็ว ในกรณีใดๆ ก็ตาม รายงานอาการเหล่านี้ต่อหมอของคุณทันที

เนื่องจากยาตัวนี้ สามารถดูดซึมเข้าผิวหนังและปอดได้ ผู้หญิงที่กำลังตั้งครรภ์หรืออาจจะตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ยาตัวนี้ หรือสูดหายใจเอาตัวยาเข้าไป (ดูหัวข้อ ข้อควรระวัง)

แจ้งหมอของคุณทันที หากอาการของคุณทรุดลง (อย่างเช่น เกิดก้อนเนื้อในหน้าอก)

วิธีเก็บรักษายาทามอคซิเฟน

ยาทามอคซิเฟนจะเก็บรักษาได้ดีที่สุดในอุณหภูมิห้อง ห่างไกลจากแสงแดดและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพของตัวยา คุณไม่ควรเก็บยาทามอคซิเฟนในห้องน้ำหรือช่อแช่แข็ง อาจมียาทามอคซิเฟนหลายยี่ห้อที่ต้องการการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน จึงเป็นสิ่งสำคัญเสมอในการตรวจสอบบรรจุภัณฑ์ของยาสำหรับคำแนะนำในการเก็บรักษา หรือสอบถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาทามอคซิเฟนลงในชักโครก หรือทิ้งลงท่อระบายน้ำ นอกจากว่าได้รับคำแนะนำดังนั้น เป็นเรื่องสำคัญในการทิ้งยาให้เหมาะสม เมื่อยาหมดอายุ หรือไม่จำเป็นต้องใช้แล้ว ปรึกษากับเภสัชกรของคุณสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติม เกี่ยวกับการทิ้งยาของคุณอย่างไรให้ปลอดภัย

รู้จักกับข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาทามอคซิเฟน

ในการตัดสินใจใช้ยา จำเป็นต้องชั่งน้ำหนักของประโยชน์และความเสี่ยงของการรับประทานยา นี่คือการตัดสินใจที่คุณและแพทย์จะต้องทำ สำหรับยาตัวนี้ ควรคำนึงถึงปัจจัยต่อไปนี้

อาการแพ้

บอกหมอของคุณ หากคุณเคยมีอาการผิดปกติหรืออาการแพ้ใดๆ ต่อยาตัวนี้ หรือยาตัวอื่นๆ นอกจากนี้ คุณควรบอกผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพของคุณทราบ หากคุณมีอาการแพ้ประเภทอื่นๆ เช่น อาหาร สีย้อม สารกันบูดหรือสัตว์ สำหรับผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ต้องใช้ใบสั่งแพทย์ อ่านฉลากหรือส่วนผสมบนบรรจุภัณฑ์อย่างละเอียด

ผู้สูงอายุ

ไม่มีงานวิจัยในการใช้ยาหลายชนิดในผู้สูงอายุ ดังนั้น มันอาจยังไม่ทราบแน่ชัดว่า ประสิทธิภาพของยาได้ผลตรงกับที่เกิดในผู้ใหญ่ที่อายุน้อยกว่าหรือไม่ แม้ว่าจะยังไม่มีข้อมูลเฉพาะในการเปรียบเทียบการใช้ยาทามอคซิเฟน ในผู้สูงอายุกับกลุ่มอายุอื่นๆ คาดกันว่ายาตัวนี้จะไม่ก่อให้เกิดผลข้างเคียง หรือปัญหาที่แตกต่างกันในผู้สูงอายุมากกว่าที่เกิดขึ้นในวัยผู้ใหญ่

ความปลอดภัยในช่วงตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีข้อมูลเพียงพอเกี่ยวกับวิธีใช้ยาตัวนี้ ในช่วงตั้งครรภ์และให้นมบุตร ทุกครั้งโปรดปรึกษากับหมอของคุณ เพื่อประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นได้ก่อนใช้ยา

รู้จักกับผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากการใช้ยาทามอคซิเฟน

เข้ารับความช่วยเหลือทางการแพทย์ทันที หากคุณมีสัญญาณใดๆ ก็ตามของปฏิกิริยาภูมิแพ้ โรคลมพิษ ปัญหาในการหายใจ อาการบวมบนใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้นและคอ

หยุดใช้ยาทามอคซิเฟน และโทรแจ้งหมอของคุณทันที หากคุณมีผลข้างเคียงรุนแรง ได้แก่

  • อาการชาหรืออ่อนแรงฉับพลัน โดยเฉพาะบริเวณฝั่งใดฝั่งหนึ่งของร่างกาย
  • มีอาการปวดหัว สับสน ปัญหาการมองเห็น การพูดและการทรงตัวอย่างรุนแรง
  • เจ็บหน้าอก ไอฉับพลัน หายใจลำบาก หายใจเร็ว ชีพจรหัวใจเต้นเร็ว
  • มีอาการเจ็บ บวม ร้อนหรือรอยแดงที่ขาข้างหนึ่งหรือทั้งสองข้าง
  • อาการคลื่นไส้ เบื่ออาหาร กระหายน้ำมากขึ้น กล้ามเนื้ออ่อนแรง สับสน และรู้สึกเหนื่อยหรือพักผ่อนไม่เพียงพอ
  • มีความผิดปกติของการตกเลือดหรือสารคัดหลั่งจากช่องคลอด
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • อาการเจ็บบริเวณกระดูกเชิงกราน
  • มองเห็นไม่ชัด เจ็บตา หรือมองเห็นรัศมีวงกลมรอบดวงไฟ
  • เกิดรอยฟกช้ำได้ง่าย อาการเลือดออกผิดปกติ (จมูก ปาก ช่องคลอดหรือลำไส้) มีจุดสีแดงหรือสีม่วงใต้ผิวหนัง
  • เป็นไข้ สั่น เจ็บตามร่างกาย อาการหวัด
  • ก้อนเนื้อในหน้าอก หรือ
  • เจ็บกระเพาะส่วนบน อาการคัน ปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระเป็นสีเทา ดีซ่าน (ผิวหนังและดวงตาเป็นสีเหลือง)

อาจมีผลข้างเคียงที่ไม่รุนแรงเกิดขึ้น ได้แก่

  • ตัวร้อนวูบวาบ
  • เจ็บกระดูกหรือข้อหรือเจ็บเนื้องอก
  • อาการบวมที่มือและเท้า
  • ช่องคลอดแห้งหรือระคายเคือง
  • แรงขับเคลื่อนทางเพศลดลง การไร้สมมรถภาพทางเพศ หรือมีปัญหาในการถึงจุดสุดยอด
  • ปวดหัว เวียนหัว ซึมเศร้า หรือ
  • ผมร่วง

ไม่ใช่ทุกคนจะพบผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงบางอาการที่ไม่มีอยู่ด้านบน หากคุณมีความกังวลใดๆเกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ

รู้จักกับปฏิกิริยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาทามอคซิเฟนอาจทำปฏิกิริยากับยาตัวอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาของยา คุณควรจดรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้อยู่ (ทั้งยาที่ต้องใช้ใบสั่งยา ยาที่ไม่ใช้ใบสั่งแพทย์และผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร) และให้หมอและเภสัชกรของคุณดู เพื่อความปลอดภัยของคุณอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับการอนุญาตจากหมอ

ไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ หมอของคุณอาจตัดสินใจไม่รักษาคุณพร้อมกับยาตัวนี้หรือเปลี่ยนชนิดยาที่คุณกำลังรับประทานอยู่

  • ยาอะมิแฟมพรีดิน (Amifampridine)
  • ยาฟลูโคนาโซล (Fluconazole)
  • ยาคีโตโคนาโซล (Ketoconazole)
  • ยาเนลฟินาเวียร์ (Nelfinavir)
  • ยาไพเพอราควิน (Piperaquine)
  • ยาโพซาโคนาโซล (Posaconazole)
  • ยาวาร์ฟาริน (Warfarin)

ไม่แนะนำให้ใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นต้องใช้ร่วมกันในบางกรณี หากมียาที่ถูกจ่ายพร้อมกับยาตัวนี้ หมอของคุณอาจเปลี่ยนตัวยา หรือจำนวนครั้งของการใช้ยาตัวหนึ่ง หรือตัวยาทั้งสองชนิด

  • ยาอะบิราเทโรน อะซีเตท (Abiraterone Acetate)
  • ยาอะเซโนคูมารอล (Acenocoumarol)
  • ยาอะนาเกรไลด์ (Anagrelide)
  • ยาอะพรีพิแทนท์ (Aprepitant)
  • ยาอะริพิพราโซล (Aripiprazole)
  • ยาบูเซเรลิน (Buserelin)
  • ยาคาร์บามาเซพิน (Carbamazepine)
  • ยาเซริทินิบ (Ceritinib)
  • ยาคลอโพรมาซิน (Chlorpromazine)
  • ยาคลาริโทรมายซิน (Clarithromycin)
  • ยาโคลบาแซม (Clobazam)
  • ยาโคบิซิสแทท (Cobicistat)
  • ยาคริโซตินิบ (Crizotinib)
  • ยาไซโครโฟสฟาไมด์ (Cyclophosphamide)
  • ยาเดบราเฟนิบ (Dabrafenib)
  • ยาเดลามานิด (Delamanid)
  • ยาเดซิพรามีน (Desipramine)
  • ยาเดสโลเรลิน (Deslorelin)
  • ยาดิคูมารอล (Dicumarol)
  • ยาดอมเพริดอน (Domperidone)
  • ยาเอสซิตาโลแพรม (Escitalopram)
  • ยาเอสลิคาร์บาเซพิน อะซีเตท (Eslicarbazepine Acetate)
  • ยาฟลูโอรัวราซิล (Fluorouracil)
  • ยาฟลูออกเซติน (Fluoxetine)
  • ยาฟลูฟีนาซีน (Fluphenazine)
  • ยาฟลูวอคซามีน (Fluvoxamine)
  • ยาโฟซาพีพิแทนท์ (Fosaprepitant)
  • ยาเจนิสทีน (Genistein)
  • ยาโกนาโดเรลิน (Gonadorelin)
  • ยาโกเซเรลิน (Goserelin)
  • ยาฮิสเตรลิน (Histrelin)
  • ยาไอเดลาลิซิบ (Idelalisib)
  • ยาไอพริฟลาโวน (Ipriflavone)
  • ยาไอวาบราดีน (Ivabradine)
  • ยาลิวโพรดีน (Leuprolide)
  • ยาเมโทเทรเซต (Methotrexate)
  • ยาเมโทรนิดาโซล (Metronidazole)
  • ยาไมโทมายซิน (Mitomycin)
  • ยาไมโทเทน (Mitotane)
  • ยามอคซิโฟรซาซิน (Moxifloxacin)
  • ยานาฟาเรลิน (Nafarelin)
  • ยานิโลทานิบ (Nilotinib)
  • ยานิทิซิโนน (Nitisinone)
  • ยาออนดานเซตรอน (Ondansetron)
  • ยาพาโรเซติน (Paroxetine)
  • ยาพาซิเรโอไทด์ (Pasireotide)
  • ยาพาโซพานิบ (Pazopanib)
  • ยาเฟนโพรคูมอน (Phenprocoumon)
  • ยาพริมิดอน (Primidone)
  • ยาคิวทิอาไพน์ (Quetiapine)
  • สมุนไพร เรด โคลเวอร์ (Red Clover)
  • ยาไรโตนาเวียร์ (Ritonavir)
  • ยาเซอร์ทราไลน์ (Sertraline)
  • ยาเซโวฟลูเรน (Sevoflurane)
  • ยาซิลทูซิแมบ (Siltuximab)
  • สมุนไพรเซนต์ จอห์น วอรท์ (St John’s Wort)
  • ยาทริปโทเรลิน (Triptorelin)
  • ยาวานเดทานิบ (Vandetanib)
  • ยาเวบูราเฟนิบ (Vemurafenib)
  • ยาวินฟลูไนน์ (Vinflunine)

การใช้ยาตัวนี้ร่วมกับยาใดๆ ดังต่อไปนี้ อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงบางประการ แต่การใช้ยาร่วมกันอาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากยาเหล่านี้ถูกจ่ายให้พร้อมกันจากหมอของคุณ หมอของคุณอาจเปลี่ยนตัวยา หรือจำนวนครั้งของการใช้ยาตัวหนึ่ง หรือตัวยาทั้งสองชนิด

  • ยาอัลเดสลิวคิน (Aldesleukin)
  • ยาอะมิโนกลูเตทิไมด์ (Aminoglutethimide)
  • ยาอะนาสโตรโซล (Anastrozole)
  • ยาเบคซาโรทีน (Bexarotene)
  • ยาเลโทรโซล (Letrozole)
  • ยาไรแฟมพิน (Rifampin)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาทามอคซิเฟนอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษากับหมอหรือเภสัชกรของคุณ ถึงปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้นได้ ก่อนใช้ยาตัวนี้

ปฏิกิริยากับอาการโรค

ยาทามอคซิเฟนอาจทำปฎิกิริยากับอาการโรคของคุณ ปฏิกิริยานี้อาจทำให้อาการโรคของคุณทรุดลง หรือเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา จึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะบอกให้หมอและเภสัชกรรู้ถึงอาการโรคที่คุณกำลังเป็น โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

สำหรับผู้ป่วย

  • ปัญหาเกี่ยวกับเลือด หรือ
  • ต้อกระจกหรือปัญหาตาอื่นๆ ยาทามอคซิเฟน อาจก่อให้เกิดปัญหาเหล่านี้
  • ระดับคอเลสเตอรอลในเลือดสูง ยาทามอคซิเฟน สามารถเพิ่มระดับคอเลสเตอรอลในเลือดได้

เมื่อใช้ยาตัวนี้ในการลดความเสี่ยงของการเกิดมะเร็งเต้านม ในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูง หรือผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ศูนย์ (DCIS)

  • การเกิดลิ่มเลือด (หรือเคยมีประวัติ) หรือ
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด (หรือเคยมีประวัติ) หรือ
  • หลอดเลือดในสมองแตก หรือ
  • มะเร็งมดลูก อาจเพิ่มความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรงจากการใช้ยาทามอคซิเฟน

ทำความเข้าใจขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ใดๆ ควรปรึกษาหมอหรือเภสัชกรของคุณทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพื่อเติมก่อนใช้ยาตัวนี้

ขนาดยาทามอคซิเฟนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทามอคซิเฟนสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งเต้านม

สำหรับการรักษามะเร็งเต้านมระยะแพร่กระจายในผู้หญิงและผู้ชาย

รับประทาน 20 ถึง 40 มิลลิกรัม ควรแบ่งขนาดยาเท่า ๆ กัน หากมีการรับประทานยาขนาด 20 มิลลิกรัมขึ้นไป (ช่วงเช้าและช่วงเย็น)

สำหรับการรักษาผู้หญิงที่เป็นมะเร็งเต้านมระยะที่ศูนย์ หลังการผ่าตัดเต้านมและฉายรังสี

รับประทาน 20 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 5 ปี

เพื่อลดการเกิดมะเร็งเต้านมในผู้หญิงที่มีความเสี่ยงสูงสำหรับมะเร็งเต้านม

รับประทาน 20 มิลลิกรัม ทุกวัน เป็นเวลา 5 ปี

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งเต้านม-ทางเลือกเสริม

สำหรับการรักษา มะเร็งเต้านมที่ต่อมน้ำเหลืองใต้รักแร้ในผู้หญิงวัยหมดระดูที่ผ่าตัดเต้านมออกบางส่วนหรือทั้งหมด การผ่าตัดรักแร้และการฉายรังสีที่หน้าอก:

รับประทาน 10 มิลลิกรัม 2 ถึง 3 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 5 ปี

ขนาดยาทามอคซิเฟนสำหรับผู้ใหญ่ที่เป็นมะเร็งเต้านม-บรรเทาอาการ

รับประทาน 10 ถึง 20 มิลลิกรัม สองครั้งต่อวัน

อาจไม่มีการตอบสนองในทางที่ดีให้เห็นชัดเป็นเวลาหลายเดือนหลังเริ่มการรักษา

ขนาดยาทามอคซิเฟนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นโรค McCune-Albright

สำหรับการใช้ในเด็กผู้หญิงวัย 2 ถึง 10 ปี ที่เป็นโรค McCune-Albright และภาวะเจริญพันธุ์ก่อนวัย:

20 มิลลิกรัม วันละครั้ง ระยะการรักษามากสุด 12 เดือน

ขนาดยาสำหรับเด็กที่เป็นภาวะเจริญพันธุ์ก่อนวัย (Precocious Puberty)

สำหรับการใช้ในเด็กผู้หญิงวัย 2 ถึง 10 ปี ที่เป็นโรค McCune-Albright และภาวะเจริญพันธุ์ก่อนวัย:

20 มิลลิกรัม วันละครั้ง ระยะการรักษามากสุด 12 เดือน

รูปแบบยา

ยาทามอคซิเฟน มีให้เลือกใช้ในรูปแบบและฤทธิ์ยาดังต่อไปนี้ ได้แก่

  • ยาน้ำสำหรับรับประทาน: 10 มิลลิกรัม/5 มิลลิลิตร (150 มิลลิลิตร)
  • ยาเม็ด: 10 มิลลิกรัม; 20 มิลลิกรัม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด แจ้งศูนย์การแพทย์ฉุกเฉินท้องถิ่นหรือไปยังห้องฉุกเฉินที่ใกล้ที่สุด

อาการของการใช้ยาเกินขนาด ได้แก่

  • ส่วนหนึ่งของร่างกายเกิดการสั่นอย่างควบคุมไม่ได้
  • ทรงตัวไม่ได้
  • เวียนหัว

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานยาทามอคซิเฟน กลับมาใช้ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ตาม หากใกล้ถึงเวลาที่คุณจะต้องใช้ยาครั้งต่อไป ข้ามขนาดยาครั้งที่แล้ว และใช้ขนาดยาตามกำหนดการเดิม อย่าเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Tamoxifen. https://www.drugs.com/tamoxifen.htm. Accessed July 15, 2016.

Tamoxifen. https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682414.htm. Accessed July 15, 2016.

Tamoxifen. http://www.breastcancer.org/treatment/hormonal/serms/tamoxifen. Accessed July 15, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

31/12/2019

เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: pimruethai


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ปราโมทย์ วงศ์คำ · แก้ไขล่าสุด 31/12/2019

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา