backup og meta

นาลเทรกโซน (Naltrexone)

นาลเทรกโซน (Naltrexone)

ข้อบ่งใช้ นาลเทรกโซน

นาลเทรกโซน ใช้สำหรับ

นาลเทรกโซน (Naltrexone) ใช้สำหรับจัดการโรคพิษสุราเรื้อรังและการติดยาเสพติดโอปิออยด์ (opioid) สามารถช่วยระงับความต้องการของคนที่จะดื่ม ยานาลเทรกโซนใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการรักษาสำหรับภาวะพึ่งพายาหรือแอลกอฮอล์และควรหยุดใช้ยานั้นในภายหลัง ยานาลเทรกโซนสามารถช่วยให้คุณไม่รู้สึกระงับอารมณ์ของการยาโอปิออยด์ได้

ยานาลเทรกโซน ยังใช้เพื่อรักษาโรคพิษสุรา (alcoholism) โดยการลดความต้องการที่จะดื่มสุรา ยานี้อาจจะช่วยให้หยุดดื่มสุราน้อยลงหรือหยุดดื่มสุราอย่างถาวร นาลเทรกโซนจะไม่สามารถทำให้คุณสร่างเมาและจะไม่ลดผลของแอลกอฮอล์ที่คุณดื่มเข้าไป ยานี้ไม่สามารถรักษาอาการติดยาหรือโรคพิษสุราให้หายขาดได้และอาจใช้เพื่อจุดประสงค์อื่นนอกเหนือจากฉลากยาได้

วิธีการใช้ นาลเทรกโซน

  • รับประทานยานี้พร้อมกับอาหารหรือรับประทานแยกต่างหาก โดยปกติคือ 50 มก. 1 ครั้ง ต่อวัน หรือตามที่แพทย์กำหนด
  • นาลเทรกโซนอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของโปรแกรมการรักษาที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญมีการดูแลและเฝ้าสังเกตคุณรับประทานอย่างใกล้ชิด ในกรณีนี้แพทย์อาจจะสั่งให้ใช้ปริมาณยาที่สูงกว่า (100-150 มก.) รับประทานทุกๆ 2-3 วัน หากเกิดอาการท้องไส้ปั่นป่วน สามารถรับประทานยานาลเทรกโซนพร้อมกับอาหารหรือยาลดกรดได้
  • ควรทำการตรวจปัสสาวะเพื่อตรวจดูการใช้ยาโอปิเอต (opiate) ครั้งล่าสุด แพทย์อาจจะให้คุณใช้ยาอื่นหรือการทดสอบกระตุ้นนาลอกโซน (naloxone challenge test) เพื่อตรวจสอบการใช้ยาโอปิเอต
  • ห้ามใช้ยาโอปิเอต อย่างน้อย 7 วันก่อนเริ่มใช้นาลเทรกโซน คุณอาจจะต้องหยุดใช้ยาโอปิเอตบางชนิด เช่น เมทาโดน (methadone) 10 ถึง 14 วัน ก่อนเริ่มใช้นาลเทรกโซน
  • ขนาดยาขึ้นอยู่กับภาวะสุขภาพและการตอบสนองต่อการรักษา แพทย์อาจให้คุณเริ่มใช้ยาในปริมาณที่ต่ำและเฝ้าระวังผลข้างเคียงหรืออาการถอนยาก่อนเพิ่มขนาดยา ควรใช้ยานี้ตามที่กำหนด อย่าเพิ่มขนาดยา หรือหยุดใช้ยาโดยไม่ได้รับการยอมรับจากแพทย์

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเริ่มใช้ยาหรือดื่มสุราอีกครั้ง

การเก็บรักษา นาลเทรกโซน

  • ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
  • ไม่ควรทิ้งนาลเทรกโซนลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน

นาลเทรกโซนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ นาลเทรกโซน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบถึงอาการ ดังนี้

  • คุณกำลังตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร เนื่องจากในช่วงที่คุณมีความตั้งใจหรือกำลังให้นมบุตร ควรใช้ยาตามที่แพทย์แนะนำเท่านั้น
  • หากคุณกำลังใช้ยาอื่นอยู่ รวมทั้งยาที่หาซื้อได้เอง เช่น สมุนไพร หรือยาทางเลือกอื่นๆ
  • หากคุณแพ้สารออกฤทธิ์ที่มีส่วนประกอบของนาลเทรกโซน หรือยาอื่นๆ
  • หากคุณมีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือมีสภาวะทางการแพทย์อื่นๆ

ไม่ควรใช้ยานาลเทรกโซนหากมีสภาวะ ดังนี้

  • คุณกำลังมีอาการถอนยาจากการติดยาเสพติดหรือการติดสุรา
  • หากคุณเพิ่งใช้ยากลุ่มโอปิออยด์ภายใน 10 วันที่ผ่านมา เช่น เฟนทานิล (fentanyl) วิโคดิน (Vicodin) ออกซิคอนทิน (OxyContin) และอื่นๆ อีกมากมาย
  • หากคุณใช้ยาเมทาโดน (methadone) หรือยาบูพรีนอร์ฟีน (buprenorphine) อย่างซูบูเท็กซ์ (Subutex) บูทราน (Butrans) ซูโบโซน (Suboxone) หรือซับโซฟ (Zubsolv) ภายใน 14 วันที่่ผ่านมา

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรี ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

นาลเทรกโซนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ นาลเทรกโซน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันทีหากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

การใช้ยาโอปิออยด์ขณะที่กำลังใช้นาลเทรกโซนอาจกระตุ้นให้เกิดอาการถอนยาโอปิอยด์ได้ อาการถอนยาที่พบได้ทั่วไปคือ

  • หงุดหงิดง่าย
  • เหงื่อออก ขนลุก
  • เป็นไข้ หนาวสั่น
  • อาเจียน ท้องร่วง
  • น้ำตาไหล น้ำมูกไหล
  • ปวดเมื่อยตัว นอนไม่หลับ และรู้สึกร้อนรน

โปรดติดต่อแพทย์ทันทีหากคุณมีอาการรุนแรง ดังนี้

  • คลื่นไส้อย่างรุนแรง อาเจียน หรือท้องร่วง
  • อารมณ์เปลี่ยนแปลง สับสน มองเห็นภาพหลอน มองเห็นหรือได้ยินสิ่งที่ไม่มีจริง
  • ซึมเศร้า มีความคิดเกี่ยวกับการฆ่าตัวตายหรือทำร้ายตัวเอง
  • ปัญหาเกี่ยวกับตับ – คลื่นไส้ ปวดท้องส่วนบน คัน รู้สึกเหนื่อย เบื่ออาหาร ปัสสาวะสีคล้ำ อุจจาระสีดิเหนียว ดีซ่าน ดวงตาหรือผิวหนังเป็นสีเหลือง

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปมี ดังนี้

  • คลื่นไส้ อาเจียน ปวดท้อง
  • ปวดหัว วิงเวียน ง่วงซึม
  • วิตกกังวลหรือประหม่า
  • นอนไม่หลับ
  • ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อหรือข้อต่อ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หรือมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียงเพิ่มเติมโปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

นาลเทรกโซนอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

นาลเทรกโซนอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

นาลเทรกโซนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

โรคที่อาจมีปฏิกิริยากับยานี้ ได้แก่

  • โรคไต
  • โรคตับ
  • อาการเลือดออกผิดปกติหรือลิ่มเลือด เช่น โรคฮีโมฟีเลีย (hemophilia)

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาด นาลเทรกโซน สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะพึ่งพาแอลกอฮอล์

ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 50 มก. รับประทาน 1 ครั้ง ต่อวัน

ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดรูปแบบออกฤทธิ์นาน 380 มก. ทุกๆ 4 สัปดาห์ (หรือเดือนละครั้ง) โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อกล้ามเนื้อกลูเตียล (gluteal) หรือเข้าทางก้น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะพึ่งพายาโอปิเอต

ไม่ควรเริ่มการรักษานอกเสียจากผู้ป่วยจะไม่ได้ใช้ยาโอปิออยด์เป็นเวลาอย่างน้อย 7 ถึง 10 วัน ควรยืนยันการไม่ได้ใช้ยาโอปิออยด์โดยการตรวจปัสสาวะเพื่อดูว่าไม่มีสารตกค้าง

หากมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับภาวะพึ่งยาโอปิออยด์แฝง ควรทำการทดสอบกระตุ้นนาลอกโซนและอย่าเริ่มการรักษาด้วยยานาโลโซนจนกว่าผลการทดสอบกระตุ้นนาลอกโซนจะเป็นลบ หรือหากปัสสาวะของผู้ป่วยมีสารของยาโอปิออยด์อยู่ การทดสอบกระตุ้นนาลอกโซนสามารถทำได้ภายใน 24 ชั่วโมง

ขนาดยาเริ่มต้น 25 มก. รับประทาน 1 ครั้ง ต่อวัน

ขนาดยาปกติ หากไม่มีสัญญาณของอาการถอนยา อาจเริ่มที่ขนาด 50 มก. รับประทาน 1 ครั้ง ต่อวัน

ตารางการใช้ยาอีกทางเลือก (เพื่อเพิ่มการปฏิบัติตาม) 50 มก. รับประทานในวันธรรมดา และ 100 มก. รับประทานในวันอาทิตย์ และ 100 มก. รับประทานในวันเสาร์ หรือ 100 มก. รับประทานวันเว้นวัน หรือ 150 มก. รับประทานทุกๆ 3 วัน

ยาแขวนตะกอนสำหรับฉีดแบบออกฤทธิ์นาน 380 มก. ทุกๆ 4 สัปดาห์ (หรือเดือนละครั้ง) โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อกล้ามเนื้อกลูเตียลหรือเข้าทางก้น

ขนาด นาลเทรกโซน สำหรับเด็ก

ไม่มีการกำหนดขนาดยาสำหรับผู้ป่วยเด็ก เนื่องจากเป็นยาค่อนข้างอันตราย ควรทำความเข้าใจถึงความปลอดภัยของนาราทริปแทนก่อนใช้และโปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

รูปแบบของยา

รูปแบบของยามี ดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 50 มก.
  • ยารูปแบบฉีด

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมรับประทานนาเทรกโซน ควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด 

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Naltrexone. https://www.drugs.com/mtm/naltrexone.html. Accessed December 02, 2019

Naltrexone. http://www.webmd.com/drugs/2/drug-7399/naltrexone-oral/details. Accessed December 02, 2019

Naltrexone for Alcoholism and Opioid Addiction . https://www.verywellmind.com/naltrexone-treatment-for-alcoholism-and-addiction-67515 . Accessed December 02, 2019

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

อัปเดตโดย: ปัญญพัฒน์ เอี่ยมสิน


บทความที่เกี่ยวข้อง

ตับแข็งจากแอลกอฮอล์ (Alcoholic liver cirrhosis)

แอลกอฮอล์ และ สุขภาพหัวใจ สัมพันธ์กันอย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา