ข้อบ่งใช้ นีโอมัยซิน
นีโอมัยซิน ใช้สำหรับ
นีโอมัยซิน (Neomycin) ใช้เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากการผ่าตัดลำไส้บางชนิด ยาตัวนี้อยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะอะมิโนไกลโคไซด์ (Aminoglycoside antibiotics) ทำงานโดยหยุดยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
นีโอมัยซินยังอาจใช้ร่วมกับการรับประทานอาหารแบบพิเศษเพื่อรักษาปัญหาเกี่ยวกับสมองที่รุนแรงบางชนิด อย่างโรคสมองจากโรคตับ (hepatic encephalopathy) สภาวะนี้เกิดจากการที่การที่มีสารบางชนิด อย่างแอมโมเนีย (ammonia) มากเกินไป ตามปกติแล้วตับทำหน้าที่ในการกำจัดแอมโมเนีย แต่โรคตับสามารถทำให้เกิดตับส่วนเกินสะสมในร่างกายได้ ยานี้จะช่วยรักษาอาการทางสมองโดยการกำจัดแบคทีเรียบางชนิดที่ผลิตแอมโมเนีย
ยาปฏิชีวนะนี้ใช้เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้ผลกับการติดเชื้อไวรัส (เช่น โรคหวัดหรือไข้หวัดใหญ่) การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่จำเป็นหรือใช้ผิดอาจทำให้ประสิทธิภาพลดลงได้
วิธีการใช้ นีโอมัยซิน
- รับประทานยานี้ตามที่แพทย์กำหนดอย่างเคร่งครัด เพื่อลดความเสี่ยงในการติดเชื้อหลังจากการผ่าตัดลำไส้ มักจะใช้ยานี้ 3 – 4 ครั้ง ในวันก่อนการผ่าตัด หรือตามที่แพทย์กำหนด ควรทำตามแนวทางของแพทย์อย่างระมัดระวังเกี่ยวกับข้อจำกัดในการรับประทานอาหารและการใช้ยานี้หรือผลิตภัณฑ์อื่นๆ ก่อนการผ่าตัด
- เพื่อการรักษาโรคสมองจากโรคตับ มักจะใช้ยานี้วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 5 ถึง 6 วัน หรือตามที่แพทย์กำหนด
- ปริมาณยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์และการตอบสนองต่อการรักษา เพื่อลดความเสี่ยงในการสูญเสียการได้ยินและผลข้างเคียงอื่นๆ ควรรับประทานยานี้ในขนาดที่ต่ำที่สุดที่มีประสิทธิภาพ ในเวลาที่สั้นที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ อย่าเพิ่มปริมาณยา รับประทานยาถี่ หรือนานกว่าที่กำหนด แนะนำไม่ให้ใช้นานเกิด 2 สัปดาห์ตลอดช่วงการรักษา
หากคุณใช้ยานี้เพื่อรักษาโรคสมองจากโรคตับ เพื่อให้ง่ายต่อการจำควรรับประทานยาในเวลาเดียวกัน แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้น
การเก็บรักษา นีโอมัยซิน
- ควรเก็บในอุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
- เก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง
- ไม่ควรทิ้งนีโอมัยซินลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน
นีโอมัยซินบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน ตรวจสอบฉลากข้างบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามแพทย์และเภสัชกรเพิ่มเติมเพื่อความปลอดภัย
ข้อควรระวังและคำเตือน
ข้อควรรู้ก่อนใช้ นีโอมัยซิน
- ก่อนใช้นีโอมัยซิน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ต่อยานี้ หรือยาปฏิชีวนะอะมิโนไกลโคไซด์อื่นๆ เช่น ยาโทบรามัยซิน (tobramycin) หรือหากคุณเป็นโรคภูมิแพ้อื่นๆ ยานี้อาจมีส่วนประกอบไม่ออกฤทธิ์ที่ทำให้เกิดอาการแพ้หรือปัญหาอื่น โปรดปรึกษาเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
- ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติทางการแพทย์ของคุณ โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน เช่น หูหนวก การได้ยินลดลง ปัญหาเกี่ยวกับลำไส้ เช่น อุดตัน บวม หรือเป็นแผล ปัญหาเกี่ยวกับไต โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (myasthenia gravis) โรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)
- การใช้นีโอมัยซินในขนาดสูงหรือใช้เป็นเวลานานอาจทำให้ร่างกายไม่สามารถดูดซึมอาหารบางชนิด สารอาหารบางชนิด เช่น ธาตุเหล็ก วิตามินเอ และวิตามินบี-12 และยาบางชนิด เช่น ไดจอกซิน (digoxin) หรือวาฟาริน (warfarin) โปรดปรึกษาแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
- ยานีโอมัยซินอาจทำให้วันซีคแบคทีเรียเชื้อเป็น เช่น วัคซีนไทรอยด์ ทำงานได้ไม่ดีอย่าสร้างภูมิคุ้มกันหรือรับวัคซีนนอกเสียจากแพทย์จะสั่ง
- ก่อนการผ่าตัด แจ้งให้แพทย์หรือทันตแพทย์ทราบเกี่ยวกับยาทั้งหมดที่คุณใช้ (ทั้งยาตามใบสั่งยา ยาที่หาซื้อเอง และสมุนไพรต่างๆ)
- ทารกแรกเกิดและทารกที่คลอดก่อนกำหนดอาจจะมีปฏิกิริยาไวต่อผลข้างเคียงของยานี้ได้มากกว่า โดยเฉพาะผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับการได้ยิน
ไม่แนะนำให้ใช้ยานี้ขณะการตั้งครรภ์ แม้ว่าจะมีรายงานการเป็นอันตรายต่อทารกที่เกิดจากมารดาที่ใช้ยาที่คล้ายกันนี้ แต่ความเสี่ยงในการเกิดอันตรายนั้นอาจจะไม่เหมือนกันยานี้ โปรดปรึกษาความเสี่ยงและประโยชน์กับแพทย์
ยังไม่ทราบแน่ชัดว่ายานี้สามารถส่งผ่านน้ำนมแม่ได้หรือไม่ แต่มีแพทย์หลายรายพิจารณาว่าการใช้นมบุตรระหว่างการใช้ยานี้นั้นปลอดภัย โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร
ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร
ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรี ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้
นีโอมัยซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)
การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้
- A= ไม่มีความเสี่ยง
- B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
- C= อาจจะมีความเสี่ยง
- D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
- X= ห้ามใช้
- N= ไม่ทราบแน่ชัด
ผลข้างเคียง
ผลข้างเคียงของการใช้ นีโอมัยซิน
แจ้งให้แพทย์ทราบในทันทีหากเกิดอาการที่ไม่ค่อยจะเกิดขึ้นแต่รุนแรงดัง ต่อไปนี้
- อาการเดินลำบาก เหน็บชา
- กล้ามเนื้อกระตุกหรือกล้ามเนื้ออ่อนแรง
- ชัก
- อาจเกิดอาการคลื่นไส้ อาเจียน
- ท้องร่วง
- ผดผื่น คันหรือบวม (โดยเฉพาะบริเวณใบหน้า ลิ้น และลำคอ)
- วิงเวียนขั้นรุนแรง หายใจติดขัด
หากอาการเหล่านี้ไม่หายไปหรือรุนแรงขึ้นโปรดแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรในทันที
โปรดจำไว้ว่าการที่แพทย์ให้คุณใช้ยาตัวนี้เนื่องจากคำนวณแล้วว่ายามีประโยชน์มากกว่าเป็นโทษ และคนที่ใช้ยานี้ส่วนใหญ่ไม่พบผลข้างเคียงที่ร้ายแรงใดๆ
ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้อาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร
ปฏิกิริยาของยา
ปฏิกิริยากับยาอื่น
นีโอมัยซินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ซึ่งส่งผลกระทบต่อไตหรือการได้ยิน ต่อไปนี้
- อะมิคาซิน (amikacin)
- ยาโทบรามัยซิน (tobramycin)
- แอมโฟเทอริซิน บี (amphotericin B)
- ไซโดโฟเวียร์ (cidofovir)
- ซิสพลาติน (cisplatin)
- โพลีมิกซิน บี (polymyxin B)
- ยาเซฟาโลสปอริน (cephalosporins) เช่น เซฟาโลสปอริน (cephaloridine)
- ยาแก้อักเสบชนิดไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) เช่น ไอบูโพรเฟน (ibuprofen) และอื่นๆ
แม้ว่ายาปฏิชีวนะส่วนใหญ่จะไม่ส่งผลกระทบต่อการคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน เช่นยาคุมกำเนิด แผ่นคุมกำเนิด หรือห่วงคุมกำเนิด ยาปฏิชีวนะบางชนิด เช่น ไรแฟมพิน (rifampin) หรือไรฟาบิวติน (rifabutin) สามารถลดประสิทธิภาพของการคุมกำเนิดและส่งผลให้ตั้งครรภ์ได้ หากคุณกำลังใช้การคุมกำเนิดด้วยฮอร์โมน โปรดสอบถามแพทย์หรือเภสัชกรสำหรับข้อมูลเพิ่มเติม
นีโอมัยซินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่เกิดขึ้น คุณควรบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์
ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์
นีโอมัยซินอาจทำปฎิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ
ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น
นีโอมัยซินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ
ขนาดยา
ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์และเภสัชกรทุกครั้งเพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม
ขนาด นีโอมัยซิน สำหรับผู้ใหญ่
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
1 กรัม รับประทานทุกๆ ชั่วโมง เป็นจำนวน 4 ครั้ง ตามด้วย 1 กรัมทุกๆ 4 ชั่วโมงเป็นจำนวน 5 ครั้ง
ขนาดยาอีกทางเลือกหนึ่ง: 6 กรัม/วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 4 ชั่วโมงเป็นเวลา 2 ถึง 3 วัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคสมองจากตับอักเสบ
4 ถึง 12 กรัม/วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 4 ถึง 6 ชั่วโมงเป็นเวลา 5 ถึง 6 วัน
ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการท้องร่วง
3 กรัม/วัน แบ่งรับประทาน 4 ครั้ง
การปรับขนาดยาสำหรับโรคไต
ผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และความเป็นพิษต่อหู (ototoxicity) เมื่อรับประทานยานีโอมัยซิน ควรพิจารณาการใช้ยาที่เป็นพิษต่อไตน้อยลง
การปรับขนาดยาสำหรับโรคตับวายเรื้อรัง
สำหรับผู้ป่วยตับวายเรื้อรัง อาจจำเป็นต้องใช้ยานีโอมัยซิน ซัลเฟต (neomycin sulfate) 4 กรัมต่อวัน ในระยะเวลาที่ไม่ตายตัว หากไม่สามารถใช้ยาที่เป็นพิษน้อยกว่านี้
การปรับขนาดยา
ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเมื่อใช้ยานีโอมัยซินกับผู้ที่มีอาการไตบกพร่อง ควรพิจารณาลดปริมาณยาในผู้ป่วยเหล่านี้
การฟอกไต (Dialysis)
ผู้ป่วยที่มีไตบกพร่องมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดความเป็นพิษต่อไต (nephrotoxicity) และความเป็นพิษต่อหู (ototoxicity) เมื่อรับประทานยานีโอมัยซิน ควรพิจารณาการใช้ยาที่เป็นพิษต่อไตน้อยลง
ขนาด นีโอมัยซิน สำหรับเด็ก
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียในลำไส้
ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้ยานีโอมัยซินในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แต่การใช้ยานีโอมัยซินอาจเหมาะสมในบางสถานการณ์
อายุน้อยกว่า 1 เดือน : 50 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง
อายุ 1 ปี ถึง 18 ปี : 50 ถึง 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษารักษาโรคสมองจากตับอักเสบ
ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้ยานีโอมัยซินในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แต่การใช้ยานีโอมัยซินอาจเหมาะสมในบางสถานการณ์
อายุ 1 ปี ถึง 18 ปี : 50 ถึง 100 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ถึง 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 5 ถึง 6 วัน
ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาอาการท้องร่วง
ยังไม่มีการพิสูจน์ความปลอดภัยและประสิทธิภาพของการใช้ยานีโอมัยซินในเด็กที่อายุต่ำกว่า 18 ปี แต่การใช้ยานีโอมัยซินอาจเหมาะสมในบางสถานการณ์
อายุน้อยกว่า 1 เดือน : 50 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง
อายุ 1ปี ถึง 18 ปี : 50 มก./กก./วัน แบ่งรับประทานทุกๆ 6 ชั่วโมง เป็นเวลา 2 ถึง 3 วัน
รูปแบบของยา
รูปแบบของยามี ดังนี้
- สารละลายสำหรับรับประทาน
- ยาเม็ดสำหรับรับประทาน
- ยาผงสำหรับผสม
กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด
หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที
กรณีลืมใช้ยา
หากคุณลืมรับประทานนีโอมัยซินควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยาก่อนได้รับอนุญาตจากแพทย์
Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด
[embed-health-tool-bmi]