backup og meta

ฟีนาโซไพริดีน (Phenazopyridine)

ข้อบ่งใช้

ยาฟีนาโซไพริดีนใช้สำหรับ

ยาฟีนาโซไพริดีน (Phenazopyridine) ใช้เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดจากการระคายเคืองที่ท่อปัสสาวะ เช่น รู้สึกเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน หรือรู้สึกต้องการที่จะปัสสาวะทันทีหรือบ่อยครั้ง ยานี้ไม่ได้รักษาที่สาเหตุของการระคายเคือง แต่ช่วยให้อาการดีขึ้นได้ ยาฟีนาโซไพริดีนออกฤทธิ์เป็นยาแก้ปวดที่บรรเทาเอาการปวดในระบบปัสสาวะได้

วิธีการใช้ยา ฟีนาโซไพริดีน

รับประทานยานี้ โดยปกติแล้วจะเป็น 3 ครั้งต่อวันหลังอาหารหรือตามที่แพทย์สั่ง หากคุณรับประทานยานี้พร้อมกับยาปฏิชีวนะชนิดอื่นเพื่อบรรเทาอาการที่เกี่ยวข้องกับการติดเชื้อที่ท่อปัสสาวะ หรือซื้อยามารับประทานด้วยตนเอง อย่ารับประทานยานี้เกิน 2 วันโดยที่ยังไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ขนาดยาขึ้นอยู่กับโรคและการตอบสนองต่อการรักษา

แจ้งให้แพทย์ทราบหากยังคงมีอาการต่อเนื่องหรืออาการแย่ลง

การเก็บรักษายา ฟีนาโซไพริดีน

คุณควรเก็บยาฟีนาโซไพริดีนไว้ในอุณหภูมิห้อง รวมถึงเก็บให้พ้นจากแสงและความชื้น เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับยา คุณไม่ควรเก็บยาฟีนาโซไพริดีนไว้ให้ห้องน้ำหรือตู้เย็น ยาฟีนาโซไพริดีนแต่ละยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บแตกต่างกันไป สิ่งสำคัญคือการอ่านคำแนะนำการเก็บรักษายาบนฉลากผลิตภัณฑ์หรือถามเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาให้พ้นมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรทิ้งยาฟีนาโซไพริดีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ดังนั้น สิ่งสำคัญคือทิ้งยาเมื่อยาหมดอายุหรือไม่จำเป็นต้องใช้ยาอีกต่อไป ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีทิ้งยาอย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา ฟีนาโซไพริดีน

ก่อนใช้ยาฟีนาโซไพริดีน แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาชนิดนี้ รวมถึงหากคุณมีอาการแพ้อื่นๆ ยาตัวนี้อาจมีส่วนผสมที่ไม่ได้ออกฤทธิ์ แต่อาจทำให้เกิดปฏิกิริยาแพ้หรือปัญหาอื่นๆ ปรึกษาเภสัชกรเพื่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม

ไม่ควรใช้ยานี้หากคุณมีโรคประจำตัวบางชนิด ก่อนใช้ยานี้ ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณเป็นโรคไต โรคตับ ความผิดปกติของเลือด เช่น โรคพร่องเอนไซม์จี ซิก พีดี (G6PD deficiency) ภาวะโลหิตจางจากเม็ดเลือดแดงแตก (hemolytic anemia)

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเกี่ยวกับประวัติการเจ็บป่วย

ยานี้อาจทำให้คุณวิงเวียนศีรษะ อย่าขับรถ ใช้เครื่องจักรหรือทำกิจกรรมใดๆ ที่จำเป็นต้องอาศัยความตื่นตัว จนกว่าคุณจะแน่ใจว่าคุณสามารถทำสิ่งเหล่านั้นได้อย่างปลอดภัย งดการดื่มแอลกอฮอล์

ยาฟีนาโซไพริดีนอาจทำให้ปัสสาวะหรือน้ำตาเป็นสีส้มปนแดง ยานี้อาจเปื้อนเสื้อ หรือคอนแทกเลนส์ อย่าสวมคอนแทกเลนส์ระหว่างใช้ยานี้ สีของปัสสาวะและน้ำตาจะกลับมาเป็นปกติหลังจากหยุดใช้ยา

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณกำลังตั้งครรภ์ก่อนใช้ยานี้ ไม่เป็นที่ทราบแน่ชัดว่ายานี้ซึมเข้าไปในน้ำนมหรือไม่ ปรึกษาแพทย์ก่อนให้นมบุตร

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ไม่มีการศึกษาในผู้หญิงที่เพียงพอที่จะระบุความเสี่ยงขณะที่ใช้ยาฟีนาโซไพริดีนระหว่างตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เป็นประจำเพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างข้อดีและความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นก่อนใช้ยาฟีนาโซไพริดีน อ้างอิงจากองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) ยาฟีนาโซไพริดีนจัดเป็นยากลุ่มเสี่ยงสำหรับสตรีมีครรภ์ประเภท B

ต่อไปนี้คือประเภทความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา:

  • A = ไม่เสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในงานวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาฟีนาโซไพริดีน

คุณอาจปวดศีรษะ วิงเวียนศีรษะ หรือท้องไส้ปั่นป่วน หากอาการเหล่านี้ยังคงเกิดขึ้นหรือแย่ลง แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที โปรดระลึกไว้ว่า แพทย์ได้จ่ายยานี้ เนื่องจากได้ตัดสินใจแล้วว่า นี่จะมีประโยชน์ต่อคุณ มากกว่าความเสี่ยงที่เกิดจากผลข้างเคียง หลายคนใช้ยานี้แล้วไม่มีผลข้างเคียงรุนแรงใดๆ

แจ้งให้แพทย์ทราบทันที หากมีอาการที่เกิดขึ้นไม่บ่อยแต่รุนแรงเหล่านี้ ได้แก่ ผิวหรือตาเป็นสีเหลือง ปัสสาวะเป็นสีเข้ม สัญญาณของโรคไต เช่น การเปลี่ยนแปลงของปริมาณปัสสาวะ ปัสสาวะเป็นเลือด ปวดท้อง หรือเจ็บกระเพาะอาหาร อาเจียน เป็นไข้ ตัวสั่น ช้ำหรือเลือดออกง่าย เหนื่อยล้าผิดปกติ หายใจถี่ หัวใจเต้นเร็ว เป็นลมชัก

ไม่ค่อยมีอาการแพ้ยาที่รุนแรงเท่าไหร่นัก อย่างไรก็ตาม เข้ารับการรักษาทันที หากคุณสังเกตเห็นอาการแพ้รุนแรง ได้แก่ เกิดผื่น คันผิว หรือผิวบวม โดยเฉพาะที่ใบหน้า ลิ้นหรือลำคอ วิงเวียนศีรษะอย่างรุนแรง มีปัญหาเรื่องการหายใจ

ไม่ใช่ทุกคนที่จะแสดงอาการอันเนื่องมาจากผลข้างเคียงเหล่านี้ อาจมีผลข้างเคียงอื่นที่ไม่ได้ระบุไว้ข้างต้น หากคุณมีความกังวลเรื่องผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาฟีนาโซไพริดีนอาจทำให้ผลการตรวจในห้องปฏิบัติการผิดพลาด รวมถึงผลการตรวจปัสสาวะเพื่อดูการทำงานของไต บิลิรูบินและระดับน้ำตาล การตรวจปัสสาวะที่บ้าน (รวมถึงการตรวจเบาหวาน) ก็อาจได้รับผลกระทบ เช่นกัน มั่นใจว่าบุคลากรห้องปฏิบัติการและแพทย์ทราบว่าคุณกำลังใช้ยานี้อยู่

ยาฟีนาโซไพริดีนอาจมีปฏิกิริยาต่อยาตัวอื่นที่คุณกำลังรับประทานอยู่ และอาจส่งผลให้ยาที่คุณรับประทานออกฤทธิ์ต่างไปจากเดิม หรือเพื่อความเสี่ยงของผลข้างเคียงที่รุนแรง เพื่อหลีกเลี่ยงการเกิดปฏิกิริยาระหว่างยาที่อาจเป็นไปได้ คุณควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ ทั้งยาที่จำหน่ายตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อรับประทานเอง และสมุนไพร ควรแจ้งให้แพทย์รวมถึงเภสัชกรทราบ เพื่อความปลอดภัย อย่าเริ่ม หรือหยุดใช้ยา รวมถึงเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับอนุญาตจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือยาอื่น

ยาฟีนาโซไพริดีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ โดยเปลี่ยนฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงให้ที่จะเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ถึงอาหารหรือแอลกอฮอล์ ที่อาจทำปฏิกิริยากับยานี้ ก่อนใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาฟีนาโซไพริดีนอาจส่งผลต่อสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาของยาที่มีต่อร่างกาย อาจทำให้สุขภาพของคุณย่ำแย่ลง หรือเปลี่ยนฤทธิ์ของยา สิ่งสำคัญคือ โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับสุขภาพและโรคประจำตัวของคุณ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง ก่อนใช้ยาฟีนาโซไพริดีน

ขนาดยาฟีนาโซไพริดีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการปัสสาวะลำบาก

รับประทานยา 190-200 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • รับประทานยานี้หลังอาหาร
  • รับประทานยานี้พร้อมกับดื่มน้ำเต็มแก้ว
  • ไม่ควรรับประทานยานี้เกิน 2 วันเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรีย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรียจะมีประโยชน์มากกว่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียเพียงชนิดเดียวหลังจากใช้แล้ว 2 วัน

การใช้

ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ ปวดแสบปวดร้อน ต้องการที่จะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยหรือความอึดอัดอื่น ๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากความระคายเคืองที่เยื่อบุทางเดินปัสสาวะส่วนล่างที่เกิดจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บ การผ่าตัด การส่องกล้องตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงหรือการใช้หลอดสวน

การปรับขนาดยาสำหรับผู้ป่วยโรคไต

ไม่แนะให้ใช้ในผูป่วยโรคไต

ข้อควรระวัง

ห้ามใช้

  • ผู้ป่วยที่มีตอบสนองต่อสารหรือองค์ประกอบใด ๆ ไวเกิน
  • ผู้ป่วยที่ไตทำงานผิดปกติ

คำแนะนำอื่น

โดยทั่วไป

  • ยานี้ใช้บรรเทาอาการเท่านั้น ควรเริ่มรักษาอาการเจ็บปวดและหยุดใช้ยาเมื่อควบคุมอาการได้
  • ฤทธิ์บรรเทาปวดของยานี้อาจลดหรือทำให้ไม่ต้องใช้ยาหรือสารแก้ปวดชนิดเสพติด
  • อาจให้ยานี้ร่วมกับยาปฏิชีวนะเพื่อบรรเทาอาการปวดและความไม่สบายระหว่างช่วงก่อนใช้การรักษาด้วยยาปฏิชีวนะเพื่อควบคุมอาการติดเชื้อ
  • ไม่ควรรับประทานยานี้เกิน 2 วันเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรีย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่าการใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรียจะมีประโยชน์มากกว่าการใช้ยาต้านแบคทีเรียเพียงชนิดเดียวหลังจากใช้แล้ว 2 วัน

ขนาดยาฟีนาโซไพริดีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาทั่วไปสำหรับรักษาอาการปัสสาวะลำบาก

อายุ 12 ปีขึ้นไป

รับประทานยา 190-195 มิลลิกรัม 3 ครั้งต่อวัน

คำแนะนำ

  • รับประทานยานี้หลังอาหาร
  • รับประทานยานี้พร้อมกับดื่มน้ำเต็มแก้ว
  • ไม่ควรรับประทานยานี้เกิน 2 วันเมื่อใช้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรีย เนื่องจากไม่มีหลักฐานว่า การใช้ยานี้ร่วมกับยาต้านแบคทีเรีย จะมีประโยชน์มากกว่า การใช้ยาต้านแบคทีเรียเพียงชนิดเดียว หลังจากใช้แล้ว 2 วัน

การใช้

ใช้เพื่อบรรเทาอาการเจ็บ แสบ ต้องการที่จะปัสสาวะ ปัสสาวะบ่อยหรือความอึดอัดอื่นๆ ซึ่งเกิดขึ้นจากความระคายเคือง ที่เยื่อบุทางเดินปัสสาวะส่วนล่าง ที่เกิดจากการติดเชื้อ การบาดเจ็บ การผ่าตัด การส่องกล้องตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง หรือการใช้หลอดสวน

ข้อควรระวัง

ไม่ได้มีการยืนยันความปลอดภัยและประสิทธิภาพในผู้ป่วยที่มีอายุที่ต่ำกว่า 2 ปี

รูปแบบของยา

ยาฟีนาโซไพริดีนมีรูปแบบดังต่อไปนี้

  • แคปซูลสำหรับรับประทาน
  • ยาผงสูตรผสม

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติ ไม่ควรเพิ่มขนาดยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Phenazopyridine Dosage. https://www.drugs.com/dosage/phenazopyridine.html. Accessed April 4, 2018.

Phenazopyridine HCL. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1237/phenazopyridine-oral/details. Accessed April 4, 2018.

Phenazopyridine (Oral Route). https://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/phenazopyridine-oral-route/description/drg-20065473

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: ชลธิชา จันทร์วิบูลย์


บทความที่เกี่ยวข้อง

โรคติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ คุณอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของโรคนี้หรือไม่?

ปัสสาวะบ่อย เกิดจากสาเหตุอะไรได้บ้างและเมื่อใดที่น่าเป็นห่วง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย จิดาภา ติยะสิริทานนท์ · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา