backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

Levocetirizine ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/10/2023

Levocetirizine ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Levocetirizine (ลีโวเซทิไรซีน) เป็นยาต้านฮีสตามีน ใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันที่ดวงตาหรือจมูก จาม ลมพิษ และอาการคัน ยานี้ทำงานโดยการปิดกั้นสารตามธรามชาติ อย่างสารฮีสตามีน (histamine) ที่ร่างกายผลิตขึ้นขณะมีอาการแพ้

ข้อบ่งใช้

Levocetirizine ใช้สำหรับ

Levocetirizine เป็นยาต้านฮีสตามีน ใช้เพื่อบรรเทาอาการแพ้ เช่น น้ำตาไหล น้ำมูกไหล คันที่ดวงตาหรือจมูก จาม ลมพิษ และอาการคัน ยานี้ทำงานโดยการปิดกั้นสารตามธรามชาติ อย่างสารฮีสตามีน (histamine) ที่ร่างกายผลิตขึ้นขณะมีอาการแพ้

วิธีการใช้ ยา Levocetirizine

รับประทานยาลีโวเซทิไรซีนพร้อมกับอาหาร หรือรับประทานแยกต่างหากตามที่แพทย์กำหนด ตามปกติคือวันละครั้งในตอนเย็น

หากคุณใช้ยาลีโวเซทิไรซีนในรูปแบบยาน้ำ ควรตวงยาโดยใช้ช้อนหรือเครื่องมือพิเศษสำหรับตวงยาโดยเฉพาะ อย่าใช้ช้อนธรรมดาเพราะอาจได้ขนาดยาที่ไม่ถูกต้อง

ขนาดยาขึ้นอยู่กับอายุ สภาวะทางการแพทย์ และการตอบสนองต่อการรักษา อย่าเพิ่มขนาดยา หรือรับประทานยาลีโวเซทิไรซีนบ่อยกว่าที่กำหนด

โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากอาการของคุณไม่ดีขึ้นหรือแย่ลง

การเก็บรักษายาลีโวเซทิไรซีน

ยาลีโวเซทิไรซีนควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง หลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาลีโวเซทิไรซีนบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรตรวจสอบฉลากยาหรือสอบถามเภสัชกรเสมอ เพื่อความปลอดภัย โปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยง

ไม่ควรทิ้งยาลีโวเซทิไรซีนลงในชักโครก หรือเทลงในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาลีโวเซทิไรซีน

ก่อนใช้ยานี้ แจ้งให้แพทย์ทราบหาก

  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ต่อยาลีโวเซทิไรซีน ยาเซทิริซีน (cetirizine) อย่างเซอร์เทค (Zyrtec) หรือยาลีโวเซทิไรซีนอื่นๆ
  • โปรดแจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับยาที่คุณใช้และคาดว่าจะใช้ ทั้งยาลีโวเซทิไรซีนตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อเอง วิตามิน อาหารเสริม และสมุนไพรต่างๆ โดยเฉพาะยาดังต่อไปนี้ ยาต้านซึมเศร้า ยาลีโวเซทิไรซีนสำหรับอาการวิตกกังวล อาการป่วยทางจิต หรืออาการชัก ยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่างนอร์เวียร์ (Norvir) ในเคลทรา (Kaletra) ยาระงับประสาท ยานอนหลับ ยาทีโอฟิลลีน (theophylline) อย่างทีโอชรอน (Theochron) หรือทีโอแลร์ (Theolair) และยาคลายเครียด (tranquilizers) แพทย์อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนขนาดยาลีโวเซทิไรซีน หรือเฝ้าระวังผลข้างเคียงอย่างใกล้ชิด
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคไต
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณตั้งครรภ์ หรือมีแผนที่จะตั้งครรภ์ หากคุณตั้งครรภ์ขณะที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน โปรดติดต่อแพทย์ในทันที อย่าให้นมบุตรขณะที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน
  • คุณควรจะทราบว่ายาลีโวเซทิไรซีนอาจทำให้คุณง่วงซึมได้ อย่าขับรถหรือใช้เครื่องจักร จนกว่าคุณจะทราบว่ายาลีโวเซทิไรซีนส่งผลต่อคุณอย่างไร

โปรดสอบถามแพทย์ถึงความปลอดภัยในการดื่มสุรา ขณะที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน แอลกอฮอล์นั้นสามารถเพิ่มอาการง่วงซึมที่เกิดจากยาลีโวเซทิไรซีนได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาลีโวเซทิไรซีนจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์ หมวด B โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อผู้ตั้งครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A= ไม่มีความเสี่ยง
  • B= ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C= อาจจะมีความเสี่ยง
  • D= มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X= ห้ามใช้
  • N= ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาลีโวเซทิไรซีน

รับการรักษาพยาบาลฉุกเฉินทันที หากคุณมีสัญญาณของอาการแพ้ ได้แก่ ลมพิษ หายใจติดขัด บวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ

หยุดใช้ยาลีโวเซทิไรซีนและแจ้งให้แพทย์ทราบในทันที หากเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงดังต่อไปนี้

  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • เลือดกำเดาไหล (โดยเฉพาะในเด็ก)
  • รู้สึกปวดหรือแน่นภายในหู มีปัญหากับการได้ยิน
  • ซึมเศร้า กระสับกระส่าย ก้าวร้าว มองเห็นภาพหลอน
  • เหน็บชาที่บริเวณริมฝีปากหรือปาก
  • ดีซ่าน (ผิวหนังหรือดวงตาเป็นสีเหลือง)
  • มีอาการปวดขณะปัสสาวะหรือปัสสาวะติดขัด
  • อุจจาระสีคล้ำ อุจจาระมีกลิ่นเหม็น
  • เป็นไข้ ปวดท้อง เบื่ออาหาร

ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปอื่นๆ มีดังต่อไปนี้ ง่วงซึม อ่อนแรง เหนื่อยล้า คัดจมูก ปวดไซนัส เจ็บคอ ไอ อาเจียน ท้องร่วง ท้องผูก ปากแห้ง หรือน้ำหนักขึ้น

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้าคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

Levocetirizine อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ ซึ่งอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรจะบอกแพทย์หรือเภสัชกรของคุณว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง (ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง และสมุนไพรต่างๆ) เพื่อความปลอดภัย โปรดอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

  • ยาแก้ไอหรือยาแก้แพ้ ยาระงับประสาท ยาแก้ปวดแบบเสพติด (narcotic pain medicine) ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยารักษาอาการชัก ยารักษาโรคซึมเศร้า หรือยารักษาอาการวิตกกังวลนั้นสามารถเพิ่มอาการง่วงนอนที่เกิดจากยาลีโวเซทิไรซีนได้
  • โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบเกี่ยวกับยาลีโวเซทิไรซีนทั้งหมดที่คุณใช้ และยาที่คุณเริ่มหรือหยุดใช้ ระหว่างที่กำลังใช้ยาลีโวเซทิไรซีน โดยเฉพาะยาริโทนาเวียร์ (ritonavir) อย่างนอร์เวียร์ (Norvir) ในเคลทรา (Kaletra) หรือยาทีโอฟิลลีน (theophylline) อย่างอะควาฟิลีน (Aquaphyllin) แอสมาลิกซ์ (Asmalix) อีลิโซฟิลีน (Elixophyllin) ทีโอแลร์ (Theolair) ทีโอซอล (Theosol)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาลีโวเซทิไรซีนอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงที่จะเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาลีโวเซทิไรซีนอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอ

ปัญหาทางการแพทย์บางอย่างอาจส่งผลกระทบต่อการใช้ยานี้ได้ โปรดแจ้งให้แพทย์ทราบ หากคุณมีปัญหาทางการแพทย์ใดๆ โดยเฉพาะ

  • ภาวะต่อมลูกหมากโต
  • มีแผลที่ไขสันหลังหลัง — ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวังเนื่องจากอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดภาวะปัสสาวะคั่งได้ (urinary retention)
  • โรคไต — ควรใช้ยาด้วยความระมัดระวัง ผลของยาลีโวเซทิไรซีนอาจจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง
  • โรคไตระดับรุนแรง
  • โรคไตวาย — ผู้ป่วยโรคนี้ไม่ควรใช้ยานี้
  • ภาวะปัสสาวะคั่ง (มีปัญหาในการขับถ่ายปัสสาวะ) — ควรใช้ด้วยความระมัดระวังเนื่องจากอาจทำให้ภาวะนี้รุนแรงขึ้นได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาลีโวเซทิไรซีนสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาลและตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคลมพิษ

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาลและตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

ขนาดยาลีโวเซทิไรซีนสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ (Allergic Rhinitis)

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาล

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 2 ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาโรคลมพิษ (Urticaria)

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตามฤดูกาล

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 2 ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้ตลอดทั้งปีและโรคลมพิษที่ไม่ทราบสาเหตุแบบเรื้อรัง

  • อายุ 12 ปีขึ้นไป 5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 ถึง 11 ปี 2.5 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น
  • อายุ 6 เดือน ถึง 5 ปี 1.25 มก. รับประทานวันละครั้งในตอนเย็น

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

  • ยาเม็ดสำหรับรับประทาน 5 มก.
  • สารละลายสำหรับรับประทาน 0.5 มก./มล.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านโดยทันที

กรณีลืมใช้ยา

หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ในทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรวิสสุตา ชั้นประเสริฐ

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 09/10/2023

advertisement iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

advertisement iconโฆษณา
advertisement iconโฆษณา