backup og meta

อะมิคาซิน แบบฉีด (Amikacin injection meiji)

อะมิคาซิน แบบฉีด (Amikacin injection meiji)

ข้อบ่งใช้

อะมิคาซิน แบบฉีด ใช้สำหรับ

ยาฉีดอะมิคาซิน แบบฉีด (Amikacin injection meiji) เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside antibiotic) มีการออกฤทธิ์โดยไปขัดขวางการสังเคราะห์โปรตีนของแบคทีเรีย ทำให้เซลล์แบคทีเรียตาย ยาอะมิคาซินมักใช้สำหรับการรักษาอาการติดเชื้อแบคทีเรียที่รุนแรง

วิธีการใช้

อะมิคาซินมีการใช้โดยการฉีดเข้าเส้นเลือดที่ที่ทำการของแพทย์ โรงพยาบาล หรือคลินิก แนะนำให้ดื่มน้ำมากๆ ในขณะที่คุณฉีดยาอะมิคาซิน ให้ขอคำแนะนำจากแพทย์หรือพยาบาลอีกครั้ง

วิธีการเก็บรักษา

ยา อะมิคาซิน แบบฉีดจะได้รับการจัดการและเก็บรักษาโดยบุคลากรทางการแพทย์ คุณไม่สามารถเก็บรักษาไว้ที่บ้านได้

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา อะมิคาซิน แบบฉีด

ห้ามใช้ยาอะมิคาซินหากคุณแพ้ส่วนผสมใดๆ ในยาอะมิคาซินหรือยาปฏิชีวนะชนิดอื่นๆ ในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อย่างเช่น ยาเจนทาไมซิน (gentamicin)

นอกจากนี้ ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับความปลอดภัยที่สำคัญที่คุณต้องสังเกต

  • ให้แจ้งแพทย์หรือทันตแพทย์ว่า คุณใช้ยาฉีดอะมิคาซินก่อนเข้ารับการรักษาทางการแพทย์หรือทันตกรรม การรักษาฉุกเฉิน หรือการผ่าตัด
  • ยาเหล่านี้อาจมีส่วนผสมของซัลไฟต์ ซัลไฟต์อาจก่อให้เกิดอาการแพ้ได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น ผู้ป่วยหอบหืด หากคุณเคยมีอาการแพ้ซัลไฟต์ ให้สอบถามจากเภสัชกรว่ายาที่คุณใช้มีส่วนผสมของซัลไฟต์หรือไม่
  • ยาฉีดอะมิคาซินออกฤทธิ์ต้านแบคทีเรียเท่านั้น ไม่ได้รักษาอาการติดเชื้อไวรัส เช่น โรคหวัดทั่วไป
  • ให่มั่นใจว่าใช้ยาฉีดอะมิคาซินจนครบระยะเวลาการรักษา หากใช้ไม่ครบการรักษา ยาที่ใช้อาจไม่สามารถรักษาอาการติดเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ แบคทีเรียอาจมีความไวต่อยาชนิดนี้หรือยาอื่นได้น้อยลง ก่อให้เกิดอาการติดเชื้อที่รุนแรงขึ้นสำหรับการรักษาในอนาคต
  • การใช้ยาฉีดอะมิคาซินในระยะยาวหรือใช้ซ้ำๆ อาจทำให้เกิดการติดเชื้อทุติยภูมิ (second infection) ให้แจ้งแพทย์หากสิ่งบ่งชี้การติดเชื้อทุติยภูมิเกิดขึ้น อาจจำเป็นต้องเปลี่ยนยาเพื่อรักษาภาวะดังกล่าว
  • อาการท้องร่วงที่ไม่รุนแรงสามารถเกิดขึ้นได้เป็นปกติในการใช้ยาปฏิชีวนะ อย่างไรก็ดี อาการท้องร่วงอย่างรุนแรงอาจเกิดขึ้นได้ แต่น้อยมาก อาการดังกล่าวนี้อาจเกิดขึ้นได้ ในขณะที่คุณใช้ยาปฏิชีวนะ หรือภายในเวลาหลายเดือนหลังจากที่คุณหยุดใช้ยานี้ ให้ปรึกษาแพทย์ทันที หากมีอาการปวดหรือบิดเกร็งในท้อง ท้องร่วงรุนแรง หรืออุจจาระมีเลือดปน ห้ามรักษาอาการท้องร่วงเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์
  • อาจมีการทดสอบในห้องปฏิบัติการในขณะที่คุณใช้ยาอะมิคาซิน การทดสอบนี้อาจใช้เพื่อเฝ้าติดตามอาการหรือตรวจหาผลข้างเคียง ให้มั่นใจว่าได้ไปตามนัดหมายแพทย์และการทดสอบทั้งหมด
  • ให้ใช้ยาฉีดอะมิคาซินด้วยความระมัดระวังในผู้สูงอายุ ผู้สูงอายุอาจมีความไวต่อการออกฤทธิ์ของยาได้มากกว่า
  • ให้ใช้ยาฉีดอะมิคาซินด้วยความระมัดระวังในเด็กแรกเกิด เด็กแรกเกิดอาจมีความไวต่อการออกฤทธิ์ของยาได้มากกว่า

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยาอะมิคาซินในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักระหว่างประโยชน์และความเสี่ยงของการใช้ยาก่อนการใช้ยานี้ ยาฉีดอะมิคาซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดย FDA มีดังนี้

  • A=ไม่มีความเสี่ยง
  • B=ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C=อาจจะมีความเสี่ยง
  • D=มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X=ห้ามใช้
  • N=ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของยา อะมิคาซิน แบบฉีด

ยาทุกชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ผู้ป่วยจำนวนมากไม่มีหรือมีผลข้างเคียงน้อย ให้ปรึกษาแพทย์หากผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไปเหล่านี้เกิดขึ้นหรือรบกวนคุณ

  • ท้องร่วง

ให้ไปพบแพทย์ทันที หากผลข้างเคียงที่รุนแรงเหล่านี้เกิดขึ้น

  • ผื่น
  • ลมพิษ
  • อาการคัน
  • หายใจลำบาก
  • แน่นหน้าอก
  • อาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น
  • มีรอยไหม้ อาการชา ความรู้สึกเหมือนเข็มหรือของแหลมคมทิ่มตำ
  • สมดุลร่างกายเปลี่ยนไป
  • สับสน
  • เวียนศีรษะ
  • หน้ามืด
  • สูญเสียการได้ยิน
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • ได้ยินเสียงวิ้งๆ หรือเสียงดังในหู
  • มีอาการชัก
  • อาการเกี่ยวกับความผิดปกติของไต เช่น ไม่สามารถปัสสาวะได้ ปริมาณปัสสาวะเปลี่ยนไป ปัสสาวะมีเลือดปน น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาก
  • หายใจลำบาก หายใจช้าลง หรือหายใจตื้น
  • มีอาการกระตุก
  • มีอาการเหนื่อยหรือล้าผิดปกติ

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ โปรดปรึกษากับแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาฉีดอะมิคาซินอาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของยาที่อาจเกิดขึ้น

คุณควรทำรายการยาที่ใช้อยู่ทั้งหมด ยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่ซื้อรับประทานเอง และยาสมุนไพรต่างๆ และแจ้งแก่แพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของคุณ ห้ามเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนแปลงการใช้ยาใดๆ โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ยาอะมิคาซินอาจทำปฏิกิริยากับยาอื่นๆ ดังต่อไปนี้

  • ยาแอมโฟเทริซิน บี (Amphotericin B)
  • ยาอะซิทราซิน (Acitracin)
  • ยาเซฟาโลสโปรินส์ (Cephalosporins) เช่น ยาเซฟาโลริดีน (cephaloridine)
  • ยาซิสพลาติน (Cisplatin)
  • ยาโคลิสติน (Colistin)
  • ยาไซโคลสปอรีน (Cyclosporine)
  • ยาขับปัสสาวะ (Diuretics) (เช่น ยาเอทาครีนิคแอซิด (ethacrynic acid), ยาฟูโรเซไมด์ (furosemide)
  • ยาต้านการอักเสบที่ปราศจากสเตียรอยด์ (Nonsteroidal anti-inflammatory drugs: NSAIDs) เช่น ยาไอบูโพรเฟน (ibuprofen)
  • ยาในกลุ่มอะมิโนไกลโคไซด์ อื่น ๆ เช่น ยาเจนทาไมซิน (gentamicin)
  • ยาพาโรโมไมซิน (Paromomycin)
  • ยาโพลีไมซิน บี (Polymyxin B)
  • ยาแวนโคไมซิน (Vancomycin)
  • ยาไวโอไมซิน (Viomycin)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาฉีดอะมิคาซินอาจเกิดปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับปฏิกิริยาระหว่างยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ที่อาจเกิดขึ้น ก่อนใช้ยานี้

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาฉีดอะมิคาซินอาจเกิดปฏิกิริยากับภาวะทางสุขภาพของคุณ ปฏิกิริยาดังกล่าวอาจทำให้ภาวะทางสุขภาพแย่ลง หรือเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ เกี่ยวกับภาวะทางสุขภาพของคุณในปัจจุบัน

โดยเฉพาะหากคุณมีอาการใดๆ เหล่านี้

  • มีปัญหาด้านการได้ยิน
  • อาการทางประสาท
  • อาการเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (myasthenia gravis)
  • โรคพาร์กินสัน
  • อาการเกี่ยวกับไต
  • ภาวะขาดน้ำ

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ คุณควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยาอะมิคาซินเสมอ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาทั่วไป

  • ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก./วัน แบ่งใช้ โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 8 – 12 ชม.

อาการทางเดินปัสสาวะติดเชื้อ

  • ขนาดยาแนะนำ คือ 250 มก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 12 ชม.

ขนาดยาที่ให้ในช่วงเวลาที่กว้างขึ้น (ทุก 24 ชั่วโมง)

  • ขนาดยาแรก ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ ตามน้ำหนักร่างกายที่ปราศจากไขมัน
  • ขนาดยาถัดไป ให้ปรึกษาเภสัชกร

โรคปอดบวม ที่รับเชื้อจากโรงพยาบาล

  • ขนาดยาแนะนำ คือ 20 มก./กก./วัน โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำ อาจใช้ร่วมกับ ยาแอนไทซูโดมอนอล เบตา-แลคแตม (antipseudomonal beta-lactam) หรือยาคาร์บาพีเน็ม (carbapenem)

การปรับขนาดยา

ภาวะไตเสื่อม

  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) มากกว่า 90 มล./นาที และอายุ <60 ปี ทุก 8 ชม.
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 60-90 มล./นาที หรือ อายุ ≥60 yr ทุก 12 ชม.
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 25-60 มล./นาที ทุก 24 ชม.
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) 10-25 มล./นาที ทุก 48 ชม.
  • ค่าครีอะตินีนเคลียรานซ์ (CrCl) น้อยกว่า 10 มล./นาที ทุก 72 ชม.
  • ให้ยาหลังจากการฟอกไต สำหรับภาวะไตวายเรื้อรัง (ESRD)

ขนาดยาสำหรับเด็ก

ขนาดยาทั่วไป

ขนาดยาแนะนำ คือ 15-22.5 มก./กก./วัน โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ แบ่งใช้ยา ทุก 8 ชม.

อายุน้อยกว่า 7 วัน

  • โดยอายุครรภ์น้อยกว่า 29 สัปดาห์ ขนาดยาแนะนำ คือ 18 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 48 ชม.
  • โดยอายุครรภ์ 30-33 สัปดาห์ ขนาดยาแนะนำ คือ 18 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 36 ชม.
  • โดยอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 24 ชม.

อายุมากกว่า 7 วัน

  • โดยอายุครรภ์ 30-33 สัปดาห์ ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 24 ชม.
  • โดยอายุครรภ์มากกว่า 34 สัปดาห์ ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 12-18 ชม.

อายุ 8-28 วัน และมีอายุครรภ์น้อยกว่า 29 สัปดาห์

  • ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 36 ชม.
  • ให้ใช้ขนาดยานี้สำหรับภาวะต่อไปนี้ด้วย คือ ภาวะขาดอากาศหายใจ (significant asphyxia) ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีในระดับต่ำ (poor cardiac output) หรือภาวะไตเสื่อม (renal impairment)

ทารกแรกเกิด อายุมากกว่า 28 วัน และมีอายุครรภ์น้อยกว่า 29 สัปดาห์

  • ขนาดยาแนะนำ คือ 15 มก./กก. โดยฉีดเข้าทางหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อ ทุก 24 ชม.
  • ให้ใช้ขนาดยานี้สำหรับภาวะต่อไปนี้ด้วย คือ ภาวะขาดอากาศหายใจ (significant asphyxia) ยาอินโดเมทาซิน (indomethacin) สำหรับโรคหลอดเลือดหัวใจเกิน (PDA) ปริมาตรเลือดส่งออกจากหัวใจต่อนาทีในระดับต่ำ (poor cardiac output) หรือภาวะไตเสื่อม (renal impairment)

รูปแบบของยา

ยาอะมิคาซินมีรูปแบบการใช้และปริมาณตัวยา ดังต่อไปนี้

  • ยาอะมิคาซินชนิดฉีด (Amikacin injection meiji) 500 มก./2 มล. x 10 ขวด
  • ยาอะมิคาซินชนิดฉีด (Amikacin injection meiji) 500 มก./2 มล. x 10’s
  • ยาอะมิคาซินชนิดฉีด (Amikacin injection meiji) 500 มก./2 มล. 10 x 1’s (Meiji)

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ให้โทรแจ้งบริการฉุกเฉิน หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้ยาอะมิคาซิน ให้ปรึกษาแพทย์

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

AMIKACIN INJECTION MEIJI. http://www.ndrugs.com/?s=amikacin%20injection%20meiji. Accessed December 3rd, 2016.

Amikacin. https://www.drugs.com/cdi/amikacin.html. Accessed December 3rd, 2016.

Amikacin injection meiji (Rx). http://reference.medscape.com/drug/amikin-amikacin-342516. Accessed December 3rd, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล

อัปเดตโดย: Nattavara Pasathan


บทความที่เกี่ยวข้อง

ติดเชื้อ แบคทีเรียในช่องคลอด ส่งผลยังไงกับคุณแม่ตั้งครรภ์

โปรไบโอติกส์ แบคทีเรียชนิดดีที่จะช่วยทำให้ลำไส้ของเราสุขภาพแข็งแรง


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรพิมพ์จิต วัฒนชโนบล


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา