backup og meta

Alprazolam ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Alprazolam ข้อบ่งใช้ และผลข้างเคียง

Alprazolam หรือยาอัลปราโซแลม ใช้เพื่อรักษาโรควิตกกังวล และแพนิค เป็นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) ซึ่งส่งผลต่อสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง

[embed-health-tool-bmi]

ข้อบ่งใช้

alprazolam ใช้สำหรับ

alprazolam หรือ ยา อัลปราโซแลม ช้เพื่อรักษาโรควิตกกังวล และแพนิค เป็นยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (benzodiazepines) ซึ่งส่งผลต่อสมอง และระบบประสาทส่วนกลาง อีกทั้งยังกระตุ้นสารสื่อประสาทออกมา ที่เรียกว่า กาบา (GABA) ร่วม เพื่อให้สมองมีการทำงานที่ช้า หรือสงบลง ลดอาการวิตกกังวลจากการทำงานหนักของระบบประสาท

วิธีการใช้ยา alprazolam

  • รับประทานยาตามที่แพทย์กำหนด ขนาดยานั้นขึ้นอยู่กับอาการ ช่วงอายุ และการตอบสนองของสุขภาพต่อการรักษา
  • อาจสามารถค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาขึ้นจนกระทั่งยามีฤทธิ์ให้การรักษาได้
  • หากมีการใช้ยานี้เป็นประจำ หรือใช้ในขนาดยาที่สูง บางกรณีอาจมีอาการถอนยา เช่น อาการชัก เป็นต้น ซึ่งเกิดขึ้นได้เมื่อหยุดใช้ยาแบบฉับพลัน ดังนั้นเพื่อป้องกันอาการถอนยานี้ แพทย์จะสั่งให้ค่อย ๆ ลดขนาดยาลงทดแทน จนร่างกายเริ่มปรับตัวได้ก่อนเลิกใช้ยา

โปรดแจ้งแพทย์ให้ทราบหากมีอาการผิดปกติ และมิควรหารับประทาน หรือ เพิ่ม ลดขนาดยาเอง โดยไม่ได้รับการอนุญาต เพราะอาจทำให้ยาที่กินอยู่นั้นไม่มีประสิทธิภาพในการรักษาได้

การเก็บรักษายา alprazolam

  • ยาอัลปราโซแลมควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง และหลีกเลี่ยงแสงหรือความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเกิดความเสียหาย
  • ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำ หรือช่องแช่แข็ง
  • ไม่ควรทิ้งยาอัลปราโซแลมลงในชักโครก หรือในท่อระบายน้ำ เว้นแต่ได้รับคำแนะนำเช่นนั้น ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้องเมื่อยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้งาน โปรดสอบถามเภสัชกรเพิ่มเติม เกี่ยวกับวิธีการกำจัดยาที่ถูกต้อง
  • เพื่อความปลอดภัยโปรดเก็บยาให้ห่างจากมือเด็ก และสัตว์เลี้ยง

ยาอัลปราโซแลมบางยี่ห้ออาจจะต้องเก็บรักษาแตกต่างกัน หากมีข้อกังวล หรือข้อสงสัยเพิ่มเติม สามารถสอบถามได้จากเภสัชกร และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญอีกครั้งได้ในทันที

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา อัลปราโซแลม

ก่อนใช้ยาอัลปราโซแลม

ควรแจ้งแพทย์ หรือเภสัชกร ให้ทราบหากมีอาการแพ้ยา อิทราโคนาโซล (Itraconazole) , คีโตโคนาโซล (Ketoconazole) รวมถึงยาในกลุ่มยา เบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines) เช่น ลอราซีแพม (Lorazepam) , โคลนาซีแพม (Clonazepam) เป็นต้น และเพื่อเป็นการสร้างความปลอดภัยอีกขั้น โปรดระบุยาทางการแพทย์ สมุนไพร อาหารเสริมที่กำลังใช้ รวมถึงสภาวะโรคประจำตัวให้แพทย์ทราบ โดยเฉพาะกับผู้ที่เป็นโรคต้อหิน และสตรีกำลังตั้งครรภ์

นอกจากนี้หากอายุมากกว่า 65 ปี ควรใช้ยาอัลปราโซแลมในขนาดที่ต่ำ เนื่องจากยาในขนาดสูงอาจส่งผลอันตราย และอาจทำให้เกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง ที่สำคัญยาอัลปราโซแลมอาจทำให้ง่วงซึมได้ จึงอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการขับรถ หรือใช้เครื่องจักร เพราะอาจส่งผลให้ประสบกับอุบัติเหตุจนถึงแก่ชีวิตได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีตั้งครรภ์ที่ใช้ยานี้ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อหาประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้ ควรแจ้งแพทย์หากกำลังตั้งครรภ์ หรือวางแผนที่จะตั้งครรภ์โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก เพราะอัลปราโซแลมอาจเป็นอันตรายต่อชีวิตของทารก

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยา อัลปราโซแลม

ผลข้างเคียงที่รุนแรงทั่วไป ที่สามารถพบได้มี ดังนี้

  • ง่วงซึม วิงเวียน รู้สึกเหนื่อยหรือระคายเคือง
  • มองเห็นไม่ชัด ปวดหัว ความทรงจำมีปัญหา
  • นอนไม่หลับ
  • บวมที่มือหรือเท้า
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง ขาดการทรงตัวหรือการเคลื่อนไหวอย่างสอดประสาน
  • ปวดท้อง คลื่นไส้ อาเจียน ท้องผูก ท้องเสีย
  • เหงื่อออกมากขึ้น ปากแห้ง จมูกอุดตัน
  • น้ำหนักหรือความอยากอาหารเปลี่ยนแปลง สูญเสียความสนใจเรื่องเซ็กส์

แจ้งแพทย์ทราบ หรือขอเข้าคำปรึกษาในทันทีหากมีผลข้างเคียงที่รุนแรง ดังต่อไปนี้

  • มีอารมณ์หดหู่ มีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย หรือทำร้ายตัวเอง
  • มีพฤติกรรมที่อันตรายแบบผิดปกติ ความยับยั้งชั่งใจลดลง ไม่รู้สึกกลัวอันตราย
  • สับสน อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย ต่อต้าน เห็นภาพหลอน
  • รู้สึกเหมือนจะหมดสติ
  • ปัสสาวะน้อยกว่าปกติ หรือไม่ปัสสาวะเลย
  • ปวดหน้าอก หัวใจเต้นเร็วหรืออกกระพือขึ้นลง
  • ไม่สามารถควบคุมการเคลื่อนไหวของกล้ามเนื้อได้ สั่นเทา ชัก
  • ดีซ่าน

ไม่ใช่ทุกคนจะเจอกับผลข้างเคียงเหล่านี้ และอาจจะมีอาการอย่างอื่นนอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้น ถ้ามีข้อสงสัยใด ๆ โปรดปรึกษาแพทย์

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาอัลปราโซแลมอาจมีปฏิกิริยากับยาอื่น ๆ ที่กำลังใช้ร่วมด้วย โดยอาจเปลี่ยนแปลงประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้ เพื่อหลีกเลี่ยงการมีปฏิกิริยาดังกล่าว ควรแจ้งรายชื่อยาทั้งหมดที่คุณใช้ให้แพทย์ทราบ ไม่ว่าจะเป็นยาที่ได้รับคำสั่งจากทางแพทย์ ยาที่หาซื้อเองโดยการจำหน่ายทางเภสัชกร และสมุนไพร อาหารเสริม เพื่อความปลอดภัยอย่าเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนปริมาณยา โดยยังไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์ 

ก่อนใช้ยาอัลปราโซแลม แจ้งแพทย์หากใช้ยาที่ทำให้ง่วงนอน เช่น ยาแก้หวัด ยาแก้แพ้ ยากล่อมประสาท ยาแก้ปวดแบบเสพติด  ยานอนหลับ ยาคลายกล้ามเนื้อ และยาสำหรับอาการชัก โรคซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เป็นต้น เนื่องจากยาพวกนี้อาจเพิ่มอาการง่วงนอนที่เป็นผลมาจากการกินยาอัลปราโซแลมเข้าไปร่วม

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาอัลปราโซแลมอาจทำปฏิกิริยากับอาหารและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยจะปรับเปลี่ยนประสิทธิภาพการทำงานของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงของการเกิดผลข้างเคียงรุนแรงอื่นๆ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาอัลปราโซแลมอาจส่งผลให้อาการโรคต่าง ๆ เหล่านี้แย่ลง เช่น โรคซึมเศร้า โรคลมชัก โรคปอด ต้อหิน โรคไต โรคตับ พร้อมส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคก่อนใช้ยาเสมอ

ขนาดยา

ข้อมูลนี้ไม่สามารถใช้แทนคำแนะนำจากแพทย์โดยตรง ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนที่จะใช้ยาอัลปราโซแลม

ขนาดยา อัลปราโซแลม สำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอาการวิตกกังวล เป็นยาที่มักมาในรูปแบบเม็ดออกฤทธิ์ทันที และเป็นยาเม็ดแบบแตกตัวโดยมีสารสกัดเข้มข้นสำหรับรับประทาน

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.25 ถึง 0.5 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง อาจค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาทุก ๆ 3 ถึง 4 วัน ไม่เกิน 1 มก. หรือเท่าที่จำเป็น
  • ขนาดยาปกติ : 1 ถึง 10 มก. ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาปกติ: อาจเพิ่มได้ถึงขนาดยาสูงสุด 4 มก. โดยแบ่งรับประทาน

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อมีอาการแพนิค (Panic Disorder) เป็นยาเม็ดแบบออกฤทธิ์ทันทีแบบแตกตัว

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.5 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง อาจค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาทุก ๆ 3 ถึง 4 วัน ไม่เกิน 1 มก. หรือเท่าที่จำเป็น
  • ขนาดยาปกติ : 1 ถึง 10 มก. ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาโดยเฉลี่ย : 5 ถึง 6 มก. ต่อวัน แบ่งรับประทาน

ขนาดยาเม็ดออกฤทธิ์นาน

  • ขนาดยาเริ่มต้น : 0.5 มก. ถึง 1 มก. รับประทานวันละครั้ง อาจค่อยๆ เพิ่มขนาดยาทุก ๆ 3 ถึง 4 วัน ไม่เกิน 1 มก. หรือเท่าที่จำเป็น
  • ขนาดยาปกติ : 1 ถึง 10 มก. ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาปกติ : 1 ถึง 10 มก. ต่อวัน วันละครั้ง
  • ขนาดยาโดยเฉลี่ย : 3 ถึง 6 มก. วันละครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคซึมเศร้า

  • ขนาดยาเริ่มต้น: 0.5 มก. รับประทานวันละ 3 ครั้ง อาจค่อย ๆ เพิ่มขนาดยาทุก ๆ 3 ถึง 4 วัน ไม่เกิน 1 มก. หรือเท่าที่จำเป็น
  • ขนาดยาปกติ : 1 ถึง 10 มก. ต่อวัน โดยแบ่งรับประทาน
  • ขนาดยาเฉลี่ย : มีงานวิจัยเรื่องการใช้ยาอัลปราโซแลม เพื่อรักษาโรคซึมเศร้ารายงานว่าค่าเฉลี่ยของขนาดยาที่มีประสิทธิภาพคือ 3 มก. แบ่งรับประทานทุกวัน
  • ขนาดยาสูงสุด : มีงานวิจัยเรื่องการใช้ยาอัลปราโซแลม เพื่อรักษาโรคซึมเศร้ารายงานว่ามีการใช้ยาที่ขนาดสูงสุดคือ 4.5 มก. แบ่งรับประทานทุกวัน

ขนาดยา อัลปราโซแลม สำหรับเด็ก

ยังไม่มีการจัดขนาดยาสำหรับเด็กโดยเฉพาะ ดังนั้น การใช้ยากับเด็กจึงอาจยังไม่ปลอดภัย ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร เพื่อทำความเข้าใจกับตัวยาก่อนการใช้งาน

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้คือ ยาเม็ดแบบออกฤทธิ์นาน 0.5 มก. 1 มก. 2 มก. 3 มก.

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

หากเกิดเหตุฉุกเฉิน หรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉินหรือนำส่งโรงพยาบาลใกล้บ้านโดยทันที

อาการของการใช้ยาเกินขนาดมีดังนี้

  • ง่วงซึม
  • สับสน
  • มีปัญหาเรื่องการเคลื่อนไหวอย่างสอดประสาน
  • หมดสติ

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมรับประทานยาควรรีบรับประทานทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลารับประทานยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปรับประทานยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Alprazolam Pronunciation https://www.drugs.com/alprazolam.html. Accessed July 18, 2023.

Alprazolam (Oral Route) http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/alprazolam-oral-route/description/drg-20061040. Accessed July 18, 2023.

alprazolam, Xanax, Xanax XR, Niravam http://www.medicinenet.com/alprazolam/article.htm. Accessed July 18, 2023.

alprazolam หรือ ยาเสียตัว. https://mnfda.fda.moph.go.th/narcotic/?p=6219. Accessed October 9, 2023.

Alprazolam – Uses, Side Effects, and More. https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8171-7244/alprazolam-oral/alprazolam-oral/details. Accessed October 9, 2023.

เวอร์ชันปัจจุบัน

10/10/2023

เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: พลอย วงษ์วิไล


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

รู้สึกกลัว ใจหวิว ไร้สาเหตุ คุณเป็น โรคแพนิค หรือเปล่า


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 10/10/2023

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา