backup og meta

เควอซิทิน (Quercetin)

เควอซิทิน (Quercetin)

เควอซิทิน (Quercetin) เป็นสารต้านอนุมูลที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์พบในอาหารจากพืช ใช้เป็นยารักษาโรคหลากหลายอาการ

[embed-health-tool-bmi]

การใช้ประโยชน์เควอซิทิน

เควอซิทิน ใช้ทำอะไร

เควอซิทิน (Quercetin) เป็นสารต้านอนุมูลที่อยู่ในกลุ่มฟลาโวนอยด์พบในอาหารจากพืช ใช้เป็นยารักษาโรคหลากหลายอาการดังต่อไปนี้:

  • โรคท่อเลือดแดงและหลอดเลือดแดงแข็ง
  • คอลเลสเตอรอลสูง
  • โรคหัวใจ
  • ปัญหาการไหลเวียนโลหิต
  • โรคเบาหวาน
  • ต้อกระจก
  • ไข้ละอองฟาง
  • แผลในกระเพาะอาหาร
  • โรคจิตเภท
  • การอักเสบ
  • โรคหืด
  • โรคเกาต์
  • การติดเชื้อไวรัส
  • อาการเพลียเรื้อรัง (CFS)
  • ป้องกันโรคมะเร็ง
  • ติดเชื้อเรื้อรังของต่อมลูกหมาก

การทำงานของเควอซิทินเป็นอย่างไร

เนื่องจากยังมีงานวิจัยเกี่ยวกับ เควอซิทิน ไม่มากพอ หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติม ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรเพื่อขอข้อมูลเพิ่มเติม

อย่างไรก็ตาม เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าเควอซิทินมีสารต้านอนุมูลอิสระและฤทธิ์ต้านการอักเสบซึ่งอาจจะช่วยลดการอักเสบของต่อมลูกหมาก

ข้อควรระวังและคำเตือน

เราควรรู้อะไรบ้างก่อนใช้เควอซิทิน

ควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกร หรือผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หากอยู่ในอาการตามลักษณะ ดังต่อไปนี้

  • กำลังตั้งครรภ์หรืออยู่ในช่วงให้นมบุตร เพราะเป็นเวลาที่ควรได้รับาตามแพทย์สั่งเท่านั้น
  • กำลังใช้ยาชนิดอื่น ๆ ซึ่งรวมถึงยาไม่มีใบสั่งยาจากแพทย์
  • แพ้สารที่อยู่ในเควอซิทิน หรือแพ้ยาและสมุนไพรอื่น
  • มีอาการป่วย มีความผิดปกติ หรือ พยาธิสภาพอื่น ๆ
  • มีอาการแพ้ต่าง ๆ เช่น แพ้อาหาร แพ้สีผสมอาหาร แพ้สารกันบูด หรือแพ้เนื้อสัตว์

ข้อกำหนดสำหรับอาหารเสริมประเภทสมุนไพรนั้นมีความเข้มงวดน้อยกว่าการใช้ยาทั่วไป ควรศึกษาเพิ่มเติมเพื่อรับรองความปลอดภัยและมั่นใจว่าคุณประโยชน์มากกว่าอันตราย ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพรหรือแพทย์สำหรับข้อมูลเพิ่มเติม

เควอซิทินมีความปลอดภัยแค่ไหน

ข้อควรระวังและคำเตือนพิเศษ

  • เควอซิทินอาจปลอดภัยสำหรับคนส่วนใหญ่ที่ทานในช่วงเวลาสั้น ๆ และใช้อย่างปลอดภัยในขนาด 500 มก. 2 ครั้งต่อวัน เป็นเวลา 12 สัปดาห์ ยังไม่ทราบแน่ชัดถึงความปลอดภัยสำหรับการใช้ในระยะเวลานานหรือใช้ในปริมาณมาก
  • เมื่อใช้เควอซิทินทางเส้นเลือดดำในปริมาณที่เหมาะสม (น้อยกว่า 722 มก.) เป็นไปได้ที่เควอซิทินจะปลอดภัย แต่เมื่อใช้ในปริมาณที่มากขึ้น จะไม่ปลอดภัย มีรายงานว่าไตถูกทำลายเมื่อใช้ขนาดยาที่สูงขึ้น

สตรีตั้งครรภ์และช่วงให้นมบุตร

  • ยังมีข้อมูลไม่เพียงพอเกี่ยวกับการใช้เควอซิทินในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เพื่อความปลอดภัย หลีกเลี่ยงการใช้

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้เควอซิทินมีอะไรบ้าง

  • ปวดศีรษะ
  • เหน็บชาที่แขนและขา
  • ใช้ในปริมาณสูงอาจทำให้เกิดเป็นโรคไต

ไม่ใช่ทุกคนที่จะมีผลข้างเคียงดังกล่าว บางครั้งอาจเกิดผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึง ซึ่งหากพบอาการข้างเคียงใดๆ ควรปรึกษาแพทย์หรือนักสมุนไพรศาสตร์ก่อนใช้โสมอเมริกา

ปฏิกิริยาระหว่างยา

ยาที่อาจเกิดปฏิกิริยากับเควอซิทินมีอะไรบ้าง

เควอซิทินอาจทำปฏิกิริยากับยาที่กำลังใช้หรือส่งผลกระทบกับการรักษาในปัจจุบัน ดังนั้น ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร หรือแพทย์ก่อนใช้

อาการที่อาจมีปฏิกิริยาระหว่างเควอซิทิน

  • ยาปฏิชีวนะ (ยาปฏิชีวนะกลุ่มควิโนโลน (Quinolone antibiotics) ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
  • ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่อาจจะมีปฏิกิริยากับเควอซิทิน เช่น ไซโปรฟลอกซาซิน (ciprofloxacin เช่น Cipro), อีน็อกซาซีน (enoxacin เช่น Penetrex)
  • ไซโคลสปอริน (Cyclosporin เช่น Neoral, Sandimmune) ตับเปลี่ยนและย่อยไซโคลสปอริน (Cyclosporin เช่น Neoral, Sandimmune)
  • เควอซิทินอาจลดความเร็วที่ตับย่อยยาบางชนิด การใช้เควอซิทินร่วมกับยาที่เปลี่ยนแปลงโดยตับอาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงของยาที่คุณใช้อยู่ ดังนั้น ก่อนใช้เควอซิทินสอบถามผู้ให้บริการด้านการแพทย์ ถ้าคุณต้องใช้ยาที่เปลี่ยนแปลงได้โดยตับ ยาบางชนิดที่เปลี่ยนแปลงโดยตับ เช่น เซเลโคซิบ (celecoxib เช่น Celebrex),  ไดโคลฟีแนค (diclofenac เช่น Voltaren), ฟลูวาสแตติน (fluvastatin เช่น Lescol), ไกลพิไซด์ (glipizide เช่น Glucotrol), ไอบูโพรเฟน (ibuprofen เช่น Advil, Motrin), ยาเออร์บีซาร์แทน (irbesartan เช่น Avapro) และอื่น ๆ
  • ยาที่เปลี่ยนแปลงโดยตับ (สารตั้งต้นไซโทโครม พี450 2ดี6 (Cytochrome P450 2ดี6 (CYP2D6)))ตับเปลี่ยนแปลงและย่อยยาบางชนิด เควอซิทินอาจลดความเร็วที่ตับย่อยยาบางชนิด การใช้เควอซิทินร่วมกับยาที่เปลี่ยนแปลงโดยตับอาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงของยาที่คุณใช้อยู่ ดังนั้น ก่อนใช้เควอซิทินสอบถามผู้ให้บริการด้านการแพทย์ ถ้าคุณต้องใช้ยาที่เปลี่ยนแปลงได้โดยตับยาบางชนิดที่เปลี่ยนแปลงโดยตับ เช่น อะมิทริปไทลีน (amitriptyline เช่น Elavil), โคเดอีน (codeine), ฟลีเคไนด์ (flecainide เช่น Tambocor), ฮาโลเพอริดอล  (haloperidol เช่น Haldol), อิมิพรามีน (imipramine เช่น Tofranil), เมโทโพรลอล และอื่น ๆ
  • ยาที่เปลี่ยนแปลงโดยตับ (สารตั้งต้นไซโทโครม พี450 3เอ4 (Cytochrome P450 3เอ4 (CYP3A4))) ตับเปลี่ยนแปลงและย่อยยาบางชนิด เควอซิทินอาจลดความเร็วที่ตับย่อยยาบางชนิด การใช้เควอซิทินร่วมกับยาที่เปลี่ยนแปลงโดยตับอาจเพิ่มผลกระทบและผลข้างเคียงของยาที่คุณใช้อยู่ ดังนั้น ก่อนใช้เควอซิทินสอบถามผู้ให้บริการด้านการแพทย์ ถ้าคุณต้องใช้ยาที่เปลี่ยนแปลงได้โดยตับ
  • ยาบางชนิดที่เปลี่ยนแปลงโดยตับ เช่น โลวาสแตติน (lovastatin เช่น Mevacor), คลาริโทรมัยซิน (clarithromycin เช่น Biaxin), ไซโคลสปอริน (cyclosporine เช่น Neoral, Sandimmune), ดิลไทอะเซม (diltiazem เช่น Cardizem), เอสโตรเจน (estrogens), อินดินาเวียร์ (indinavir เช่น Crixivan), ไตรอาโซแลม (triazolam  เช่น Halcion), เวอราปามิล (verapamil เช่น Calan, Isoptin, Verelan), อัลเฟนทานิล (alfentanil เช่น Alfenta),  และอื่น ๆ อีกมากมาย
  • ยาเคลื่อนที่โดยการกระตุ้นในเซลล์ (สารตั้งต้นพี-ไกยโคโปรตีน)ยาบางชนิดที่เคลื่อนที่ผ่านการกระตุ้นในเซลล์  เควอซิทินอาจทำให้การกระตุ้นน้อยลง และเพิ่มยาบางชนิดให้ดูดซึมเข้าร่างกาย ซึ่งเป็นเหตุให้เกิดผลข้างเคียงจากยาบางชนิด
  • ยาบางชนิดที่เคลื่อนที่โดยการกระตุ้นในเซลล์ มีดังนี้ ดิลไทอะเซม (diltiazem เช่น Cardizem), เวอราปามิล (verapamil เช่น Calan, Isoptin, Verelan), ไดจอกซิน (digoxin เช่น Lanoxin) ไซโคลสปอริน (cyclosporine เช่น Neoral, Sandimmune), ซาควินาเวียร์ (saquinavir เช่น Invirase), แอมพรีนาเวียร์ (amprenavir เช่น Agenerase), เนวฟินนาเวียร์ (nelfinavir เช่น Viracept), โลเพอราไมด์ (loperamide เช่น Imodium), ควินิดีน (quinidine), และอื่น ๆ

ขนาดการใช้

ข้อมูลนี้ไม่สามารถเป็นคำสั่งในการใช้ยาได้ ควรปรึกษานักสมุนไพรศาสตร์หรือแพทย์ก่อนการใช้ยาเสมอ

ปกติแล้วควรใช้เควอซิทินในปริมาณเท่าใด

สำหรับผู้ป่วยต่อมลูกหมากปวดและบวม 

  • สำหรับผู้ที่เป็นต่อมลูกหมากปวดและบวมรับประทานเควอซิทิน ปริมาณ  500 มก. 2 ครั้งต่อวัน

ผู้ป่วยแต่ละคนอาจใช้เควอซิทินในปริมาณที่แตกต่างกัน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับอายุ สุขภาพ และเงื่อนไขอื่น ๆ สมุนไพรไม่ได้รับรองความปลอดภัยเสมอไป ควรสอบถามแพทย์สำหรับปริมาณการใช้ที่เหมาะสมกับตนเอง

สมุนไพรดังกล่าวอาจอยู่ในรูปแบบใด

เควอซิทินอาจมีจำหน่ายในรูปแบบต่อไปนี้:

  • แคปซูล
  • ยาหยด

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Quercetin http://www.webmd.com/vitamins-supplements/ingredientmono-294-quercetin.aspx?activeingredientid=294& Accessed July 19, 2017

Quercetin https://examine.com/supplements/quercetin/ Accessed July 19, 2017

Quercetin.https://www.medicalnewstoday.com/articles/324170.php.  Accessed July 19, 2017

 

เวอร์ชันปัจจุบัน

27/10/2022

เขียนโดย Ploylada Prommate

ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย ทีม Hello คุณหมอ

อัปเดตโดย: สิฏฐิณิศา รัชตวโรทัย


บทความที่เกี่ยวข้อง

ยาแก้เจ็บคอ ควรใช้เมื่อไหร่ดี มีข้อควรระวังอย่างไร

โรคหอบหืดส่งผลต่อการมีเพศสัมพันธ์อย่างไรบ้าง


ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลโดย

ทีม Hello คุณหมอ


เขียนโดย Ploylada Prommate · แก้ไขล่าสุด 27/10/2022

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา