backup og meta
สำรวจ
เครื่องมือตรวจเช็กสุขภาพ
ถามคุณหมอ
บันทึก
สารบัญ

เจนตามัยซิน (Gentamicin)

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์ · ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

เจนตามัยซิน (Gentamicin)

ข้อบ่งใช้

ยา เจนตามัยซิน ใช้สำหรับ

ยา เจนตามัยซิน (Gentamicin) ใช้เพื่อป้องกันและรักษาการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ ยา เจนตามัยซิน นั้นอยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะที่เรียกว่าอะมิโนไกลโคไซด์ (aminoglycoside) เจนตามัยซิน ทำงานโดยการยับยั้งการเติบโตของเชื้อแบคทีเรีย

วิธีใช้ยาเจนตามัยซิน

ฉีดยาเจนตามัยซินเข้าหลอดเลือดดำหรือกล้ามเนื้อตามที่แพทย์กำหนด โดยปกติ คือ ทุกๆ 8 ชั่วโมง ขนาดยาขึ้นอยู่กับสภาวะทางการแพทย์ น้ำหนักตัว และการตอบสนองต่อการรักษา อาจต้องมีการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น การตรวจสมรรถภาพของไต หรือระดับของยาในเลือด เพื่อช่วยหาขนาดยาที่เหมาะสมกับสภาวะของคุณที่สุด

หากคุณใช้ยาเจนตามัยซินเองที่บ้าน ควรเรียนรู้วิธีการเตรียมยา และการใช้ยาที่ถูกต้องจากผู้ดูแลสุขภาพของคุณ

ก่อนใช้ยาควรตรวจสอบยาดูว่า มีฝุ่นละออง หรือเปลี่ยนสีหรือไม่ หากมีไม่ควรใช้ยานั้น ควรเรียนรู้วิธีการเก็บรักษาและกำจัดยาอย่างปลอดภัย

ยาปฏิชีวนะนั้นจะทำงานได้ดีที่สุด เมื่อมีปริมาณของยาในร่างกายอยู่ในระดับคงที่ ดังนั้น จึงควรใช้ยาโดยเว้นระยะเวลาห่างที่เท่ากัน

ควรใช้ยาอย่างต่อเนื่องจนครบกำหนด แม้อาการจะหายไปหลังจากผ่านไปไม่กี่วัน การหยุดใช้ยาเร็วเกินไป อาจทำให้เชื้อแบคทีเรียเติบโตต่อไป แล้วทำให้กลับมาติดเชื้อซ้ำ

แจ้งให้แพทย์ทราบหากอาการของคุณไม่ดีขึ้น หรือแย่ลง

การเก็บรักษายาเจนตามัยซิน

ยาเจนตามัยซินควรเก็บที่อุณหภูมิห้อง ให้พ้นแสงและความชื้น เพื่อป้องกันไม่ให้ตัวยาเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บยานี้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง ยาเจนตามัยซินบางยี่ห้ออาจมีวิธีเก็บรักษาแตกต่างกัน จึงควรอ่านคำแนะนำบนบรรจุภัณฑ์หรือสอบถามเภสัชกรเสมอ และโปรดเก็บยาให้พ้นจากมือเด็กและสัตว์เลี้ยงเพื่อความปลอดภัย

ไม่ควรทิ้งยาเจนตามัยซินลงในชักโครก หรือเทยาลงในท่อระบายน้ำ เว้นเสียแต่จะได้รับคำแนะนำให้ทำเช่นนั้น หากยาหมดอายุ หรือไม่มีความจำเป็นต้องใช้ยา ควรกำจัดยาด้วยวิธีที่ถูกต้อง โดยสามารถสอบถามข้อมูลวิธีกำจัดยาที่ถูกต้องได้จากเภสัชกร

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยาเจนตามัยซิน

ก่อนใช้ยาเจนตามัยซิน ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบหากคุณแพ้ยาเจนตามัยซิน ยาอื่นๆ หรือส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ของยานี้ โปรดสอบถามเภสัชกรเกี่ยวกับรายชื่อของส่วนผสมที่ไม่ออกฤทธิ์ของยาก่อนใช้

แจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบ หากคุณแพ้ยาต่อไปนี้

  • ยาอะมิคาซิน (amikacin) อย่างอะมิคิน (Amikin)
  • ยากานามัยซิน (kanamycin) อย่างกานเทรกซ์ (Kantrex)
  • ยานีโอมัยซิน (neomycin)
  • ยาเนติลมัยซิน (netilmicin) อย่างเนโตรมัยซิน (Netromycin)
  • ยาสเตรปโตมัยซิน (streptomycin)
  • ยาโทบรามัยซิน (tobramycin) อย่างเนบซิน (Nebcin)

แจ้งให้แพทย์และเภสัชกรทราบเกี่ยวกับยาที่คุณกำลังใช้ ทั้งยาตามใบสั่งแพทย์และยาที่หาซื้อเอง โดยเฉพาะ

  • ยาขับปัสสาวะ (diuretics) หรือยาขับน้ำ (water pills)
  • ยาซิสพลาติน (cisplatin) อย่างพลาทิทอล (Platinol)
  • ยาแอมโฟเทอริซิน (amphotericin) อย่างแอมโพรเทค (Amphotec) ฟันกิโซน (Fungizone)
  • ยาปฏิชีวนะอื่นๆ
  • วิตามิน

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณเป็นหรือเคยเป็นโรคไต อาการเวียนศีรษะแบบบ้านหมุน (vertigo) สูญเสียการได้ยิน มีเสียงอื้อในหู โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงเอ็มจี (myasthenia gravis) หรือโรคพาร์กินสัน (Parkinson’s disease)

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณตั้งครรภ์ มีแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร หากคุณตั้งครรภ์ระหว่างใช้ยาเจนตามัยซิน ให้ติดต่อแพทย์ในทันที เพราะยาเจนตามัยซินอาจทำอันตรายต่อทารกในครรภ์ได้

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้ยานี้ ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์ เพื่อประเมินประโยชน์และความเสี่ยงก่อนการใช้ยานี้

ยาเจนตามัยซินจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท D โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกามีดังนี้

  • A = ไม่มีความเสี่ยง
  • B = ไม่พบความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C = อาจจะมีความเสี่ยง
  • D = มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X = ห้ามใช้
  • N = ไม่ทราบแน่ชัด

ผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงของการใช้ยาเจนตามัยซิน

ผลข้างเคียงที่พบทั่วไป ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องไส้ปั่นป่วน หรือเบื่ออาหาร

ผลข้างเคียงที่พบได้ยาก ได้แก่ อาการปวด อาการระคายเคืองหรือมีรอยแดงตรงบริเวณที่ฉีดยา

หากผลข้างเคียงรุนแรงขึ้น หรือไม่หายไป ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบทันที

ยานี้อาจทำให้ตับมีปัญหาตับ และเส้นประสาทเสียหายอย่างรุนแรง จนส่งผลให้สูญเสียการได้ยิน และมีปัญหากับการทรงตัวอย่างถาวรได้ ดังนั้นหากคุณสังเกตพบว่า มีเสียงอื้อหรือเสียงก้องในหู สูญเสียการได้ยิน วิงเวียน หรือปัสสาวะลดลงอย่างผิดปกติ ควรรีบแจ้งให้แพทย์ทราบทันที

ผลข้างเคียงที่กล่าวมาข้างต้น อาจไม่ได้เกิดกับทุกคน หรือบางคนอาจมีอาการอื่นนอกเหนือจากนี้ หากคุณมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับผลข้างเคียง โปรดปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

ยาเจนตามัยซิน อาจเกิดปฏิกิริยากับยาอื่นที่คุณกำลังใช้อยู่ และอาจส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง เพื่อป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้น คุณควรแจ้งแพทย์หรือเภสัชกรด้วยว่า คุณกำลังใช้ยาอะไรอยู่บ้าง ไม่ว่าจะเป็นยาตามใบสั่งแพทย์ ยาที่ซื้อได้เอง สมุนไพร เป็นต้น และเพื่อความปลอดภัย คุณไม่ควรเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยาเองโดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ไม่แนะนำให้ใช้ยาเจนตามัยซินกับยาแอมมิแฟมพริดีน (Amifampridine) และยาอะทาลูเรน (Ataluren) แพทย์อาจตัดสินใจไม่ใช้ยาในกลุ่มนี้เพื่อรักษาคุณ หรือเปลี่ยนยาบางตัวที่คุณกำลังใช้อยู่

โดยปกติแล้ว ไม่แนะนำให้ใช้ยาเจนตามัยซินกับยาดังต่อไปนี้ แต่อาจจำเป็นในบางกรณี หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจจะต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • อะคูโรเนียม (Alcuronium) อะทราคูเรียม (Atracurium)
  • ไซโดโฟเวียร์ (Cidofovir) ไซซาทราคูเรียม (Cisatracurium) โคลิสไทเมเทต (Colistimethate) โซเดียม (Sodium)
  • เดคาเมโทเนียม (Decamethonium) โดซาคูเรียม (Doxacurium)
  • กรดเอธาครีนิก (Ethacrynic Acid)
  • ฟาดาดิเนียม (Fazadinium) ฟูโรเซไมด์ (Furosemide)
  • กาลลามีน (Gallamine) เฮซาฟลูโอเรเนียม (Hexafluorenium) ไลซีน (Lysine)
  • ไมโทคูรีน (Metocurine) ไมวาคูเรียม (Mivacurium)
  • แพนคูโรเนียม (Pancuronium) ไพป์คูโรเนียม (Pipecuronium)
  • ราพาคูโรเนียม (Rapacuronium) โรคูโรเนียม (Rocuronium)
  • ซัคไซนีลโคลีน (Succinylcholine)
  • ทาโครลิมัส (Tacrolimus) ทูโบคูรารีน (Tubocurarine)
  • แวนโคไมซิน (Vancomycin) เวคูโรเนียม (Vecuronium)

การใช้ยาดังต่อไปนี้ร่วมกันอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงบางอย่างได้ แต่การใช้ยาทั้งสองร่วมกัน อาจเป็นการรักษาที่ดีที่สุดสำหรับคุณ หากคุณได้รับใบสั่งยาทั้งคู่ร่วมกัน แพทย์อาจต้องเปลี่ยนขนาดยา หรือความถี่ในการใช้ยาตัวใดตัวหนึ่งหรือทั้งคู่

  • อินโดเมทาซิน (Indomethacin)
  • เมทรอกซีฟลูราเน (Methoxyflurane)
  • โพลีเจลีน (Polygeline)

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

ยาเจนตามัยซินอาจมีปฏิกิริยากับอาหารหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียง โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนเสมอ

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่น

ยาเจนตามัยซินอาจส่งผลให้อาการโรคของคุณแย่ลง หรือส่งผลต่อการออกฤทธิ์ของยา โปรดแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบถึงสภาวะโรคของคุณก่อนใช้ยาเสมอโดยเฉพาะ

  • โรคหอบหืด
  • เคยเป็นโรคภูมิแพ้ซัลไฟต์ (Sulfite allergy)  – ยานี้มีส่วนประกอบของโซเดียมเมตาไบซัลไฟต์ (sodium metabisulfite) ซึ่งอาจทำให้เกิดอาการแพ้สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคนี้ได้
  • ภาวะแคลเซียมในเลือดต่ำ (Hypocalcemia)
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ (Hypokalemia)
  • ภาวะแมกนีเซียมในเลือดต่ำ (Hypomagnesemia) – ควรได้รับการรักษาก่อนเริ่มใช้ยานี้ หากอาการนี้ไม่ได้รับการรักษา ยาเจนตามัยซินอาจเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงได้
  • โรคไต – ควรใช้ยาเจนตามัยซินอย่างระมัดระวัง ผลข้างเคียงของยาอาจเพิ่มขึ้น เพราะกำจัดยาออกจากร่างกายได้ช้าลง
  • โรคไตขั้นรุนแรง
  • ปัญหาเกี่ยวกับกล้ามเนื้อ
  • โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (Myasthenia gravis)
  • ปัญหาเกี่ยวกับเส้นประสาท – ควรใช้ยาเจนตามัยซินอย่างระมัดระวัง เพราะอาจทำให้อาการแย่ลงได้

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ควรปรึกษากับแพทย์หรือเภสัชกรทุกครั้ง เพื่อรับทราบข้อมูลเพิ่มเติม

ขนาดยาเจนตามัยซินสำหรับผู้ใหญ่

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Bacteremia) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 1.5 ถึง 2 มก./กก. ตามด้วย 1 ถึง 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5-7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบเพราะเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Endocarditis) :

ขนาดยาปกติ : 1.5 มก./กก. (สูงสุด 120 มก.) ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้งภายใน 30 นาทีก่อนเริ่มการผ่าตัด

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Infection) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 1.5 ถึง 2 มก./กก. ตามด้วย 1 ถึง 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุก ๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5-7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคบรูเซลโลสิส (Brucellosis) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาแผลไหม้ (Burns) – ภายนอก :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 ถึง 2.5 มก./กก. ตามด้วย 1.7 ถึง 2 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดทุกๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคซิสติก ไฟโบรซิส  (Cystic Fibrosis) :

ขนาดยาปกติ : 5 ถึง 10 มก./กก./วัน แบ่งใช้ 2 ถึง 4 ครั้ง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกอักเสบ (Endometritis) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะไข้จากระดับเม็ดเลือดขาวต่ำ (Febrile Neutropenia) :

ขนาดยาปกติ : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อภายในช่องท้อง (Intraabdominal Infection) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาเยื่อหุ้มสมองอักเสบ (Meningitis) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกระดูกอักเสบติดเชื้อ (Osteomyelitis) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 1.5 ถึง 2 มก./กก. ตามด้วย 1 ถึง 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5-7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาอุ้งเชิงกรานอักเสบ (Pelvic Inflamatory Disease) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษากาฬโรค (Plague) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาปอดบวม (Pneumonia) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคกรวยไตอักเสบ (Pyelonephritis) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 2 มก./กก. ตามด้วย 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังหรือเนื้อเยื่ออ่อน (Skin or Soft Tissue Infection) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 1.5 ถึง 2 มก./กก. ตามด้วย 1 ถึง 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5-7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุก ๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อป้องกันระหว่างการผ่าตัด :

ขนาดยาปกติ : 1.5 ถึง 2 มก./กก. (สุงสุด 120 มก.) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อขณะที่ให้ยาระงับความรู้สึก

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่เพื่อรักษาโรคทูลาริเมีย (Tularemia) :

ขนาดยาเริ่มต้น : 1.5 ถึง 2 มก./กก. ตามด้วย 1 ถึง 1.7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหรือเข้ากล้ามเนื้อทุกๆ 8 ชั่วโมง หรือ 5-7 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำทุกๆ 24 ชั่วโมง

ขนาดยาเจนตามัยซินสำหรับเด็ก

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาการติดเชื้อแบคทีเรีย (Bacterial Infection) :

  • อายุ 0 ถึง 4 สัปดาห์ : น้ำหนักแรกเกิดน้อยกว่า 1,200 กรัม: 2.5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 18 ถึง 24 ชั่วโมง
  • อายุ 0 ถึง 1 สัปดาห์ : น้ำหนักแรกเกิด มากกว่าหรือเท่ากับ 1,200 กรัม: 2.5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 12 ชั่วโมง
  • อายุ 1 ถึง 4 สัปดาห์ : น้ำหนักแรกเกิด 1,200 ถึง 2,000 กรัม: 2.5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือกลอดเลือดดำทุกๆ 8 ถึง 12 ชั่วโมง
  • อายุ 1 ถึง 4 สัปดาห์ : น้ำหนักแรกเกิดมากกว่าหรือเท่ากับ 2,000 กรัม: 2.5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง
  • อายุมากกว่า 1 เดือน : 1 ถึง 2.5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำทุกๆ 8 ชั่วโมง

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อรักษาป้องกันเยื่อบุหัวใจอักเสบเพราะเชื้อแบคทีเรีย :

ขนาดยาปกติ : 1.5 มก./กก. ฉีดเข้ากล้ามเนื้อหรือหลอดเลือดดำหนึ่งครั้ง ภายใน 30 นาทีก่อนเริ่มการผ่าตัด

ขนาดยาสำหรับเด็กเพื่อป้องกันขณะการผ่าตัด :

ขนาดยาปกติ : 2 มก./กก. ฉีดเข้าหลอดเลือดดำหนึ่งครั้งขณะให้ยาระงับความเจ็บปวด

รูปแบบของยา

ความแรงและรูปแบบของยามีดังนี้

สำหรับผู้ใหญ่

  • สารละลายสำหรับฉีด
    • 10 มก/มล
    • 40 มก/มล
  • สารละลายสำหรับให้ทางหลอดเลือดดำ
    • 60 มก (50 มล)
    • 70 มก (50 มล)
    • 80 มก (50 มล หรือ 100 มล)
    • 90 มก (100 มล)
    • 100 มก (50 มล หรือ 100 มล)
    • 120 มก (100 มล)
  • สำหรับเด็ก

    • สารละลายสำหรับฉีด
      • 10 มก/มล
      • 40 มก/มล
    • สารละลายสำหรับให้ทางหลอดเลือดดำ
      • 60 มก (50 มล)
      • 70 มก (50 มล)
      • 80 มก (50 มล หรือ 100 มล)
      • 90 มก (100 มล)
      • 100 มก (50 มล หรือ 100 มล)
      • 120 มก (100 มล)

    กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

    หากเกิดเหตุฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ควรแจ้งเหตุฉุกเฉิน หรือนำส่งห้องฉุกเฉินใกล้บ้านทันที

    กรณีลืมใช้ยา

    หากคุณลืมใช้ยาควรรีบใช้ทันทีที่นึกได้ หรือถ้าหากใกล้ถึงเวลาใช้ยาครั้งต่อไป ให้ข้ามรอบไปใช้ยาตามตารางปกติได้เลย ไม่ควรเพิ่มปริมาณยา

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำทางการแพทย์ การวินิจฉัยโรคหรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    หมายเหตุ

    Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

    ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

    เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

    ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


    เขียนโดย พลอย วงษ์วิไล · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

    advertisement iconโฆษณา

    คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

    advertisement iconโฆษณา
    advertisement iconโฆษณา