backup og meta

เดกซ์โทรส (Dextrose)

รู้เรื่องเบื้องต้น

เดกซ์โทรส ใช้สำหรับ

ยาเดกซ์โทรส (Dextrose) ใช้เพื่อเพิ่มน้ำและคาร์โบไฮเดรต (พลังงานจากน้ำตาล) ให้ร่างกาย ในกรณีที่ผู้ป่วยไม่สามารถดื่มน้ำได้อย่างเพียงพอ หรือในกรณีที่ร่างกายต้องการน้ำหรือของเหลวเพิ่มเติม นอกจากนี้ใช้เป็นยากินแล้ว ยังอาจใช้ยาเดกซ์โทรสในรูปแบบของยาฉีดด้วย ซึ่งสำหรับการฉีดยา เดกซ์โทรสจะเป็นสารละลายปลอดเชื้อที่ใช้ทางเส้นเลือด (IV)

วิธีใช้ยาเดกซ์โทรส

ให้ใช้เดกซ์โทรสตามที่แพทย์สั่ง ให่อ่านฉลากยาสำหรับคำแนะนำการใช้ยาที่ถูกต้อง

  • เดกซ์โทรสมักถูกบริหารภายใต้การดูแลของแพทย์ โรงพยาบาล หรือคลินิก หากคุณใช้เดกซ์โทรสที่บ้าน ให้ปฏิบัติตามขั้นตอนการฉีดตามที่แพทย์แนะนำอย่างระมัดระวัง
  • เก็บเดกซ์โทรสรวมทั้งกระบอกฉีดยาและเข็มฉีดยาให้ห่างจากเด็กและสัตว์เลี้ยง ห้ามนำเข็มฉีดยา กระบอกฉีด หรือวัสดุอื่น ๆ กลับมาใช้ใหม่ ให้กำจัดอย่างเหมาะสมหลังใช้งาน ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรเกี่ยวกฎระเบียบในท้องถิ่นสำหรับวิธีการกำจัดที่เหมาะสม
  • หากเดกซ์โทรสมีตะกอนหรือเปลี่ยนสี หรือหากภาชนะบรรจุถูกเปิดหรือเสียหาย ห้ามใช้
  • ห้ามใช้เดกซ์โทรสสำหรับฉีดเข้าเส้นเลือดไปพร้อมการการใช้ผ่านทางเลือด
  • หากลืมใช้เดกซ์โทรส ให้ติดต่อแพทย์ทันที

ให้ปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับข้อสงสัยใด ๆ ของคุณเกี่ยวกับวิธีการใช้เดกซ์โทรส

การเก็บรักษายาเดกซ์โทรส

การเก็บรักษาเดกซ์โทรสที่ดีที่สุดควรเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้องให้พ้นแสงโดยตรงและความชื้น เพื่อป้องกันการเสื่อมสภาพ ไม่ควรเก็บเดกซ์โทรสไว้ในห้องน้ำหรือช่องแช่แข็ง เดกซ์โทรสมีหลากหลายยี่ห้อซึ่งมีวิธีการเก็บรักษาที่แตกต่างกัน เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องตรวจสอบวิธีการเก็บรักษาที่ระบุไว้ในบรรจุภัณฑ์ หรือสอบถามจากเภสัชกร เพื่อความปลอดภัย คุณควรเก็บยาทั้งหมดให้ห่างจากเด็กหรือสัตว์เลี้ยง

คุณไม่ควรเทเดกซ์โทรสทิ้งลงในโถส้วมหรือเทลงในท่อระบายน้ำ สิ่งสำคัญคือต้องกำจัดยาอย่างเหมาะสมเมื่อหมดอายุหรือไม่ใช้งานแล้ว ให้ปรึกษาเภสัชกรสำหรับรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับวิธีการกำจัดผลิตภัณฑ์อย่างปลอดภัย

ข้อควรระวังและคำเตือน

ข้อควรรู้ก่อนใช้ยา เดกซ์โทรส

อาการทางร่างกายบางประการอาจมีปฏิกิริยากับเดกซ์โทรสได้ ให้แจ้งแพทย์หรือเภสัชกรหากคุณมีอาการทางร่างกายใด ๆ โดยเฉพาะหากคุณมีอาการดังต่อไปนี้

  • หากคุณตั้งครรภ์ วางแผนจะตั้งครรภ์ หรือกำลังให้นมบุตร
  • หากคุณกำลังใช้ยาที่แพทย์สั่งหรือยาที่แพทย์ไม่ได้สั่ง ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร หรืออาหารเสริม
  • หากคุณแพ้ยา อาหาร หรือสารอื่น ๆ
  • หากคุณมีอาการโคม่า (ที่เกิดจากเบาหวานหรืออาการแทรกซ้อนที่ตับ)
  • หากคุณมีอาการมึนงง ความจำเสื่อม หรือเลือดออกในศีรษะหรือกระดูกสันหลัง
  • หากคุณเป็นเบาหวานหรือมีระดับกาแล็คโตสในเลือดสูง

ความปลอดภัยต่อการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร

ยังไม่มีงานวิจัยที่น่าเชื่อถือเพียงพอ เกี่ยวกับความเสี่ยงในสตรีที่ใช้เดกซ์โทรส ในช่วงการตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร โปรดปรึกษาแพทย์เพื่อชั่งน้ำหนักเปรียบเทียบประโยชน์ที่จะได้รับกับความเสี่ยงจากการใช้ เดกซ์โทรสจัดอยู่ในประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ ประเภท C โดยองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA)

การจัดประเภทของยาที่มีความเสี่ยงต่อสตรีมีครรภ์ โดย FDA มีดังนี้

  • A=ไม่มีความเสี่ยง
  • B=ไม่มีความเสี่ยงในการวิจัยบางชิ้น
  • C=อาจจะมีความเสี่ยง
  • D=มีหลักฐานแสดงถึงความเสี่ยง
  • X=ยาต้องห้าม
  • N=ไม่มีข้อมูลเพียงพอ

รู้จักกับผลข้างเคียง

ผลข้างเคียงจากยาเดกซ์โทรส

ยาทุกชนิดอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้ แต่ผู้คนจำนวนมากไม่มีหรือมีผลข้างเคียงจากการใช้ยาน้อย ให้ตรวจสอบกับแพทย์หากผลข้างเคียงที่พบได้มากที่สุดใด ๆ เหล่านี้มีอาการเรื้อรังหรือรบกวนคุณ

  • ปัสสาวะมากขึ้น มีอาการปวด รอยแดง หรืออาการบวมในบริเวณที่ฉีด

ให้ไปพบแพทย์ทันทีหากผลข้างเคียงที่รุนแรงใด ๆ เหล่านี้เกิดขึ้น

  • อาการแพ้รุนแรง (ผื่น ลมพิษ หายใจลำบาก แน่นหน้าอก มีอาการบวมที่ปาก ใบหน้า ริมฝีปาก หรือลิ้น) มึนงง กล้ามเนื้อกระตุก มีอาการชัก มีอาการบวมที่มือหรือเท้า อ่อนเพลีย

อาการข้างเคียงเหล่านี้พบไม่ได้ในผู้ใช้ยาทุกคน อาจมีอาการข้างเคียงที่ไม่ได้ระบุข้างต้น หากคุณมีข้องกังวลเกี่ยวกับอาการข้างเคียง ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร

ปฏิกิริยาของยา

ปฏิกิริยากับยาอื่น

เดกซ์โทรสอาจเกิดปฏิกิริยากับยาชนิดอื่นที่คุณใช้อยู่ ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น เพื่อหลีกเลี่ยงปฏิกิริยาของยาที่อาจเกิดขึ้น คุณควรทำรายการยาที่ใช้อยู่ทั้งหมด (ยาที่สั่งโดยแพทย์ ยาที่ไม่ได้สั่งโดยแพทย์ และยาสมุนไพร) และแจ้งแก่แพทย์หรือเภสัชกร เพื่อความปลอดภัยของคุณ ห้ามเริ่ม หยุด หรือเปลี่ยนขนาดยา โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากแพทย์

ปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์

เดกซ์โทรสอาจทำปฏิกิริยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ได้ โดยการเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ยา หรือเพิ่มความเสี่ยงสำหรับอาการข้างเคียงที่รุนแรงขึ้น โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร เกี่ยวกับปฏิกิริยาที่อาจเกิดขึ้นของยากับอาหารหรือแอลกอฮอล์ ก่อนการใช้ยา

ปฏิกิริยากับอาการโรคอื่นๆ

เดกซ์โทรสอาจทำปฏิกิริยากับร่างกายของคุณ ปฏิกิริยาดังกล่าวอาจทำให้อาการของโรคแย่ลง หรือเปลี่ยนแปลงการออกฤทธิ์ของยา เป็นสิ่งสำคัญที่ต้องแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบเสมอ เกี่ยวกับปัญหาสุขภาพทั้งหมดของคุณในปัจจุบัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง

  • โรคเบาหวาน
  • ภาวะน้ำตาลในเลือดสูง
  • ภาวะโพแทสเซียมในเลือดต่ำ
  • อาการบวมส่วนปลาย (Peripheral edema) หรืออาการบวมที่แขน เท้า หรือส่วนล่างของขา
  • ภาวะปอดบวมน้ำ (Pulmonary edema) หรือมีน้ำในปอด ให้ใช้อย่างระมัดระวัง อาจทำให้อาการแย่ลง

ขนาดยา

ข้อมูลในที่นี้ไม่มีเจตนาให้ใช้ทดแทนคำแนะนำทางการแพทย์ ให้ปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรก่อนใช้ยานี้เสมอ

ขนาดยาสำหรับผู้ใหญ่

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • ผู้ใหญ่: 10-20 ก. รับประทานเพียงครั้งเดียว อาจให้ยาซ้ำใน 10 นาที หากจำเป็น

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • ผู้ใหญ่: 10-25 ก. ให้ยาทางเส้นเลือด (ปริมาณ 40-100 มล. สำหรับสารละลาย 25% หรือปริมาณ 20-50 มล. สำหรับสารละลาย 50%) อาจให้ยาซ้ำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

  • ผู้ใหญ่: 25-50 ก. ให้ยาทางเส้นเลือดร่วมกับการใช้อินซูลินตามปกติ 10 ยูนิต โดยใช้เกินกว่า 30-60 นาที อาจใช้ซ้ำหากจำเป็น อาจสลับให้ยา 25 ก. ร่วมกับการใช้อินซูลินตามปกติ 5-10 ยูนิต โดยใช้เกินกว่า 5 นาที อาจให้ยาซ้ำหากจำเป็น

ขนาดยาสำหรับเด็ก

ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ

  • เด็ก อายุมากกว่า 2 ปี: 10-20 ก. รับประทานเพียงครั้งเดียว อาจให้ยาซ้ำใน 10 นาที หากจำเป็น

การให้ยาทางเส้นเลือด

  • เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน: 0.25-0.5 ก./กก./โดส
  • อายุมากกว่า 6 เดือน : 0.5-1 ก./กก./ขนาดยา
  • อาจให้ยาซ้ำในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง
  • ขนาดยาสูงสุด: 25 ก./ขนาดยา

ภาวะโพแทสเซียมในเลือดสูง

  • เด็ก: และทารก: 0.5-1 ก./กก. ให้ยาทางเส้นเลือด (โดยใช้สารละลาย 25% หรือ 50% ) ร่วมกับการใช้อินซูลินตามปกติ (1 ยูนิต สำหรับเดกซ์โทรสที่ใช้ในปริมาณทุก ๆ 4-5 ก.) ให้ยาทุกๆ 2 ชม. อาจให้ยาซ้ำหากจำเป็น

รูปแบบยาเดกซ์โทรส

เด็กซ์โทรสมีรูปแบบการใช้และปริมาณตัวยา ดังต่อไปนี้

  • สารละลาย ให้ทางเส้นเลือด: 5%, 10%, 20%, 40%

กรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด

ในกรณีฉุกเฉินหรือใช้ยาเกินขนาด ให้โทรแจ้งบริการฉุกเฉิน หรือไปยังห้องฉุกเฉินในโรงพยาบาลใกล้บ้านคุณ

กรณีลืมใช้ยา

หากลืมใช้เด็กซ์โทรส ให้ใช้โดยเร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้ อย่างไรก็ดี หากใกล้เวลาใช้รอบถัดไป ให้ข้ามรอบที่ลืมใช้ไปแล้วใช้ยาในรอบถัดไปตามปกติที่กำหนดไว้ ห้ามใช้เพิ่มเป็นสองเท่า

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำปรึกษาด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค และการรักษาโรคแต่อย่างใด

[embed-health-tool-bmi]

หมายเหตุ

Hello Health Group ไม่ได้ให้คำแนะนำด้านการแพทย์ การวินิจฉัยโรค หรือการรักษาโรคแต่อย่างใด

Dextrose http://www.webmd.com/drugs/2/drug-20228/dextrose- oral/details. Accessed July 16, 2016.

Dextrose https://www.drugs.com/pro/dextrose-electrolyte- no-75.html. Accessed July 16, 2016.

Dextrose http://www.mayoclinic.org/drugs-supplements/dextrose- intravenous-route/description/drg-20073387. Accessed July 16, 2016.

เวอร์ชันปัจจุบัน

11/05/2020

เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี

ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

อัปเดตโดย: Sopista Kongchon


บทความที่เกี่ยวข้อง

ปวดฟันมาก ใช้ ยาแก้ปวดฟัน แบบไหนดี

โคเอนไซม์คิวเทน (CoQ10) เชื่อมโยงกับ สุขภาพหัวใจ อย่างไร


ตรวจสอบข้อมูลทางการแพทย์โดย

เภสัชกรอาชานนท์ สมศักดิ์

ยาและอาหารเสริม · Hello Health Group


เขียนโดย ธีรวิทย์ บุญราศรี · แก้ไขล่าสุด 11/05/2020

ad iconโฆษณา

คุณได้รับประโยชน์จากบทความนี้หรือไม่?

ad iconโฆษณา
ad iconโฆษณา